พาร์อะมอร์

พาร์อะมอร์
พาร์อะมอร์ในปี ค.ศ. 2017
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดรัฐเทนเนสซี, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก, ป็อปร็อก, อีโม, ป็อปพังก์, พาวเวอร์ป็อป
ช่วงปี2004-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงFueled by Ramen
สมาชิกเฮย์ลีย์ วิลเลียมส์
เทย์เลอร์ ยอร์ก
แซค แฟร์โร
อดีตสมาชิกจอช แฟร์โร
เจเรมี เดวิส
เจสัน บายนัม
จอห์น เฮมบรี
ฮันเตอร์ แลมบ์
เว็บไซต์Paramore.net

พาร์อะมอร์ (อังกฤษ: Paramore (IPA: /ˈpærəmɔər/)) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติอเมริกันจาก แฟรงกลิน, รัฐเทนเนสซี ก่อตั้งเมื่อปี 2004 ปัจจุบันสมาชิกวงประกอบด้วย นักร้องนำ เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์, มือกีตาร์ เทย์เลอร์ ยอร์ก และ มือกลอง แซค แฟร์โร วิลเลียมส์และแฟร์โรเป็นสมาชิกก่อตั้งวง ขณะที่ยอร์ก เพื่อนสมัยเรียนของสมาชิกรุ่นก่อตั้งเข้าร่วมวงในปี 2007 วิลเลียมส์เป็นสมาชิกคนเดียวที่อยู่ในสัญญากับค่ายเพลง Fueled by Ramen ซึ่งเป็นค่ายลูกของ วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป และยังเป็นสมาชิกคนเดียวที่มีชื่อปรากฏอยู่ในอัลบัมทั้ง 5 อัลบัมของวงด้วย[1]

วงได้ปล่อยอัลบัมแรก All We Know Is Falling ในปี 2005 ติดอันดับ 4 ใน UK Rock Chart ในปี 2009 และอันดับที่ 30 ใน Billboard's Hearseekers Chart ในปี 2006

อัลบัมที่ 2 Riot! ปล่อยออกมาในปี 2007 จากความสำเร็จของซิงเกิล "Misery Business", "crushcrushcrush" และ "That's What You Get" Riot! จึงประสบความสำเร็จเข้าเป็นดนตรีกระแสหลัก และได้รับรองระดับแพลตตินั่ม ในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นยังได้เข้าชิงรางวัล Best New Artist ใน แกรมมี่ อวอร์ดส ปี 2008 อีกด้วย[2]

อัลบัมถัดมาในปี 2009 อัลบัม Brand New Eyes เป็นอัลบัมที่ได้อันดับสูงสุดเป็นอันดับสองของวงในปัจจุบัน ติดอันดับ 2 บน Billboard 200 ด้วยยอดขายสัปดาห์แรกกว่า 175,000 ชุด ซึ่งในอัลบัมมีซิงเกิล The Only Exception ที่ได้รับรองระดับมัลติแพลตตินัมในสหรัฐอเมริกาที่ทำยอดขายได้กว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

หลังจากการประกาศออกจากวงของ จอช แฟร์โร และ แซค แฟร์โร ในปี 2010 พาร์อะมอร์ได้ปล่อยอัลบัมที่ 4 ชื่อ Paramore ตามชื่อวงในปี 2013 ทำให้วงได้รางวัล Billboard 200 ในอเมริกาอันดับที่ 1 เป็นอัลบัมแรกของวง และยังได้อัลบัมอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, บราซิล, อาร์เจนตินา และ เม็กซิโกอีกด้วย[4] ในอัลบัมประกอบด้วยซิงเกิล "Still Into You" และ "Ain't It Fun" ซึ่งซิงเกิล "Ain't It Fun" ที่เขียนโดยวิลเลี่ยมส์ และยอร์ก ทำให้วงได้รางวัลแกรมมี่เป็นรางวัลแรกของวง[5]

สมาชิกของวงเปลี่ยนอีกครั้งหลังจากปล่อยอัลบัมที่ 4 เมื่อมือเบส เจเรมี เดวิส ออกจากวงราวปี 2015 และ สมาชิกมือกลองเก่าแซค แฟร์โรเข้าร่วมวงอีกครั้งในปี 2017 ซึ่งอัลบัมที่ 5 After Laughter ก็ได้ปล่อยออกมาเช่นกันหลังจากนั้น

ประวัติ

2002–2004: ช่วงก่อตั้งวง

ในปี 2002 เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ นักร้องขณะนั้นอายุ 13 ปี ย้ายมาจากเมืองเมอริเดียน รัฐมิสซิสซิปปี มายังแฟรงกลิน รัฐเทนเนสซี ที่ที่เธอได้เจอสองพี่น้อง จอช ฟาร์โร และ แซค ฟาร์โร ณ โปรแกรมเสริมของเด็กโฮมสคูลประจำสัปดาห์[6][7][8] ไม่นานหลังจากมาถึง เธอเข้าฝึกเสียงร้องกับเบรต แมนนิ่ง[9][10] โดยก่อนหน้าที่พวกเขาจะฟอร์มวงพาร์อะมอร์ วิลเลียมส์และมือเบส เจเรมี เดวิส พร้อมกับเพื่อนอีกคน คิมี รีด ได้ตั้งวงคัฟเวอร์เพลงแนวฟังก์ชื่อว่า The Factory ในขณะที่จอชและแซค ฟาร์โรนั้นซ้อมเล่นกันหลังเลิกเรียน[11][12] ในขณะนั้นพวกเขารู้สึกแปลก ๆ ที่มีนักร้องของวงเป็นผู้หญิงอย่างวิลเลียมส์ แต่เพราะพวกเขาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เธอก็จึงเริ่มแต่งเพลงให้พวกเขา[13] วิลเลียมส์กล่าวเกี่ยวกับสมาชิกวงเมื่อเธอพบพวกเขาครั้งแรกว่า "พวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่ฉันเจอที่หลงรักในดนตรีมากพอพอกับฉัน"[14]

