ประเทศเกาหลีเหนือประกาศในปี 2552 ว่าประเทศพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และครอบครองคลังอาวุธนิวเคลียร์ค่อนข้างธรรมดาขนาดเล็ก ประเทศเกาหลีเหนือยังมีสมรรถนะอาวุธเคมีและ/หรืออาวุธชีวภาพ[1] ตั้งแต่ปี 2546 ประเทศเกาหลีเหนือไม่เป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์อีกต่อไป[2]
วันที่ 9 ตุลาคม 2549 ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าทดลองนิวเคลียร์ครั้งแรกสำเร็จ มีการตรวจพบการระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน มีการประมาณว่าแรงระเบิด (yield) น้อยกว่าหนึ่งกิโลตัน และตรวจพบปริมาณกัมมันตรังสีบางส่วน[3][4][5]
ในเดือนเมษายน 2552 รายงานเปิดเผยว่าประเทศเกาหลีเหนือกลายเป็น "รัฐนิวเคลียร์โตสมบูรณ์" (fully fledged nuclear power) เป็นความเห็นที่ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี แบ่งปัน[6] วันที่ 25 พฤษภาคม 2552 ประเทศเกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่สอง ทำให้เกิดแรงระเบิดที่ประมาณระหว่าง 2 ถึง 7 กิโลตัน[7] การทดลองเมื่อปี 2552 เช่นเดียวกับการทดลองปี 2549 เชื่อว่าเกิดที่มันทัพซัน (Mantapsan) เทศมณฑลคิลจู (Kilju County) ในส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเกาหลีเหนือ[8]
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (U.S. Geological Survey) ตรวจพบความไหวสะเทือน (seismic disturbance) ขนาด 5.1[9] ซึ่งรายงานว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่สาม[10] ประเทศเกาหลีเหนือรายงานอย่างเป็นทางการว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ที่สำเร็จด้วยหัวรบเบากว่าซึ่งส่งแรงมากกว่าแต่ก่อน แต่ไม่เปิดเผยแรงระเบิดแน่ชัด แหล่งข้อมูลเกาหลีใต้หลายแหล่งประมาณแรงระเบิดที่ 6–9 กิโลตัน ขณะที่สถาบันธรณีศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติสหพันธรัฐเยอรมันประมาณแรงระเบิดไว้ที่ 40 กิโลตัน[11][12][13]
วันที่ 6 มกราคม 2559 ในประเทศเกาหลี การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐตรวจพบความไหวสะเทือนขนาด 5.1[14] ซึ่งรายงานว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่สี่[15] ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่าการทดลองนี้เป็นระเบิดไฮโดรเจน ข้ออ้างนี้ยังมิได้พิสูจน์ยืนยัน ในไม่กี่ชั่วโมง นานาชาติและองค์การประณามการทดลองนี้[16] ข้อมูลไหวสะเทือนที่รวบรวมได้จนบัดนี้แนะว่าแรงระเบิดมีขนาด 6–9 กิโลตัน และขนาดนี้ไม่สอดคล้องกับกำลังที่จะเกิดจากการระเบิดของระเบิดไฮโดรเจน
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ประมาณหนึ่งเดือนหลังการทดลองที่อ้างว่าเป็นระเบิดไฮโดรเจน ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่าส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อะเบะ เตือนเกาหลีเหนือมิให้ปล่อยจรวด และหากปล่อยและจรวดละเมิดดินแดนญี่ปุ่น จะถูกยิงตก กระนั้น ประเทศเกาหลีเหนือก็ยังปล่อย โดยอ้างว่าดาวเทียมมีเจตนาความประสงค์สันติและทางวิทยาศาสตร์ หลายชาติซึ่งรวมสหรัฐ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ประณามการปล่อย และแม้เกาหลีเหนืออ้างว่าจรวดมีความมุ่งหมายสันติ แต่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นความพยายามทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปภายใต้บังหน้าการปล่อยดาวเทียมอย่างสันติ จีนยังวิจารณ์การปล่อยด้วย ทว่า กระตุ้นให้ "ภาคีที่เกี่ยวข้อง" "ละเว้นจากการดำเนินการที่อาจทำให้ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีบานปลายอีก"[17]
ชาติอื่นและสหประชาชาติสนองการพัฒนาขีปนาวุธและนิวเคลียร์ที่กำลังดำเนินอยู่ของเกาหลีเหนือโดยการลงโทษต่าง ๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกเสียงลงคะแนนกำหนดการลงโทษประเทศเกาหลีเหนือเพิ่มเติม[18]
การทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ห้าเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 แรงระเบิดจากการทดสอบถือว่าสูงสุดในบรรดาการทดสอบทั้งห้าครั้ง เกินสถิติเดิมในปี 2556 รัฐบาลเกาหลีใต้กล่าวว่าแรงระเบิดมีขนาดประมาณ 10 กิโลตัน[19] แต่แหล่งอื่นเสนอว่ามีแรงระเบิด 20 ถึง 30 กิโลตัน[20] แหล่งข้อมูลเยอรมันเดียวกันยังประเมินว่าการทดสอบนิวเคลียร์ก่อนหน้าทั้งหมดของเกาหลีเหนือมีแรงระเบิด 25 กิโลตัน[21]
ในปี 2560 ประเทศเกาหลีเหนือทดสอบปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปสองลูก ซึ่งลูกที่สองมีพิสัยเพียงพอถึงสหรัฐแผ่นดินใหญ่[22] ในเดือนกันยายน 2560 ประเทศประกาศการทดสอบระเบิดไฮโดรเจน "สมบูรณ์แบบ" อีก
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DOD-DPRK-2012
- ↑ "North Korea leaves nuclear pact". CNN.com. Jan. 10, 2003.
- ↑ Burns, Robert; Gearan, Anne (October 13, 2006). "U.S.: Test Points to N. Korea Nuke Blast". The Washington Post.
- ↑ "North Korea Nuclear Test Confirmed by U.S. Intelligence Agency". Bloomberg. October 16, 2006. สืบค้นเมื่อ October 16, 2006.
- ↑ North Korea's first nuclear test Yield estimates section
- ↑ Richard Lloyd Parry (April 24, 2009). "North Korea is fully fledged nuclear power, experts agree". The Times (Tokyo). London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-25. สืบค้นเมื่อ December 1, 2010.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน North Korea's Nuclear test Explosion, 2009. SIPRI
- ↑ "North Korea's new nuclear test raises universal condemnation". NPSGlobal Foundation. May 25, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-21. สืบค้นเมื่อ December 1, 2010. ;
- ↑ 2013-02-12 02:57:51 (mb 5.1) NORTH KOREA 41.3 129.1 (4cc01) (Report). USGS. February 11, 2013. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
- ↑ "North Korea appears to conduct 3rd nuclear test, officials and experts say". CNN. February 12, 2013. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
- ↑ Choi He-suk (February 14, 2013). "Estimates differ on size of N.K. blast". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ February 17, 2013.
- ↑ "Nuke test air samples are a bust". 15 February 2013. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
- ↑ "How Powerful Was N.Korea's Nuke Test?". The Chosun Ilbo. February 14, 2013. สืบค้นเมื่อ February 17, 2013.
- ↑ M5.1 - 21km ENE of Sungjibaegam, North Korea (Report). USGS. January 6, 2016. สืบค้นเมื่อ January 6, 2016.
- ↑ "North Korea claims fully successful hydrogen bomb test". Russia Today. January 5, 2016. สืบค้นเมื่อ January 5, 2016.
- ↑ "N Korean nuclear test condemned as intolerable provocation". Channel News Asia. Mediacorp. 6 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
- ↑ "North Korea fires long-range rocket despite warnings" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News. สืบค้นเมื่อ 2016-02-08.
- ↑ http://www.cnn.com/2016/03/02/world/un-north-korea-sanctions-vote/index.html
- ↑ "North Korea conducts 'fifth and biggest nuclear test'". BBCNews. September 9, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2016.
- ↑ North Korea conducts fifth and largest nuclear test – South Korea and Japan เก็บถาวร กันยายน 10, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Reuters, 9 September 2016 5:39am Britain Standard Time
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BGRSep2016
- ↑ CNN, Zachary Cohen and Barbara Starr (กรกฎาคม 28, 2017). "North Korea launches second long-range ICBM missile". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 28, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 28, 2017.