ภาษาตูโรโย (ตูโรโย: ܛܘܪܝܐ) เป็นภาษาซีเรียคใหม่หรือภาษาแอราเมอิกใหม่ ใช้พูดในตุรกีตะวันออกและซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายซีเรียคออร์ธอดอกซ์ คำว่าตูโร ( ṭuro) , หมายถึงภูเขา ตูโรโย (Ṭuroyo) จึงหมายถึงสำเนียงภูเขาทงตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ชื่อเก่าของภาษานี้คือซูรายต์ (Ṣurayt) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคำว่าซีเรียค ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคคลาสสิกเป็นภาษาทางศาสนาและวรรณคดี และมีความพยายามที่จะนำกลับมาใช้เป็นภาษาพูด ไม่มีการใช้ภาษาตูโรโยเป็นภาษาเขียนแต่เขียนด้วยภาษาซีเรียคคลาสสิกแทน
ระบบการเขียน
ในพ.ศ. 2423 มิชชันนารีชาวตะวันตกพยายามเขียนภาษาตูโรโยด้วยอักษรซีเรียคแบบเซอร์โต ด้วยความยุ่งยากในบริเวณบ้านเกิด ผู้พูดภาษาตูโรโยได้อพยพออกไปทั่วโลก ทั้งไปซีเรีย เลบานอน สวีเดนและเยอรมัน ชุมชนผู้พูดภาษานี้ในสวีเดนได้มีการพัฒนาสื่อการสอนด้วยภาษาตูโรโย Yusuf Ishaq พัฒนาระบบการเขียนภาษาตูโรโยด้วยอักษรละติน และเรียกการเขียนแบบนี้ว่า Toxu Qorena! (มาอ่านเถอะ!) และมีการสร้างพจนานุกรมภาษาสวีเดน-ตูโรโยด้วยอักษรนี้
คำศัพท์และระบบเสียง
ภาษาตูโรโยมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเคิร์ดและภาษาตุรกีมาก ผู้พูดภาษานี้พูดภาษาอื่นได้ด้วย โรงเรียนในโบสถ์ในซีเรียและเลบานอนสอนภาษาซีเรียคคลาสสิกแทนภาษาตูโรโย และมักแทนที่คำที่ไม่ได้มาจากภาษาซ๊เรียคด้วยคำภาษาซีเรียค โบสถ์บางแห่งพยายามพัฒนาการเขียนภาษตูโรโยด้วยวิธีเดียวกับที่เขียนภาษาซีเรียค
ระบบเสียงของภาษาตูโรโยใกล้เคียงกับภาษาซีเรียคคลาสสิก ระบบคำกริยาใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิกใหม่ มีการพัฒนาคำสรรพนามชี้เฉพาะมากกว่าภาษาแอราเมอิก มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ เช่น u-malko (the king) i-malëkṯo (the queen)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
แอราเมอิกใหม่-ยิว | |
---|
แอราเมอิกใหม่-คริสต์ | |
---|
แอราเมอิกใหม่อื่น ๆ | |
---|
|