แต่เดิม วิลเลียมส์เซ็นสัญญาศิลปินเดี่ยวกับค่ายแอตแลนติกในปี 2003 เธอถูกแนะนำแก่แมวมองค่ายแอตแลนติก ทอม สตอร์ม โดยเคนท์ มาร์คัส และ จิม ซัมวัลต์ ที่เป็นทนายของเดฟ สตีนบริงก์ และ ริชาร์ด วิลเลียมส์ ทำให้ได้เซ็นสัญญากับค่ายโดย เจสัน โฟลม ในที่สุด เดิมทีทางค่ายวางแผนจะปั้นวิลเลียมส์ให้เป็นศิลปินเดี่ยวเพลงป็อบ แต่วิลเลียมส์ไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า เธออยากจะเล่นเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกกับเพื่อนในวง[15] ในบทสัมภาษณ์กับแมวมองของค่ายแอตแลนติกในเว็บ HitQuarters สตีฟ โรเบิร์ตสันกล่าวว่า "เธออยากจะแน่ใจว่าเราไม่ได้มองเธอเป็นเหมือน '40 อันดับเจ้าหญิงเพลงป็อบ' เธออยากจะแน่ใจว่าเธอและวงของเธอจะมีโอกาสโชว์สิ่งที่พวกเขาทำได้ ซึ่งคือวงร็อกและการเขียนเพลงของพวกเขาเอง"[16] ประธานของค่าย จูลี กรีนวัลด์ และบุคลากรของค่ายตัดสินใจที่จะทำตามความต้องการของเธอ โดยแรกเริ่มทีมบริหารของวงคือ เดฟ สตีนบริงก์, ผู้จัดการวง ครีด เจฟ แฮนสัน และ ผู้ช่วยของแฮนสัน มาร์ค เมอร์คาโด[15]

แรกเริ่ม วงถูกก่อตั้งโดย จอช ฟาร์โร (มือกีตาร์ลีด/นักร้องประสาน), แซค ฟาร์โร (มือกลอง), เจเรมี เดวิส (มือเบส) และวิลเลียมส์ (นักร้องนำ) ในปี 2004[17] โดยมีเพื่อนบ้านของวิลเลียมส์ เจสัน บายนัม (มือกีตาร์ริทึ่ม) เข้ามาด้วยในเวลาต่อมา[11] เมื่อเดวิสเข้าวงมา เขาตะลึงมากที่รู้ว่ามือกลองของวงอายุแค่ 12 ปี เขากล่าวชมว่า "ผมมีความมั่นใจต่อทุกคนน้อยมาก ๆ เนื่องจากอายุของพวกเขา ผมจำได้ว่าเคยคิดว่า 'นี่มันไม่มีทางเวิร์คหรอก พวกนี้เด็กเกินไป' แต่ในวันแรกที่ได้ซ้อมด้วยกันมันยอดเยี่ยมมาก ผมรู้ได้เลยว่าเรามาถูกทางแล้ว"[14] ตามคำบอกเล่าของวิลเลียมส์ ชื่อ พาร์อะมอร์ มาจากชื่อคนใช้ของแม่ของมือเบสคนแรกของพวกเขา [10] ต่อมาวงได้เจอกับคำพ้องเสียง "paramour" (ชู้รัก) พวกเขาจึงนำชื่อนั้นมาใช้โดยสะกดว่า Paramore[13]

โดยแรกเริ่ม พาร์อะมอร์จะต้องปล่อยเพลงในค่ายแอตแลนติก แต่ฝ่ายการตลาดของค่ายตัดสินใจว่าจะดีต่อภาพลักษณ์ของวงมากกว่าหากปล่อยผ่านค่ายใหญ่ พวกเขาจึงปล่อยผลงานเพลงของพวกเขาผ่านค่ายลูก Fuel by Ramen แทน[15] ไลเยอร์ โคเฮน หัวหน้าของวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป ได้ระบุว่าให้ Fueled by Ramen เป็นค่ายที่วงควรจะเซ็นสัญญาไว้แต่แรกแล้ว โดยให้เหตุผลว่า ค่ายเพลงร็อกจะสามารถเข้ากับวงได้ดีกว่า[16] จากคำกล่าวของโรเบิร์ตสัน เมื่อวงถูกนำเสนอแก่จอห์น แจนิค ซีอีโอของค่าย Fueled by Ramen "เขามองเห็นอนาคตของวงในทันที" โรเบิร์ตสันกล่าว[16] แจนิคได้ไปที่งานแสดงสด Taste of Chaos ที่ ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เพื่อดูการเล่นสด ในเดือนเมษายน ปี 2005 หลังจากการเล่นส่วนตัวในโกดังเพียงสั้น ๆ วงจึงได้เซ็นสัญญากับค่ายแอตแลนติก และ Fueled by Ramen[16][18]

เพลงแรกที่พวกเขาในวงช่วยกันแต่งคือ Conspiracy ซึ่งต่อมาถูกนำไปใส่ในอัลบัมแรกของวง และในขณะเดียวกัน พวกเขากำลังทัวร์อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งมีพ่อแม่ของวิลเลียมส์เป็นคนขับรถพาไปทัวร์ "ตอนนั้นฉันว่าพวกเราคงคิดว่ากำลังกลับบ้านไปซ้อมหลังเลิกเรียน มันคือสิ่งที่เรารักที่จะทำเพื่อความสนุก และเราก็ยังคิดแบบนั้นอยู่ ฉันไม่คิดว่าพวกเราสักคนจะนึกได้ว่ามันจะมาได้ถึงจุดจุดนี้" วิลเลียมส์กล่าว[14]

2005–2006: อัลบัม All We Know Is Falling

พาร์อะมอร์แสดงสดใน พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เดือนมกราคม 2006

พาร์อะมอร์เดินทางกลับสู่ออแลนโด รัฐฟลอริดา แต่หลังจากกลับมาไม่นาน เจเรมี เดวิส ก็ขอออกจากวงเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว สมาชิกที่เหลือ 4 คนก็เดินหน้าทำอัลบัมต่อซึ่งเขียนเพลง "All We Know" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกไปของเดวิส และตัดสินใจให้อัลบัม All We Know Is Falling นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย[19] ปกของอัลบัมสะท้อนให้เห็นถึงความโศกเศร้าของวงซึ่งวิลเลียมส์อธิบายว่า "โซฟาบนภาพปกของอัลบัม All We Know is Falling นั้นไม่มีใครนั่งอยู่ มีแต่เงาของคนที่ลุกออกไปแล้ว ซึ่งมันสื่อถึงการจากไปของเดวิสและความรู้สึกของเราเหมือนพื้นที่ที่ว่างเปล่า"[18]

