ในคณิตศาสตร์โดยเฉพาะในการวิเคราะห์เชิงจริง ทฤษฎีบทบ็อลท์ซาโน-ไวเออร์ชตราส เป็นทฤษฎีบทพื้นฐานเกี่ยวกับการลู่เข้าของลำดับในปริภูมิยูคลิเดียน Rn โดยกล่าวว่า ทุกลำดับมีขอบเขตใน Rn จะมีลำดับย่อยที่ลู่เข้า[1] อีกนัยหนึ่งคือ สับเซตของ Rn จะเป็นเซตกระชับเชิงลำดับ (sequentially compact) ก็ต่อเมื่อเซตนั้นเป็นเซตปิดและมีขอบเขต[2] ทฤษฎีบทนี้บางครั้งเรียกว่า ทฤษฎีบทความกระชับเชิงลำดับ[3]
ทฤษฎีบทนี้ตั้งชื่อตาม แบร์นาร์ท บ็อลท์ซาโน และ คาร์ล ไวเออร์ชตราส
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
ทฤษฎีบทบ็อลท์ซาโน-ไวเออร์ชตราสตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ แบร์นาร์ท บ็อลท์ซาโน และ คาร์ล ไวเออร์ชตราส โดยพิสูจน์ครั้งแรกได้โดยบ็อลท์ซาโนในปี ค.ศ. 1817 ใช้เป็นบทตั้งในการพิสูจน์ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลาง ประมาณห้าสิบปีต่อมา ไวเออร์ชตราสเห็นว่าทฤษฎีบทนี้มีความสำคัญในตัวมันเองและพิสูจน์ได้อีกครั้งหนึ่ง นับแต่นั้นมาจึงได้กลายเป็นทฤษฎีบทสำคัญในคณิตวิเคราะห์
ข้อความ
ทฤษฎีบทบ็อลท์ซาโน-ไวเออร์ชตราส สำหรับ — ทุกลำดับมีขอบเขตใน Rn จะมีลำดับย่อยที่ลู่เข้า
พิสูจน์
ก่อนอื่นเราพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้สำหรับ (เซตของจำนวนจริง) ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถใช้การเรียงลำดับของจำนวนจริงบน ได้ ทำให้ได้บทตั้งต่อไปนี้
บทตั้ง — ทุกลำดับอนันต์ ใน มีลำดับย่อยที่เป็นลำดับทางเดียว
เราจะพิสูจน์ทฤษฎีบทบ็อลท์ซาโน-ไวเออร์ชตราส สมมติว่า เป็นลำดับมีขอบเขต ใน โดยบทตั้งข้างต้นจะมีลำดับย่อยทางเดียวซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีขอบเขตด้วย จากทฤษฎีบทการลู่เข้าทางเดียวลำดับย่อยนั้นต้องลู่เข้า
สำหรับกรณีทั่วไป () จะพิสูจน์ได้ดังนี้ กำหนดลำดับมีขอบเขตใน ลำดับที่ได้จากพิกัดตัวแรกจะเป็นลำดับของจำนวนจริงที่มีขอบเขต ดังนั้นจะมีลำดับย่อยที่ลู่เข้าจากผลข้างต้น จากนั้นเราสามารถหาลำดับย่อของลำดับย่อยนั้นที่พิกัดที่สองลู่เข้า ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบจำนวนพิกัด ครั้ง จะได้ลำดับย่อยของลำดับเดิมที่สมาชิกในแต่ละคู่อันดับลู่เข้า ดังนั้นลำดับย่อยนี้ลู่เข้า
บทพิสูจน์แบบอื่น
ทฤษฎีบทบ็อลท์ซาโน-ไวเออร์ชตราส์มีบทพิสูจน์อีกหลายแบบ ตัวอย่างด้านล่างใช้การแบ่งครึ่งช่วง[5] เราเริ่มต้นด้วยลำดับที่มีขอบเขต :
-
เพราะ
มีขอบเขต ลำดับนี้จึงมีขอบเขตล่าง
และขอบเขตบน
.
-
เราใช้
เป็นช่วงแรกในการพิสูจน์
-
จากนั้นแบ่ง
ออกเป็นสองช่วงย่อยที่มีขนาดเท่ากันที่กึ่งกลาง
-
เนื่องจากลำดับ
เป็นจำนวนสมาชิกเป็นอนันต์ จะต้องมี (อย่างน้อย) หนึ่งในสองช่วงย่อยที่มีสมาชิกเป็นอนันต์ เราให้ช่วงย่อยนี้เป็นช่วงที่สอง
-
จากนั้นเราก็แบ่ง
อีกครั้งให้เป็นช่วงย่อยที่มีขนาดเท่ากันสองช่วง
-
เช่นกัน ในช่วงย่อยเหล่านี้จะมีช่วงย่อยอย่างน้อยหนึ่งอันที่มีสมาชิกของ
อยู่เป็นจำนวนอนันต์ เราให้ช่วงย่อยนี้เป็นช่วงย่อยที่สาม
-
เราดำเนินการตามขั้นตอนนี้ไปเรื่อย ๆ จะได้ช่วงย่อยที่ซ้อนกันเป็นอนันต์ (
)
เนื่องจากเราลดความยาวของช่วงลงครึ่งหนึ่งในแต่ละขั้นตอน ลิมิตของความยาวช่วงจึงเป็นศูนย์ โดยทฤษฎีบทช่วงซ้อน ซึ่งกล่าวว่าว่าถ้า เป็นลำดับของช่วงปิดที่มีขอบเขต (โดยที่ ) แล้วอินเตอร์เซคชัน จะไม่เป็นเซตว่าง เราจะพิสูจน์ว่า เป็นจุดเกาะกลุ่มของ
กำหนดย่านใกล้เคียง ของ ใด ๆ มา เนื่องจากความยาวของช่วงลู่เข้าสู่เป็นศูนย์ จึงมีช่วง ที่เป็นสับเซตแท้ของ เนื่องจาก บรรจุสมาชิกของ เป็นจำนวนอนันต์จากการสร้าง และ , ดังนั้น บรรจุสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วนของลำดับ ทำให้ได้ว่า เป็นจุดเกาะกลุ่มของ ดังนั้นจึงมีลำดับย่อยของ ที่ลู่เข้า
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Bartle and Sherbert 2000, p. 78 (for R).
- ↑ Fitzpatrick 2006, p. 52 (for R), p. 300 (for Rn).
- ↑ Fitzpatrick 2006, p. xiv.
- ↑ Bartle and Sherbert 2000, pp. 78-79.
- ↑ Garling 2013, pp. 94-95
บรรณานุกรม