ปิดตำนานบุรุษล้างโลก

ปิดตำนานบุรุษล้างโลก
กำกับOliver Hirschbiegel
บทภาพยนตร์แบรนด์ ไอชิงเงอร์
สร้างจาก
อำนวยการสร้างแบรนด์ ไอชิงเงอร์
นักแสดงนำ
กำกับภาพRainer Klausmann[1]
ตัดต่อHans Funck[1]
ดนตรีประกอบ[1]
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายConstantin Film (เยอรมนีและออสเตรีย)
01 Distribution (อิตาลี)
วันฉาย
  • 8 กันยายน ค.ศ. 2004 (2004-09-08) (เยอรมนี)
  • 10 กันยายน ค.ศ. 2004 (2004-09-10) (ออสเตรีย)
  • 1 เมษายน ค.ศ. 2005 (2005-04-01) (สหราชอาณาจักร)
  • 8 เมษายน ค.ศ. 2005 (2005-04-08) (สหรัฐ)
  • 21 เมษายน ค.ศ. 2005 (2005-04-21) (ออสเตรเลีย)
ความยาว155 นาที (ในโรงภาพยนตร์)[2]
ประเทศเยอรมนี
อิตาลี
ออสเตรีย[3]
ภาษาเยอรมัน[2]
ทุนสร้าง13.5 ล้านยูโร[4] (ประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทำเงิน92.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

ปิดตำนานบุรุษล้างโลก (เยอรมัน: Der Untergang, อังกฤษ: Downfall) เป็นภาพยนตร์เยอรมันที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2004 กำกับโดย โอลิเวียร์ เฮียร์ชบีเกิล (Oliver Hirschbiegel)

ภาพยนตร์นำเสนอผ่านมุมมองของเทราเดิล ยุงเงอ เลขานุการของฮิตเลอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวความเป็นอยู่ของบุคคลใกล้ชิดฮิตเลอร์ในช่วงสิบวันสุดท้าย ขณะกองทัพแดงระดมสรรพกำลังเข้าโจมตีกรุงเบอร์ลิน และเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง แม้จะรู้ตัวว่าทหารโซเวียตกำลังรุกคืบเข้ามา ฮิตเลอร์ปฏิเสธคำขอของนายทหารคนสนิทที่ให้อพยพออกจากเบอร์ลิน จัดงานปาร์ตี้ในทำเนียบนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกขวัญกำลังใจ

หลังจากแผนการรบครั้งสุดท้ายที่จะให้นายพลชไตเนอร์เข้าตีกองทัพแดง ประสบความล้มเหลว ฮิตเลอร์ก็ยังไม่ยอมหลบหนีออกจากเบอร์ลิน และฆ่าตัวตายพร้อมกับเอฟา เบราน์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945

ภาพยนตร์ได้รับความชื่นชมถึงความสมจริง และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม [6] หลายฉากในภาพยนตร์ โดยเฉพาะฉากที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ระเบิดอารมณ์ใส่นายทหาร หลังจากได้รับรายงานว่าเยอรมนีกำลังจะแพ้สงคราม ถูกนำไปตัดต่อเป็นไวรัลวิดีโอ เผยแพร่ในเว็บไซต์แลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอ เช่น ยูทูบ ในลักษณะล้อเลียน โดยใช้เสียงและภาพจริงจากในภาพยนตร์ แต่เพิ่มซับไตเติลเป็นเนื้อหาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น เกี่ยวกับการเมือง กีฬา วิดีโอเกม [7] รวมทั้งเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

นักแสดง

เจ้าหน้าที่รัฐบาลไรช์และพลเรือน

ทหารแวร์มัคท์

เอ็สเอ็ส

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Elley, Derek (16 September 2004). "Downfall". Variety. Penske Media Corporation. สืบค้นเมื่อ 12 May 2018.
  2. 2.0 2.1 "DOWNFALL (15)". British Board of Film Classification. 24 December 2004. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  3. "Downfall (2004)". British Film Institute. สืบค้นเมื่อ 12 May 2018.
  4. "Eichinger-Film "Der Untergang": Bruno Ganz spielt späten Hitler". Spiegel Online (ภาษาเยอรมัน). 16 April 2003. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
  5. "DOWNFALL". Box Office Mojo.
  6. http://www.imdb.com/title/tt0363163/awards
  7. Heffernan, Virginia (October 24, 2008). "The Hitler Meme". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 5, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!