ก่อนจะเริ่มการทัวร์ วงได้จอห์น เฮมบรี (มือเบส) เข้ามาร่วมแทนที่เดวิส[20] ในช่วงฤดูร้อน พาร์อะมอร์ได้ขึ้นแสดวงเวทีเดียวกับชิร่า เกิร์ล ใน Warped Tour ปี 2005[18] หลังจากการร้องขอจากวง เจเรมี เดวิสก็กลับมาเข้าร่วมวงอีกครั้งแทนที่เฮมบรีหลังจากออกไปได้เป็นเวลากว่า 5 เดือน[21] อัลบัม All We Know Is Falling ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 24 กรกฎาคม 2005 ติดอันดับที่ 30 ใน Billboard's Heatseekers Chart ทางวงได้ปล่อยเพลง "Pressure" ออกมาเป็นซิงเกิลแรก ที่มิวสิควิดีโอกำกับโดย เชน เดรค ในเดือนกรกฎาคม ซิงเกิล "Emergency" ถูกปล่อยออกมาเป็นซิงเกิลที่สอง มิวสิควิดีโอก็ได้ เชน เดรค มีกำกับอีกเช่นเคย และ มีฮันเตอร์ แลมป์ มือกีตาร์ริทึ่มที่มาแทนที่เจสัน บายนัมในเดือนธันวาคม 2005 อยู่ในมิวสิควิดีโอนี้ด้วย[7] ซิงเกิลที่ 3 "All We Know" ถูกปล่อยออกมาในช่วงเวลาที่จำกัด ในมิวสิควิดีโอประกอบด้วยวิดีโอการแสดงสดของวงและวิดีโอหลังเวทีต่าง ๆ หลังจากวงประสบความสำเร็จ อัลบัม All We Know Is Falling และ เพลง "Pressure" ก็ถูกรับรองให้เป็นแผ่นเสียงระดับทองโดย RIAA ในเวลาต่อมา[22]

ในเดือนมกราคม 2006 วงได้เข้าร่วมทัวร์ Winter Go West ทำให้พวกเขาได้แสดงร่วมกับวงจากซีแอตเทิลอย่าง แอมเบอร์ แปซิฟิค และ เดอะ แลชเชส[19] ในเดือนกุมภาพันธ์ เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ ได้ร่วมร้องในเพลง "Keep Dreaming Upside Down" ของอ็อกโทเบอร์ ฟอล[23] ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2006 พาร์อะมอร์ได้เล่นเปิดทัวร์ให้กับวง เบย์ไซด์[24] และ เดอะ ร็อคเก็ต ซัมเมอร์[25] วงได้คัฟเวอร์เพลง "My Hero" ของ ฟู ไฟเตอร์ส เพื่อประกอบภาพยนตร์ "Superman Returns" ซึ่งบรรจุอยู่ในอัลบัม '"Sound of Superman"' ที่ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 26 มิถุนายน 2006[26]

ในช่วงฤดูร้อนปี 2006 พาร์อะมอร์มีส่วนในการเล่นในทัวร์ Warp Tour ซึ่งนำโดย วอลคอม และ เฮิร์ลลีย์ คืนแรกในเวทีหลักนั้นจัดในวันที่จัดในบ้านเกิดของพวกเขาซึ่งคือแนชวิลล์ ระหว่างการทัวร์ใน Warped Tour วงได้ปล่อย The Summer Tic EP ซึ่งจะมีขายในช่วงทัวร์เท่านั้น[27][28] ทัวร์หลักแรกของวงในอเมริกาเริ่มในวันที่ 2 สิงหาคม 2006 โดยมีวงธีส โพนวิเดนซ์, คิวท์ อีส วอท วี เอม ฟอร์ และ ฮิต เดอะ ไลท์ ร่วมแสดงในโชว์สุดท้ายที่แนชวิลล์ ในปีเดียวกันนั้น พวกเขาถูกโหวตให้เป็น "วงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม" และ เฮย์ลีย์ถูกโหวตให้อยู่อันดับที่ 2 ของ "ผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุด" โดยผู้อ่านของนิตยสารอังกฤษ Kerrang![29]

ในปี 2007 แลมป์ตัดสินใจออกจากวงไปแต่งงาน พาร์อะมอร์จึงทำวงต่อไปด้วยสมาชิก 4 คนที่เหลือ[7] พาร์อะมอร์ถูกจัดให้อยู่ในหนึ่งในสิบวงที่น่าจับตามองในหน้า "New Noise 2007" ของนิตยสารอังกฤษ เอ็นเอ็มอี[29] พาร์อะมอร์ได้ปรากฏชื่อในนิตยสาร Kerrang! อีกครั้ง อย่างไนก็ตาม เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์เชื่อว่าบทความนี้เป็นไม่ใช่ภาพลักษณ์ที่แท้จริงของวง โดยเฉพาะที่มันให้ความสนใจกับเธอเป็นหลัก ภายหลังวิลเลียมส์ได้เขียนในโพสต์ไลฟ์เจอร์นัลของวงว่า "ขออภัยหากกระทบใครใน Kerrang! แต่ฉันไม่คิดว่ามีความจริงอยู่ในบทความนี้เลยสักนิดเดียว"[30]

2007–2008: อัลบัม Riot!

แซค แฟร์โร (มือกลอง), เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ (นักร้องนำ) และ เจเรมี เดวิส (มือเบส) แสดงสดในทัวร์ 2007 Vans Warped TourTweeter Center at the Waterfront เมืองแคมเดน รัฐนิวเจอร์ซีย์

ก่อนที่วงจะเริ่มเดินหน้าทำอัลบัมต่อไป เดวิสถูกไล่ออกจากวง จอช แฟร์โรระบุว่าเดวิสถูกไล่ออกเนื่องจากขาดจรรยาบรรณในการทำงานและมีส่วนร่วมในสิ่งที่ แซค เฮย์ลีย์ และจอร์ชไม่เห็นด้วย โดยสมาชิกที่เหลือทั้งสามเดินหน้าทำอัลบัมต่อไปจนเสร็จ เมื่ออัลบัมอัดเสร็จแล้วพวกเขาต้องการมือเบสสำหรับวง โดยวิลเลียมส์ต้องการให้เดวิสกลับมารับหน้าที่มือเบสเหมือนเดิม จอชและแซค ฟาร์โรต้องการให้เทย์เลอร์ ยอร์กมารับหน้าที่เป็นมือกีตาร์ริทึ่ม เดวิสและยอร์กจึงเข้าได้ร่วมวงอีกครั้ง[21] โดยก่อนหน้าที่สองพี่น้องแฟร์โรเจอวิลเลียมส์นั้น พวกเขาเคยทำวงร่วมกับยอร์กมาก่อนแล้ว[31]

