มหาเสวกโท พระยาเพ็ชรพิไชย นามเดิม เจิม สกุลอมาตยกุล (2390–6 มิถุนายน 2465) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง อดีตรัฐมนตรี อดีตองคมนตรี
ประวัติ
พระยาเพ็ชร์พิไชยเกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 6 ค่ำ ปีมะแม นพศก จุลศักราช 1209 ตรงกับ พ.ศ. 2390 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 มีนามเดิมว่า เจิม เป็นบุตรชายของ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) กับ คุณหญิงพลอย (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) ผู้เป็นภรรยาเอกมีพี่ชายร่วมมารดา 1 คนน้องชายและน้องสาวร่วมมารดาอีก 2 คนคือ
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงถนอม อมาตยกุล มีบุตรชายที่สำคัญคือ
พระยาเพ็ชรพิไชยถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2465 สิริอายุได้ 75 ปี[1]
รับราชการ
พระยาเพ็ชรพิไชยเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือน 12 ปีระกา ตรีศก จุลศักราช 1223 ตรงกับ พ.ศ. 2404 โดยโปรดเกล้าฯ ให้เข้าไปช่วยงานบิดาที่ โรงกษาปณ์สิทธิการ
ในวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช 1231 ตรงกับ พ.ศ. 2412 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงวิจารณ์จักรกิจ ปลัดกรมกษาปณ์สิทธิการ จากนั้นในวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235 ตรงกับ พ.ศ. 2416 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
ต่อมาในวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ ฉอศก จุลศักราช 1236 ตรงกับ พ.ศ. 2417 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ปรีวีเคาน์ซิล หรือองคมนตรี จากนั้นในวันศุกร์ เดือน 12 แรม 2 ค่ำ ปีจอ ฉอศก ปีเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็กเวรเดช
ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2441 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน เจ้ากรมพระราชอุทยานสราญรมย์ ปีถัดมาคือในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2442 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก จากนั้นในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2443 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาบำเรอภักดิ์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง หลังจากนั้นในวันที่ 11 กันยายน ปีเดียวกัน ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี
ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า ในการนี้ ถนอม ภรรยาเอกของท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตติยจุลจอมเกล้า ทำให้เธอได้เลื่อนขึ้นเป็น คุณหญิงถนอม นับแต่บัดนั้น จากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ท่านได้รับพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2446 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
จากนั้นในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ท่านได้รับพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 ในวันที่ 18 มกราคม ปีเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย อีก 2 ปีต่อมาท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2449
ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ท่านได้รับพระราชทาน เข็มพระชนมายุสมมงคล จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาเพ็ชร์พิไชย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 อีก 2 วันถัดมาคือในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 ท่านก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น จางวางกรมล้อมพระราชวัง โดยมี พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) มารับตำแหน่ง ปลัดทูลฉลองกระทรวงวังสืบแทน
ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น มหาเสวกโท
บรรดาศักดิ์
- พ.ศ. 2412 หลวงวิจารณ์จักรกิจ ปลัดกรมกษาปณ์สิทธิการ
- พ.ศ. 2417 เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็กเวรเดช
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน เจ้ากรมพระราชอุทยานสราญรมย์[2]
- 7 เมษายน พ.ศ. 2443 พระยาบำเรอภักดิ์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง ถือศักดินา ๑๐๐๐[3]
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 พระยาเพ็ชรพิไชย อธิปไตยพาหิรเขตร ราชนิเวศน์สมันตารักษ์ วิบุลยศักดิ์อรรคมนตรีพิริยพาห ถือศักดินา ๕๐๐๐[4]
- 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 จางวางกรมล้อมพระราชวัง[5]
ตำแหน่งและยศ
- 11 กันยายน พ.ศ. 2443 รัฐมนตรี[6]
- 22 มีนาคม พ.ศ. 2443 องคมนตรี[7]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ผู้ช่วยปฏิคมใน หอพระสมุดวชิรญาณ[8]
- 31 สิงหาคม พ.ศ. 2455 มหาเสวกโท[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของพระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล)
|
|
อ้างอิง
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกระทรวงวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรีและรัฐมนตรี
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรี
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ
- ↑ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงวัง (หน้า ๑๔๐๕)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๗๑๔, ๗ ตุลาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๔, ๔ ตุลาคม ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๖, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา แลเหรียญดุษฎีมาลา เหรียญจักรมาลา เหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๓๕๙, ๗ ตุลาคม ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๖๑, ๒๗ มีนาคม ๑๒๘
แหล่งข้อมูล