ปลาปากหนวด

ปลาปากหนวด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
สกุล: ปลาตะพาก

(Norman, 1925)
สปีชีส์: Hypsibarbus vernayi
ชื่อทวินาม
Hypsibarbus vernayi
(Norman, 1925)
ชื่อพ้อง
  • Barbus vernayi Norman, 1925
  • Barbodes vernayi (Norman, 1925)
  • Puntius vernayi (Norman, 1925)

สำหรับปลาปากหนวดชนิดอื่นดูที่: Hypsibarbus pierrei

ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus vernayi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนปลาตะพากเหลือง ครีบและหางเป็นสีแดงเข้มหรือสีส้ม และถิ่นที่อยู่พบในภาคอีสาน, ภาคเหนือ และภาคกลางแถบ จังหวัดเพชรบุรี, ราชบุรี พบน้อยกว่าปลาตะพากเหลือง คือพบเป็นบางฤดูกาลเท่านั้น [2]

ความเป็นมาของปลาปากหนวด เริ่มจาก อาเธอร์ เอส. เวอร์เนย์ นักมีนวิทยาชาวอังกฤษได้เก็บตัวอย่างปลาปากหนวดได้ 2 ตัว จากอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จึงได้ส่งตัวอย่างให้ จอห์น ร็อกโบโรห์ นอร์แมน เพื่อตรวจสอบว่าเป็นปลาชนิดใหม่หรือไม่ ปรากฏว่าเป็นปลาชนิดใหม่ นอร์แมนจึงตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เวอร์เนย์

ปลาปากหนวดมีลำตัวที่แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดยาว 2 คู่ มีเกล็ดตามลำตัวประมาณ 26-28 แถว เกล็ดรอบคอดหาง 12 แถว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นซี่แข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ตัวมีสีขาวเงินเจือเหลือง ขอบเกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห [3]

ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ในช่วงวันขึ้น 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ในเดือนมีนาคม ของทุกปี ในแม่น้ำมาง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำน่าน ในตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จะมีปรากฏการณ์ที่ปลาปากหนวดนับหมื่นหรือแสนตัวว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์และวางไข่ตามลำน้ำและโขดหิน ซึ่งปลาจะมากองรวมกัน ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปลากอง" ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียง 2 วันนี้เท่านั้น และก่อนที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ จะมีสิ่งบอกเหตุ คือ ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศเย็นกว่าปกติ และนกเค้าแมวส่งเสียงร้อง เมื่อผสมพันธุ์และวางไข่เสร็จแล้ว จะกลับไปอาศัยอยู่ยังที่เดิม หรือบางตัวก็ตายลงตามอายุขัย[4]

อ้างอิง

  1. Vidthayanon, C. (2012). "Hypsibarbus vernayi". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T180834A1667793. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T180834A1667793.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5
  3. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9 หน้า 92
  4. หน้า 1 ต่อหน้า 9, ฮือฮา 'ปลากอง' สิ่งมหัศจรรย์. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,884: วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!