หลังจากที่ก่อนหน้าได้ นีล แอฟรอน และ ฮอเวิร์ด เบนสัน มาเป็นโปรดิวเซอร์[32] สมาชิกวงพาร์อะมอร์ได้โหวตให้อัดอัลบัมใหม่ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยมีเดวิด เบนเดธ ผู้ที่ก่อนหน้าได้ทำงานให้วงยัวร์ เวกัส และวงเบรกกิ้ง เบนจามินมาก่อน มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้[33] อัลบัมชื่อ Riot! ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 12 มิถุนายน 2007[34] อัลบัมติดชาร์ต Billboard 200 ในอันดับที่ 20 และ ชาร์ตในสหราชอาณาจักรอันดับที่ 24 อัลบัมมียอดขายกว่า 44,000 ก๊อปปี้ในสัปดาห์แรกในสหรัฐฯ[31] ชื่อว่า Riot! ถูกเลือกเพราะหมายถึง "อารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ที่ระเบิดออกมาอย่างรวดเร็ว" และยังเป็นคำที่ "คลอบคลุมถึงความหมายของอัลบัมได้ทั้งหมด"[32] ซิงเกิลแรกของอัลบัม "Misery Business" ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 21 มิถุนายน 2007 จากคำกล่าวของวิลเลียมส์ "Misery Business" เป็นเพลงที่มีความเป็นเธอมากที่สุดที่เธอเคยเขียนมา และอารมณ์ของเพลงยังเข้ากับเพื่อน ๆ ในวงได้ดีอีกด้วย[35] ในฤดูร้อนปี 2007 พาร์อะมอร์เข้าร่วมทัวร์ Warped Tour เป็นครั้งที่สาม โดยพวกเขาเขียนบันทึกประสบการ์ณในบล็อก yourhereblog ของเอ็มทีวี[36]

ในวันที่ 11 ตุลาคม 2007 มิวสิควิดีโอ "crushcrushcrush" ออกอากาศครั้งแรกในโทรทัศน์สหรัฐฯเป็นซิงเกิลต่อมาของอัลบัม ในวิดีโอประกอบด้วยวงที่กำลังเล่นเพลงซึ่งกำลังโดนสอดแนมในทะเลทราย และเริ่มก็ทำลายเครื่องดนตรีที่กำลังเล่นอยู่ ซิงเกิลถูกปล่อยในสหรัฐฯในวันที่ 19 พฤศจิกายน และ ในสหราชอาณาจักรวันที่ 12 พฤศจิกายน 2007[37] เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ถูกรับเชิญให้ร่วมร้องในเพลง "The Church Channel" และ "Plea" ของวงเซย์เอนี้ธิง ในอัลบัม In Defense of the Genre ที่ถูกปล่อยออกมาให้วันที่ 23 ตุลาคม 2007[38] วงเล่นอะคูสติกสด[39] ในบอสตันในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2007 ของสถานีวิทยุ FNX ในวันที่ 31 ธันวาคม 2007 พาร์อะมอร์ได้แสดงในรายการ MTV New Year's Eve ซึ่งออกอากาศในช่วง 11:30 ถึง 1:00[40][41]

พาร์อะมอร์ปรากฏในปกนิตยสารอัลเทอร์เนทัฟเพรส ของเดือนกุมภาพันธ์ 2008 และ ถูกโหวตให้อยู่ใน "วงยอดเยี่ยม 2007" โดยผู้อ่านอีกด้วย[42] วงได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ใน "ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม" ใน 50th Annual Grammy Award ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2008 แต่ก็ต้องแพ้ให้กับเอมี ไวน์เฮาส์ไป[43] ช่วงต้นของปี 2008 พาร์อะมอร์ได้ทัวร์ในสหราชอาณาจักรเพื่อโปรโมทอัลบัม โดยทัวร์ร่วมกับวงนิวฟาวด์ กลอรี วงคิดส์ อิน กลาส เฮาส์เซส และ วงคอนดิชั่น[44] ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2008 วงเริ่มทัวร์ยุโรป[45] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2008 วงได้ประกาศยกเลิก 6 โชว์ที่กำลังจะถึงเนื่องจากปัญหาส่วนตัว วิลเลียมส์เขียนในเว็บไซต์ของวงว่า "การหยุดพักจะให้โอกาสให้วงได้ออกห่างและแก้ไขปัญหาส่วนตัวต่าง ๆ" MTV.com รายงานว่าแฟน ๆ พาร์อะมอร์ตั้งข้อสงสัยถึงอนาคตของวง และรายงานถึงข่าวลือที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเรื่องที่ จอช แฟร์โร โกรธที่สื่อนั้นให้ความสนใจแต่วิลเลียมส์เป็นพิเศษ[46] อย่างไรก็ตาม วงก็ได้กลับบ้านมาถ่ายทำมิวสิควิดีโอซิงเกิลที่ 4 "That's What You Get" ซึ่งถูกปล่อยออกมาใน 24 มีนาคม 2008[47]

พาร์อะมอร์ได้ทัวร์ร่วมกับจิมมี่ อีท เวิร์ลด ในสหรัฐฯในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2008 วงได้เล่นนำให้เทศกาล Give It A Name ในสหราชอาณาจักร วันที่ 10 และ 11 พฤษภาคม 2008 และยังเล่นในเวที In New Music We Trust ของ Radio 1's One Big Weekend ใน โมท พาร์ค มนฑลเคนต์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2008 พาร์อะมอร์แสดงครั้งแรกในไอร์แลนด์ ณ RDS ในดับลิน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2008 แล้วตามด้วยเล่นทัวร์ Vans Warped Tour ตั้งแต่ 1 ถึง 6 กรกฎาคม

พาร์อะมอร์ ณ The Social ออร์แลนโด, รัฐฟลอริดา วันที่ 23 เมษายน 2007

ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 กันยายน พาร์อะมอร์เริ่มทัวร์โดยใช้ชื่อว่า "The Final Riot!" ในทัวร์นี้ วงได้เล่นเพลง "Hallelujah" ของลีโอนาร์ด โคเฮนด้วย[48] ในวันที่ 2 กันยายน 2007 พาร์อะมอร์ปล่อยเสื้อฮู้ดโดยร่วมมือกับ Hurley Clothing โดยใช้ลายอัลบัม Riot! รายได้ทั้งหมดบริจาคให้กับมูลนิธิ Love146[49]

วงได้ปล่อยอัลบัมการแสดงสดชื่อ The Final Riot! ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2008 ในอัลบัมประด้วยดีวีดีของการแสดงเต็มของคอนเสิร์ตในชิคาโก และสารคดีเบื้องหลังต่าง ๆ[50] ภายหลังในวันที่ 9 เมษายน 2009 The Final Riot! ก็ได้ถูกรับรองระดับทองในสหรัฐฯ[51]

2009–2011: อัลบัม Brand New Eyes, การออกจากวงของพี่น้องฟาร์โรส์ และ อีพี Singles Club

