ธงราชการของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีลักษณะเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าพื้นแดง (หมายถึงธงแดงรูปค้อนเคียวของสหภาพโซเวียต) มีแถบสีฟ้าที่ด้านติดคันธงยาวตลอดด้านกว้างของธง โดยแถบนี้กว้างหนึ่งในแปดส่วนของด้านยาวของธง [1]
ประวัติ
ในสมัยที่พรรคบอลเชวิคจัดตั้งสหภาพโซเวียตขึ้นใน พ.ศ. 2460 เขตการปกครองรัสเซียได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (ย่อในภาษาอังกฤษว่า Russian SFSR หรือ RSFSR) ธงชาติสำหรับใช้ภายใต้การปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์จึงถูกคิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2461 มีลักษณะเป็นธงแดง มีอักษรซีริลลิกย่อ "РСФСР" (ถอดเป็นอักษรโรมันคือ RSFSR)[2]
รูปแบบของธงนี้มีการดัดแปลงแก้ไขอยู่หลายครั้ง[2] จนถึง พ.ศ. 2497 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติซึ่งได้ใช้ตลอดมาจนถึงก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 เพียงเล็กน้อย มีลักษณะตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) ดังนี้
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 ธงสามสี ขาว-น้ำเงิน-แดง ซึ่งเป็นธงชาติรัสเซียเดิมก่อนสมัยสหภาพโซเวียต ได้มีการรับรองให้ใช้เป็นธงชาติควบคู่กับธงยุค พ.ศ. 2497 โดยสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหพันธ์ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ซึ่งได้ใช้มาจนถึงวันที่ 25 ธันวาคมปีเดียวกัน ธงสามสีจึงได้รับการยอมรับให้เป็นธงชาติรัสเซียเพียงธงเดียวอย่างเป็นทางการในที่สุด[1] พร้อมกับการสิ้นสุดของสหภาพโซเวียดอย่างสมบูรณ์ในวันนั้น เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ
พัฒนาการของธง
-
ธงชาติผืนแรก (ธงทหาร)
14 เมษายน - 17มิถุยายน พ.ศ. 2461
-
ธงชาติผืนแรก (มีอักษรซีริลลิกอย่างย่อ)
-
ธงชาติผืนที่ 2
พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2480
-
แบบธงชาติในปี 1981
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น