ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง

อุณหภูมิของซีกโลกเหนือในช่วง 2000 ปีที่ผ่านมา

ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง (อังกฤษ: Medieval Warm Period (MWP) หรือ Medieval Climate Optimum) เป็นช่วงเวลาที่อากาศในบริเวณแอตแลนติกเหนือที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่เกิดขึ้นก่อนหน้ายุคน้ำแข็งน้อย ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลางมักจะเป็นหัวข้อที่ทำให้มีการถกกันเรื่องปรากฏการณ์โลกร้อน บางคนก็เรียกช่วงเวลานี้ว่า “ภาวะอากาศผิดปกติในยุคกลาง” (Medieval Climatic Anomaly) ที่เป็นการเน้นผลที่เกิดจากความผิดปกติของอากาศมากกว่าที่จะเป็นการกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ[1]

การค้นคว้าในระยะแรก

“ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง” เป็นช่วงเวลาของภาวะอากาศระหว่าง ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1300 ในระหว่างยุคกลางของยุโรป การค้นคว้าในระยะแรกของปรากฏการณ์ก่อนหน้ายุคน้ำแข็งน้อยทำกันส่วนใหญ่ในยุโรป ซึ่งเป็นบริเวณที่เห็นชัดและมีหลักฐานประกอบมากที่สุด ในระยะแรกเชื่อกันว่าความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปทั่วโลก[2] แต่ความคิดเห็นนี้เป็นที่ต้องสงสัย ในปี ค.ศ. 2001 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานสรุปผลการศึกษาว่า “…เหตุการณ์ปัจจุบันไม่สนับสนุนความเปลี่ยนแปลงของอากาศผิดปกติทั้งเย็นและร้อนพร้อมกันทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว และคำว่า “ยุคน้ำแข็งเล็ก” และ “ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง” ที่ใช้ก็เป็นคำที่มีความหมายจำกัดในการบรรยายแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของซีกโลกหรือโลกในศตวรรษที่ผ่านมา”[3] ข้อมูลเกี่ยวกับอุณภูมิของโลกที่ได้จากแกนน้ำแข็ง วงต้นไม้ (tree ring) และ สิ่งที่อยู่ก้นทะเลสาบจากทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าโลกอาจจะเย็นลงเล็กน้อย (ราว 0.03 °C) ระหว่างช่วง “ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง” กว่ายุคก่อนหน้านั้น และ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[4] โครว์ลีย์และโลว์รีย์ (ค.ศ. 2000) [5] ตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอในการทำนายว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในซีกโลกใต้หรือไม่

นักภูมิอากาศดึกดำบรรพ์วิทยา (Palaeoclimatologist) ผู้จำลองลักษณะอากาศเฉพาะท้องถิ่นในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาเรียกช่วงอากาศสองแบบที่สลับกันว่า “ยุคน้ำแข็งเล็ก” สำหรับช่วงที่เย็น และ “ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง” สำหรับช่วงที่อุ่น[4][6] นักค้นคว้าผู้อื่นก็ตกลงใช้ตาม และเมื่อกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับอากาศในช่วงนี้ ก็จะบรรยายในบริบทของคำสองคำนี้ ฉะนั้น “ปรากฏการณ์โลกร้อนในยุคกลาง” จึงอาจจะเป็นภาวะอากาศเปียกแทนที่จะเป็นภาวะ “อากาศร้อน” แต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะจากการสังเกตที่ว่าลักษณะอากาศในทางตอนกลางของทวีปแอนตาร์กติกาตรงกันข้ามกับแอตแลนติกเหนือ

อ้างอิง

  1. Bradley, Raymond S. Climate System Research Center. "Climate of the Last Millennium." 2003. February 23, 2007. [1]; E.L. Ladurie, Times of Feast, Times of Famine: a History of Climate Since the Year 1000 (0(Barbara Bray, tr.) (New York: Doubleday)1971.
  2. "Paleoclimatology Global Warming - The Data". NOAA. November 10, 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-07-11.
  3. Intergovernmental Panel on Climate Change. "Climate Change 2001: Working Group I: The Scientific Basis 2.3.3 Was there a "Little Ice Age" and a "Medieval Warm Period"?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-29. สืบค้นเมื่อ 2006-05-04. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. 4.0 4.1 Raymond S. Bradley, Malcolm K. Hughes, Henry F. Diaz (2003). "Climate in Medieval Time" (PDF). Science. 302 (5644): 404–405. doi:10.1126/science.1090372. PMID 14563996.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (links to pdf file)
  5. How Warm Was the Medieval Warm Period? Thomas J. Crowley and Thomas S. Lowery Ambio, Vol. 29, No. 1 (Feb., 2000), pp. 51-54
  6. Jones, P. D., and M. E. Mann (2004). "Climate over past millennia". Rev. Geophys. 42 (RG2002): 404–405. doi:10.1029/2003RG000143.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!