2012–2015: อัลบัม Paramore และ การออกจากวงครั้งที่สามของเดวิส

2016–2019: การกลับมาของแซค ฟาร์โรส์ และ อัลบัม After Laughter

แนวเพลง และอิทธิพลทางดนตรี

พาร์อะมอร์ ณ แวนคูเวอร์ 2009

แนวเพลงของพาร์อะมอร์นับได้เป็นเพลงแนว ออลเทอร์นาทิฟร็อก,[52][53] ป็อปพังก์,[52][54][55][56] ป็อปร็อก,[57][58][59] พาวเวอร์ป็อป,[60][61] อีโมป็อป,[62][63][64] อีโม,[54][65][66] ป็อป,[66] และ นิวเวฟ.[66] โจชัว มาร์ตินได้เขียนเกี่ยวกับวงหลังจากสัมภาษณ์กับเฮย์ลี วิลเลี่ยมส์ว่า "พาร์อะมอร์ไม่ใช่แค่เด็กผู้หญิงพังก์ ผมแดง ตัวเล็ก กับนิสัยห้าว ๆ แนวเพลงของพวกเขาก็เป็นอย่างพวกเขาด้วย และเปลี่ยนไปตามอายุของพวกเขา มันเร็วขึ้นและช้าลง มันคืออีโมที่ดูไม่เด็กและเลวร้าย ดั่งเป็นขั้วตรงข้ามกับแอวริล ลาวีน" นิตยสารออลเทอร์เนทีฟเพรส กล่าวไว้ว่าวงมีความเป็น "วัยรุ่น" แต่ก็ยังมีความ "เปิดเผย" อย่างคงเส้นคงวาอีกด้วย[67] อัลบัมแรกของพาร์อะมอร์ All We Know is Falling อาจมองได้ว่ามีความป็อปพังก์ที่ "ครบถ้วน" และทำมาได้ "ดีเยี่ยม"[68] ส่วนประกอบทั้วสองนี้ได้สร้างอัลบัมป็อบพังก์ที่ "บริสุทธิ์และเต็มเปี่ยม" [69] อัลบัมที่สอง Riot! เป็นการเปิดทางสู่แนวเพลงใหม่ ๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของวงไป [68] ส่วนอัลบัมต่อ ๆ มาอย่าง Paramore และ After Laughter มีส่วนผสมของเพลงแนวนิวเวฟ และ ซินท์ป็อป มากขึ้น[70][71]

วิลเลียมส์ และยอร์กแสดงสดกับพาร์อะมอร์ 2013

ออลเทอร์เนทีฟเพรส และนักวิจาร์ณ์หลายคนกล่าวว่า การแสดงสดของวงช่วยทำให้วงมีชื่อเสียงมากขึ้นอย่างมาก ออลเทอร์เนทีฟเพรส ระบุว่า "วิลเลี่ยมส์มีความสามารถสูงกว่านักร้องหญิงที่มีอายุมากกว่าเธอสองเท่า และวงของเธอก็ไม่ห่างชั้นจากความสามารถกับศิลปินช่วงรุ่นๆเดียวกันอีกด้วย"[72] จอห์น เมเยอร์ นักร้องและนักแต่งเพลง ได้ชมถึงเสียงวิลเลียมส์ในบล็อกของเขาในเดือนตุลาคม 2007 และเรียกเธอว่า "ความหวังสีส้มอันยิ่งใหญ่" โดยสีส้มสื่อถึงสีผมของเธอ [73] เนื่องจากมีผู้หญิงเป็นหน้าตาของวง พาร์อะมอร์จึงถูกนำไปเปรียบกับ เคลลี คลาร์กสัน และรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับแอวริล ลาวีน ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ จึงถือเป็นการเปรียบเทียบที่ "ไม่มีมูล" [74][75] นักวิจาร์ณ โจนาธาน แบรดลีย์ ระบุไว้ว่า "พาร์อะมอร์สร้างเพลงด้วยกระตือรือร้นอันล้นหลาม" และเขายังอธิบายอีกว่า "อัลบัม Riot! กับเพลงของเคลลี คลาร์กสัน หรือ แอวริล ลาวีน ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากเท่าไหร่" [76] นักวิจาร์ณจาก NME ได้เปรียบเทียบเพลงของพาร์อะมอร์กับ "โนเดาต์ และฝันอันบ้าระหั่มของเคลลี คลาร์กสัน" [77] เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องที่วงมีผู้หญิงเป็นแนวหน้าไว้ว่า พาร์อะมอร์ไม่ใช่วงที่มี "ผู้หญิงเป็นหน้าเป็นตา" และ "วงทำเพลงให้คนได้สนุกกับมัน ไม่ใช่ให้มาวิจารณ์เรื่องเพศ" [32]

พาร์อะมอร์ได้ชื่นชมศิลปินอื่น ๆ อย่าง ฟอลล์เอาต์บอย, แฮนสัน, แพนิค! แอท เดอะ ดิสโก้, บลิงก์-182, เดธแคบฟอร์คิวตี, จิมมี อีท เวิร์ลด, มีวิธเอาท์ยู, และ ซันนีเดย์ เรียล เอสเตท,[78] รวมถึง ไธรส์ และ นิวฟาวด์กลอรี;[79] เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์กล่าวถึงอิทธืพลทางดนตรีของเธอว่ามี เอลวิส เพรสลีย์, เดอะเชอเรลเลส, ดิ แองเจิลส์, ราโมนส์, จอว์เบรกเกอร์, เรดิโอเฮด, กรีนเดย์, บลอนดี,[80] เอ็นซิงก์, เดสทินีส์ไชลด์, อาลียาห์,[81] เดอะสมิทส์,[82] ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์,[83] เดอะเคียวร์ และ เอตตา เจมส์ [84] วิลเลียมส์กล่าวถึงศิลปินหญิงอื่น ๆ ไว้ว่า "ฉันรัก เดบบี แฮร์รี และ ซูซี ซู ฉันโตมากับการฟัง เดอะ ดิสทิลเลอร์ส [...] เกิร์ลกรุ๊ปนั้นสำคัญกับฉันมาก โดยเฉพาะ แชงกรี-ลาส์"[85] วิลเลียมส์ยังกล่าวถึงวงอื่น ๆ อีก เช่น ยูทู "พวกเขายิ่งใหญ่มาก พวกเขาทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ แต่งอะไรก็ได้ที่อยากแต่ง และมีจุดยืนเพื่ออะไรบางอย่าง", จิมมีอีทเวิร์ลด "ผู้ที่ฉันไม่คิดว่าเคยทำให้แฟน ๆ ผิดหวัง" หรือ โนเดาต์ ผู้ที่ "ทำสิ่งที่น่าทึ่ง"[78] ในปี 2012 วิลเลียมส์ได้มีส่วนร่วมในการร้องเพลงในอัลบัมที่ห้า Ten Stories ของ มีวิธเอาท์ยูด้วย[86]

สมาชิกของวงนับถือศาสนาคริสต์ และในบทสัมภาษณ์ของบีบีซี จอช แฟร์โรระบุว่า "ศรัทธาของเรานั้นสำคัญกับเรามาก มันแสดงออกมากทางผลงานของเราได้อย่างเห็นได้ชัด เพราะหากใครที่เชื่อในบางสิ่ง การมองโลกของเขาจะออกมาพร้อมสิ่งที่เขานั้นทำ แต่เราไม่ได้อยู่จุดนี้เพื่อจะเผยแพร่ศาสนา เราอยู่ที่นี่เพราะเรารักดนตรี" [87]

