พระเจ้าคย็องจงแห่งโชซ็อน

พระเจ้าคย็องจง
พระราชสุสานของพระเจ้าคย็องจง
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
ครองราชย์17 กรกฎาคม ค.ศ. 1720 –11 ตุลาคม ค.ศ. 1724
ก่อนหน้าพระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน
ถัดไปพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน
ผู้สำเร็จราชการพระอนุชารัชทายาท อี กึม
(ค.ศ. 1722 ~ ค.ศ. 1724)
พระราชสมภพ20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1688(1688-11-20)
พระราชวังชังด็อกกุง อาณาจักรโชซ็อน
สวรรคต11 ตุลาคม ค.ศ. 1724(1724-10-11) (35 ปี)
พระราชวังชังกย็อง อาณาจักรโชซ็อน
พระอารามนาม
พระเจ้าคย็องจง (경종; 景宗)
พระนามเดิม
อี ยุน (이윤, 李昀)
พระสมัญญานาม
พระเจ้าท็อกมุน อิกมู ซุนอิน ซ็อนฮโย มหาราช
(덕문익무순인선효대왕; 德文翼武純仁宣孝大王)
ราชวงศ์โชซ็อน
ราชสกุลอี
พระราชมารดาพระสนมฮีบิน ตระกูลชัง
พระเจ้าคย็องจงแห่งโชซ็อน
ฮันกึล
경종
ฮันจา
景宗
อาร์อาร์Gyeongjong
เอ็มอาร์Kyŏngjong
ชื่อเกิด
ฮันกึล
이윤
ฮันจา
李昀
อาร์อาร์I Yun
เอ็มอาร์Yi Yun
ชื่อสุภาพ
ฮันกึล
휘서
ฮันจา
輝瑞
อาร์อาร์Hwiseo
เอ็มอาร์Hwisŏ

พระเจ้าคย็องจง (เกาหลี경종; ฮันจา景宗; อาร์อาร์Gyeongjong; เอ็มอาร์Kyŏngjong ค.ศ. 1688 — ค.ศ. 1724) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 20 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1724)

พระเจ้าคย็องจง พระนามว่า อี ยุน เสด็จพระราชสมภพเมื่อ ค.ศ. 1688 เป็นพระโอรสของพระเจ้าซุกจงกับพระสนมโซอีย ตระกูลชัง เมื่อมีพระโอรสแล้วจึงได้รับการเลื่อนขั้นเป็น พระสนมฮีบิน (희빈 장씨, 禧嬪 張氏) ใน ค.ศ. 1689 พระเจ้าซุกจงมีพระดำริจะตั้งองค์ชายอีคยุนเป็นองค์ชายรัชทายาท ซึ่งขัดกับธรรมเนียมว่าให้รอพระโอรสจากพระมเหสีก่อน ซึ่งก็เป็นที่คัดค้านของฝ่ายตะวันตก แต่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายใต้ ในปีเดียวกันนั้น มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง พระเจ้าซุกจงทรงแต่งตั้งพระสนมฮีบินเป็นพระมเหสี และเนรเทศขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปหมด ทำให้องค์ชายอี ยุน ทรงได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่พระมเหสี และได้รับแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทเมื่อ ค.ศ. 1690

แต่แล้วพระเจ้าซุกจงก็ทรงเปอี่ยนพระทัย ปลดพระราชมารดากลับไปเป็นพระสนมฮีบินดังเดิมใน ค.ศ. 1694 และเมื่อ ค.ศ. 1701 ก็พบว่าพระสนมฮีบินกระทำการสาปแช่งพระมเหสีอินฮย็อน จึงถูกสำเร็จโทษเสีย องค์ชายรัชทายาทจึงทรงต้องกำพร้าพระราชมารดา แต่ก็ทรงได้รับการสนับสนุนจากขุนนางฝ่ายโซนน (ซึ่งแตกออกมาจากฝ่ายตะวันตก) และทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราชบิดาใน ค.ศ. 1718 แต่ก็มีพระพลานามัยไม่ค่อยจะสู้ดีนัก และทรงต้องแข่งกับองค์ชายย็อนอิง (연잉군, 延礽君) พระอนุชาต่างพระราชมารดา ที่มีฝ่ายโนนนให้การสนับสนุนอยู่ เมื่อพระเจ้าซุกจงสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1720 องค์ชายรัชทายาทก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ

ตลอดรัชสมัยของพระเจ้าคย็องจงประชวรและบรรทมอยู่ไม่สามารถว่าราชการได้ อีกทั้งเมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระชนมายุมากแล้วและยังไม่มีพระโอรส ขุนนางฝ่ายโนนนจึงถวายฎีกาขอให้ทรงแต่งตั้งองค์ชายย็อนอิงเป็นพระอนุชารัชทายาท (왕세제, 王世弟) ซึ่งพระเจ้าคย็องจงก็ทรงแต่งตั้งเมื่อ ค.ศ. 1721 ต่อมาฝ่ายโนนนได้ขอให้พระอนุชารัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ขุนนางฝ่ายโซนนจึงกล่าวหาพระอนุชารัชทายาทและพวกขุนนางฝ่ายโนนนว่าเป็นกบฏหมายจะยึดบัลลังก์ให้แก่พระอนุชารัชทายาท ฝ่ายโนนนจึงถูกกวาดล้าง ถูกประหารชีวิตและเนรเทศ แต่พระเจ้าคย็องจงก็ทรงไม่สามารถว่าราชการได้เลย จึงทรงแต่งตั้งพระอนุชารัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเมื่อ ค.ศ. 1722 แล้วก็อีกครั้งที่ฝ่ายโซนนกล่าวหาฝ่ายโนนนว่าก่อการกบฏ จึงมีการกวาดล้างอีกครั้ง เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า การลงทัณฑ์ปีชินอิม (신임옥사, 辛壬獄事)

พระเจ้าคย็องจงสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1724 โดยที่ไม่มีพระโอรส มีพระสุสานชื่อว่า อีนึง (의릉, 懿陵) พระอนุชารัชทายาทจึงขึ้นครองราชสมบัติต่อ เป็นพระเจ้าย็องโจ

พระนามเต็ม

สมเด็จพระราชา คย็องจง แทโจ ซองมู ว็อนด็อก ฮเยอิน ซูอัน ช็องฮา เยซอง โบอิน แห่งราชอาณาจักรโชซ็อน

พระบรมวงศานุวงศ์

พงศาวลี

อ้างอิง

Jae Un-Kang, Jae Eun-Kang. The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism.

ก่อนหน้า พระเจ้าคย็องจงแห่งโชซ็อน ถัดไป
พระเจ้าซุกจง กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(ค.ศ. 1720–1724)
พระเจ้าย็องโจ

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!