การแสดงสด

พาร์อะมอร์ขณะแสดงในคอนเสิร์ต Monumentour

ในปี 2007 พาร์อะมอร์ได้เล่นดนตรีอะคูสติกเปิดการแสดงใหญ่ของ Warped Tour ณ หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล[88] และชุดกระโปรงของเฮย์ลีย์จากมิวสิกวิดีโอเพลง Emergency เองก็จัดแสดงในงานนั้นด้วย[89]

ปี 2007 วงได้รับการประกาศจากนิตยสารโรลลิงสโตน ว่าเป็นวงที่ "น่าจับตามอง"[90] พาร์อะมอร์ได้ถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ครั้งแรกในรายการ The Sauce ของ Fuse Networks เพลงที่สองของอัลบัมRiot! ชื่อ "Hallelujah" ถูกปล่อยออกมาวันที่ 30 กรกฎาคม 2007 ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร ในมิวสิกวิดีโอส่วนใหญ่เป็นวิดีโอจากการถ่ายเบื้องหลังเวทีและการแสดงสดของช่วงอัลบัม All We Know Is Falling

สิงหาคม ปี 2007 พาร์อะมอร์ปรากฏตัวในโทรทัศน์ช่อง เอ็มทีวี เพื่อเล่นอะคูสติกเพลงของพวกเขาประกอบโฆษณารายการเอ็มทีวีรายการ "MTV Artists of the Week" โดยถ่ายทำในธีมการแคมป์รอบกองไฟในควีนส์ รัฐนิวยอร์ก ซึ่งเขียนและกำกับโดย อีแวน ซิลเวอร์ และ กีนา ฟอร์จูนาโต[91] MTV.com ยังทำ วิดีโอสั้น เก็บถาวร 2008-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ของวงเพื่อโปรโมทอัลบัมRiot!ด้วย และเป็นเวลาว่าสัปดาห์ที่มิวสิกวิดีโอเพลง Misery Business ติดอันดับหนึ่งวิดีโอที่มีการสตรีมมากที่สุดในเว็บเอ็มทีวี[92] ในวันที่ 8 เดือนตุลาคม พาร์อะมอร์แสดงสดเพลง Misery Business ใน Late Night with Conan O'Brien โดยได้วงถูกแนะนำโดยแม็กซ์ ไวน์เบิร์ก ขณะที่พวกเขาเจอกันที่ Warped Tour ปี 2007[93] ในเดือนสิงหาคม พาร์อะมอร์ได้มีส่วนร่วมในมิวสิกวิดีโอของ นิวฟาวด์กลอรี ที่คัฟเวอร์เพลง "Kiss Me" ของ ซิกเพนซ์ นัน เดอะ ริชเชอร์

จากวันที่ 29 กันยายน ถึง 1 พฤศจิกายน ปี 2009 พาร์อะมอร์จัดทัวร์ในอเมริกาเหนือของอัลบัม Brand New Eyes [94] และส่วนทัวร์ของอัลบัมที่สี่อย่าง Paramore จัดในอเมริกาเหนือตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ถึง 27 พฤศจิกายน ปี2013 [95] และตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน ถึง 17 สิงหาคม ปี 2014 พาร์อะมอร์ได้จัดทัวร์ร่วมกับวง ฟอลล์เอาต์บอย ในชื่อทัวร์ว่า Monumentour[96]

สมาชิก

สมาชิกปัจจุบัน

  • เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ – ร้องนำ, คีย์บอร์ด (2004–ปัจจุบัน)
  • เทย์เลอร์ ยอร์ก – กีตาร์ (2009–ปัจจุบัน), คีย์บอร์ด (2012–ปัจจุบัน)
  • แซค แฟร์โร – กลอง, เพอร์คัชชัน (2004–2010, 2017–ปัจจุบัน), คีย์บอร์ด, ร้องประสาน (2017–ปัจจุบัน)

สมาชิกร่วมทัวร์

  • โจอี้ ฮาวเวิร์ด – กีตาร์เบส, ร้องประสาน (2015–ปัจจุบัน)
  • โลแกน แม็คเคนซี – กีตาร์, คีย์บอร์ด (2017–ปัจจุบัน)
  • โจเซฟ มัลเลน – เพอร์คัชชัน (2017–ปัจจุบัน)
  • ไบรอัน รอเบิร์ต โจนส์ – กีตาร์, ร้องประสาน (2022–ปัจจุบัน)

อดีตสมาชิก

  • จอช แฟร์โร – กีตาร์ลีด, ร้องประสาน (2004–2010)
  • เจเรมี เดวิส – กีตาร์เบส (2004–2015)
  • เจสัน บายนัม – กีตาร์ริทึม, ร้องประสาน (2004–2005)
  • จอห์น เฮมบรี – กีตาร์เบส (2005)
  • ฮันเตอร์ แลมบ์ – กีตาร์ริทึม, ร้องประสาน (2005–2007)

ผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม

อัลบั้มบันทึกการแสดงสด

อีพี

ซาวด์แทร็คส์

คอนเสิร์ตทัวร์

คอนเสิร์ตทัวร์วง

คอนเสิร์ตทัวร์ร่วม

การแสดงเปิดงาน

อ้างอิง

  1. Charlesworth, Antonia (January 31, 2018). "Hayley Williams: Behind the scene". Big Issue North. สืบค้นเมื่อ August 17, 2018.
  2. "Paramore". GRAMMY.com (ภาษาอังกฤษ). 2014-03-17. สืบค้นเมื่อ 2019-02-05.
  3. Caulfield, Keith (October 7, 2009). "Barbra Streisand has ninth No. 1 album". Hollywoodreporter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2012. สืบค้นเมื่อ August 18, 2010.
  4. "Paramore Album Debuts At #1". FueledByRamen.com. April 17, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-29. สืบค้นเมื่อ April 26, 2013.
  5. "Hayley Williams". GRAMMY.com (ภาษาอังกฤษ). 2014-03-17. สืบค้นเมื่อ 2019-02-05.
  6. "Interview with Jeff Hanson". HitQuarters. September 20, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2010. สืบค้นเมื่อ March 17, 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 Leahey, Andrew. "Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ August 16, 2007.
  8. Brian Mansfield (August 20, 2007). "Pop-punkers Paramore find a niche". USA Today.
  9. "Products by Brett Manning". JustForSingers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ January 20, 2013.
  10. 10.0 10.1 Lauren, Sexton (January 22, 2013). "Ten Things About... Paramore". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ November 4, 2017.
  11. 11.0 11.1 Bayer, Jonah (February 2008). "Born for This". Alternative Press. No. 235.
  12. Hayley Williams; Josh Farro (มิถุนายน 26, 2007). "ASL's Exclusive Interview With Paramore" (Interview). สัมภาษณ์โดย Joshua Martin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 6, 2012. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2011.
  13. 13.0 13.1 Josh Farro; Hayley Williams; Jeremy Davis (July 14, 2007). "Interview With Paramore" (Interview). สัมภาษณ์โดย cathyreay. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2009. สืบค้นเมื่อ June 9, 2011.
  14. 14.0 14.1 14.2 Biography Today. Detroit, Michigan: Omnigraphics. 2010. p. 107. ISBN 978-0-7808-1059-4.
  15. 15.0 15.1 15.2 "Interview with Jeff Hanson". HitQuarters. September 20, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2010. สืบค้นเมื่อ October 7, 2010.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 "Interview With Steve Robertson". HitQuarters. November 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ May 17, 2010.
  17. "History". paramore.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 10, 2008. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 31, 2007.
  18. 18.0 18.1 18.2 Hayley Williams; Josh Farro (สิงหาคม 8, 2005). "Interview: Hayley Williams and Josh Farro of Paramore" (Interview). สัมภาษณ์โดย Tony Pascarella. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2007. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 16, 2007.
  19. 19.0 19.1 "Paramore Biography". Contactmusic.com. สืบค้นเมื่อ August 5, 2016.
  20. Hayley Williams (กรกฎาคม 14, 2005). "Paramore Interview" (Interview). สัมภาษณ์โดย Jason Schleweis of Crush Music Mag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 19, 2011. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2007.
  21. 21.0 21.1 Karan, Tim (December 22, 2010). "Josh Farro "finally tells the truth" about Paramore". Alternative Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2016. สืบค้นเมื่อ August 7, 2016.
  22. "Gold & Platinum - RIAA". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ August 5, 2016.
  23. "14 songs featuring the incredible Hayley Williams". altpress.com. สืบค้นเมื่อ August 21, 2017.
  24. "Spotlight - Bayside". Spin. March 1, 2006. สืบค้นเมื่อ August 5, 2016.
  25. "The Rocket Summer touring with Brandtson, Paramore". Alternative Press. April 6, 2006. สืบค้นเมื่อ August 5, 2016.
  26. "It's a Bird, It's a Plane, It's Sound of Superman" (Press release). Rhino. มีนาคม 23, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 12, 2012. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2007.
  27. "Summer Tic EP by Paramore". newreleasetoday.com. สืบค้นเมื่อ August 5, 2016.
  28. "Paramore – The Summer Tic EP". Discogs.com. สืบค้นเมื่อ August 5, 2016.
  29. 29.0 29.1 Fletcher, Alex (กันยายน 24, 2007). "Paramore". fueledbyramen.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 21, 2009. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2007.
  30. "Paramore Not Happy About Kerrang Article". drivenfaroff.com. พฤษภาคม 31, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 30, 2007. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2007.
  31. 31.0 31.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MTV
  32. 32.0 32.1 32.2 Hayley Williams; Josh Farro (May 25, 2007). "Paramore" (Interview). สัมภาษณ์โดย Julia Conny. สืบค้นเมื่อ October 13, 2007.
  33. Goodman, William (December 3, 2008). "Hayley Williams Talks New Paramore Album". Spin. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  34. "Paramore Riot!". Alternative Press. August 28, 2007. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  35. "redemption. it's a long story". livejournal.com. June 27, 2007. สืบค้นเมื่อ October 12, 2007.
  36. Williams, Hayley (August 21, 2007). "Paramore Say Goodbye To The Warped Tour". mtv.com. Viacom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2007. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  37. "Paramore <Paramore>". bebo.com. October 12, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2011. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  38. "Say Anything To Post New Song". absolutepunk.net. October 1, 2007. สืบค้นเมื่อ October 15, 2007.
  39. "On The Download". /thephoenix.com.
  40. Keiper, Nicole (June 9, 2017). "Paramore Is a Band: Revisit Our 2008 Feature on Riot!". spin. สืบค้นเมื่อ September 4, 2017.
  41. "Highlights". washingtonpost. December 31, 2007. สืบค้นเมื่อ September 4, 2017.
  42. "Paramore". altpress.com. กุมภาพันธ์ 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 7, 2011. สืบค้นเมื่อ มกราคม 4, 2008.
  43. "50th Annual Grammy Awards Nominations List". Grammy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ December 6, 2007.
  44. "Tours: Paramore / New Found Glory (UK)". punknews.org. October 22, 2007. สืบค้นเมื่อ November 1, 2007.
  45. "Paramore upcoming shows". Paramore.net. ธันวาคม 2, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 26, 2010. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2, 2007.
  46. Montgomery, James. "Paramore Cancel European Tour, Say They Need Time Off To Deal With 'A Lot Of Internal Issues'". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  47. Montgomery, James (March 24, 2008). "Paramore Explain Why 'That's What You Get' Video Shoot Was Top Secret". mtv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-24. สืบค้นเมื่อ September 4, 2017.
  48. "inTuneMusic: Paramore in Asbury Park". Intunemusiconline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2012. สืบค้นเมื่อ May 17, 2017.
  49. The Final Riot! (DVD). Chicago, United States: Fueled by Ramen. August 12, 2008. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 00:47:57. if you go to our merchboot tonight you'll see a hoodie, if you buy it the proceeds are going to an organization called Love146
  50. "Paramore - The Final Riot!". AllMusic.
  51. "Paramore Scores Gold With 'The Final Riot!'; Tour Dates". starpulse.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  52. 52.0 52.1 "Is Paramore the Best Popular Rock Band of the 21st Century? (Staff Debate)". May 5, 2017. สืบค้นเมื่อ July 11, 2017.
  53. "Paramore brings new sound to KeyArena tonight - Concert preview". Blogs.seattletimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ June 17, 2016.
  54. 54.0 54.1 "Paramore's New, Self-Titled Album: Review". Idolator. April 9, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.
  55. Ryzik, Melena (April 12, 2013). "Hayley Williams of Paramore on Her New Album". The New York Times.
  56. Barlow, Eve (May 3, 2017). "Paramore Grows Up With 'After Laughter' — But Will Fans Follow?". Variety. สืบค้นเมื่อ February 17, 2018.
  57. "Paramore Announce 2017 North America Tour - Audio Ink Radio". audioinkradio.com. สืบค้นเมื่อ July 29, 2017.
  58. "Fall Out Boy and Paramore to perform at Hersheypark Stadium". PennLive. July 15, 2014. สืบค้นเมื่อ July 31, 2014.
  59. Zaleski, Annie (April 9, 2013). "Paramore: Paramore · Music Review · The A.V. Club". The A.V. Club. สืบค้นเมื่อ July 31, 2014.
  60. Ramanathan, Lavanya. "Lauryn Hill, the Jingle Ball and more top December concerts". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
  61. Ableson, Jon (August 20, 2009). "Paramore talk about progress of their next record". Alter The Press!. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
  62. Leahey, Andrew. "Hayley Williams Bio". AllMusic.
  63. "Paramore Riots At Chevrolet". Articles.courant.com. สืบค้นเมื่อ June 17, 2016.[ลิงก์เสีย]
  64. Phull, Hardeep (November 10, 2013). "After a rough patch, things are looking up for Paramore". Nypost.com. สืบค้นเมื่อ June 17, 2016.
  65. "Familiar With Emo, Intimate With Upbeat". New York Times. สืบค้นเมื่อ January 5, 2008. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |power popdate= ถูกละเว้น (help)
  66. 66.0 66.1 66.2 Petridis, Alexis (January 14, 2018). "Paramore review – slick stadium pop act just as earnest as when they were emo". The Guardian. สืบค้นเมื่อ February 17, 2018.
  67. Josh Farro; Jeremy Davis. "Interview: Paramore" (Interview). สัมภาษณ์โดย Charlotte Otter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 30, 2009. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2007.
  68. 68.0 68.1 Davies, Alex. "Paramore – Riot!". decoymusic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2007. สืบค้นเมื่อ October 13, 2007.
  69. Schleweis, Jason (กรกฎาคม 26, 2005). "Paramore". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 11, 2006. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2007.
  70. Kyle Anderson (April 10, 2013). "Paramore Review | Music Reviews and News". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ April 12, 2013.
  71. "After Laughter - Paramore | Songs, Reviews, Credits | AllMusic". AllMusic. สืบค้นเมื่อ May 12, 2017.
  72. "Bamboozle Recap: Day 1". altpress.com. พฤษภาคม 6, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 10, 2007. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2007.
  73. Mayer, John (ตุลาคม 27, 2007). "Paramore". honeyee.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2008. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2007.
  74. Pascarella, Tony (กรกฎาคม 20, 2007). "Music Review: Paramore, "All We Know Is Falling"". the-trades.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 15, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2007.
  75. Drumm, Alex. "Paramore". emotionalpunk.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2007. สืบค้นเมื่อ October 13, 2007.
  76. Bradley, Jonathan (August 13, 2007). "Paramore – Riot! – Review". stylusmagazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-21. สืบค้นเมื่อ October 13, 2007.
  77. "Review". nme.com. สืบค้นเมื่อ October 13, 2007.
  78. 78.0 78.1 "Paramore in prog shock rock?". citylife.co.uk. สืบค้นเมื่อ June 9, 2011.
  79. "Paramore's official bio". paramore.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2011.
  80. Ryzik, Melena (April 12, 2013), Growing Up on a Musical Diet of Presley and Blondie, The New York Times, สืบค้นเมื่อ March 27, 2016
  81. "Fringe: Paramore's Hayley Williams Isn't Your Average Rock Chick". Vibe. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
  82. Hogan, Marc (March 13, 2013). "Hayley Williams on Love, Haters, and 'Paramore's Soap Opera". Spin. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  83. Heisel, Scott (September 23, 2013). ""We're Gonna Come with Guns Blazing" Paramore's Hayley Williams on the Self-titled Tour". Altpress.com. สืบค้นเมื่อ November 4, 2017.
  84. "Questions and Answers with Paramore". paramore-fans.com. กันยายน 19, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 16, 2007. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2007.
  85. Dodero, Camille (December 5, 2014), Billboard Women in Music Honoree Hayley Williams on Gwen Stefani, Beyonce and the Strong Female Artists Who Inspire Her, Billboard, สืบค้นเมื่อ December 15, 2015
  86. "mewithoutYou releases new song". Sputnikmusic.
  87. Paramore bbc interview (February 6, 2008). "Talking Shop: Paramore". BBC News (Interview). สืบค้นเมื่อ January 3, 2010.
  88. "Warped adds Agent Orange, video from Rock'n'Roll Hall of Fame exhibit". punknews.org. February 9, 2007. สืบค้นเมื่อ August 18, 2007.
  89. Moseley, Brittany (มกราคม 31, 2007). "Warped Tour: Thirteen years of memorabilia to Cleveland". Stater Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 8, 2007. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2007.
  90. "Paramore". rollingstone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ October 13, 2007.
  91. "Behind the Scenes: Paramore's TV Spots". mtv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ August 18, 2007.
  92. "MTV Doesn't Care About Black People, Either". mollygood.com. September 11, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2007. สืบค้นเมื่อ August 13, 2007.
  93. "i forgot to tell you guys. i'm such a jerk!". livejournal.com. September 27, 2007. สืบค้นเมื่อ October 9, 2007.
  94. "Tours: Paramore / The Swellers / Paper Route". Punknews.org. สืบค้นเมื่อ February 18, 2015.
  95. "Paramore announce North American tour with Metric and Hellogoodbye". Alternative Press. สืบค้นเมื่อ February 18, 2015.
  96. "Paramore and Fall Out Boy Plan Summer 'Monumentour' - Rolling Stone". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ February 18, 2015.
  97. "Paramore announce mammoth North American tour". NME. May 23, 2008. สืบค้นเมื่อ February 17, 2018.
  98. "Paramore Iinstigate The Final Riot! (Tour)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-18. สืบค้นเมื่อ February 17, 2018.
  99. "Tours: Paramore / The Swellers / Paper Route". Punknews.org. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
  100. "Paramore: The Self-Titled Tour ticket giveaway!". Alternative Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 18, 2018. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 17, 2018.
  101. "Paramore Announce European And North American Tour Dates". สืบค้นเมื่อ February 17, 2018.
  102. Kreps, Daniel (March 22, 2010). "Paramore Announce Honda Civic Tour Dates With Tegan and Sara". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2011. สืบค้นเมื่อ August 30, 2011.
  103. Grow, Kory. "Paramore and Fall Out Boy Plot Summer 'Monumentour'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ January 10, 2014.
  104. Montgomery, James. "Fall Out Boy And Paramore Join Forces On 'Monumentour'". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-09. สืบค้นเมื่อ January 10, 2014.
  105. Crane, Matt (April 14, 2014). "Fall Out Boy, Paramore begin Monumentour". Alternative Press. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
  106. Vena, Jocelyn (January 21, 2009). "No Doubt Announce Summer Tour With Paramore". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-22. สืบค้นเมื่อ March 8, 2009.
  107. Goodman, William (March 22, 2010). "Green Day Announce Summer Tour". Spin. สืบค้นเมื่อ February 17, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!