ตำบลแม่สอด เป็นหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 10 ตำบลของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงครองราชย์ อยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สอด แขวงเมืองตาก มณฑลนครสวรรค์ เป็นตำบลที่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ยาวนาน นับได้ว่าเป็นตำบลแห่งแรก และถูกจัดตั้งขึ้นเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคในระดับท้องที่พร้อมกับการจัดตั้งอำเภอแม่สอด หรือกว่า 111 ปี นับจาก พ.ศ. 2441 เป็นต้นมา
การปกครองในตำบลแม่สอด มิได้มีฐานะเริ่มแรกเป็นสภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ถูกจัดตั้งครั้งแรกเป็นเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2482 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ร.8) ต่อมาปี พ.ศ. 2544 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลแม่สอดจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
และเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองแม่สอดจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแม่สอด เพื่อรองรับความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จึงมีกฎหมายพิเศษในเรื่องของนครแม่สอดซึ่งจะเป็นเขตการปกครองส่วนพิเศษที่รัฐบาลจะได้ผลักดันในรูปแบบกรุงเทพมหานครกับเมืองพัทยา นครแม่สอดจะเป็นการปกครองท้องถิ่นพิเศษ มีความพิเศษมากขึ้นไป คือ จะเป็นครั้งแรกที่มีการจัดทำกฎหมายรองรับ ที่ให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงงานต่างด้าว ซึ่งเริ่มด้วยการค้าชายแดน กฎหมายนี้ถือว่าจะเป็นกฎหมายการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความก้าวหน้าฉบับหนึ่งซึ่งก็เป็นนโยบายใหม่ที่รัฐบาลกำลังดำเนิน
ชื่อตำบล
ชื่อ "แม่สอด" นั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย ประการแรก กล่าวกันว่า แม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอด ที่มีลักษณะการไหลของน้ำคดเคี้ยว สอดแทรกเข้าไปในพื้นที่ ส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย ซึ่งในอดีตด่านแม่สอด และด่านแม่ละเมาเป็นทางผ่านสำคัญในการทำศึกสงครามระหว่างสยามกับพม่า
ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ
พ.ศ. 2482 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พุทธศักราช 2482
พ.ศ. 2493 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (หน้า 669-674 ตอนที่ 35 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2493) โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เสียใหม่ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล
พ.ศ. 2493 มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลแม่ปะและตำบลท่าสายลวดในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2493 ลงนามโดย รามราชภักดี ปลัดกระทรวง ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 6299-6302 ตอนที่ 67 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม 2493) เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เพื่อลดเขตเทศบาลตำบลแม่สอดให้เล็กลงตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงเขตการปกครองส่วนภูมิภาค เพราะส่วนที่เคยอยู่ในเขตเทศบาลมาแต่เดิม ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นอยู่นอกเขตเทศบาล ฉะนั้น เพื่อให้การำเนินการปกครองได้เป็นไปตามนัยแห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ข้าหลวงประจำจังหวัดตาก อาศัยความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 6 , 29 และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2476 มาตรา 20 จึงได้ดำเนินการปรับปรุงเขตการปกครองในท้องที่อำเภอแม่สอดเสียใหม่ โดยรวมเขตหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ได้ถูกเปลี่ยนสภาพมาอยู่นอกเขตเทศบาลนี้ จัดตั้งเป็นตำบลขึ้นใหม่ อีก 2 ตำบล ขนานนามตำบลว่า "ตำบลแม่ปะ" และ"ตำบลท่าสายลวด" ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สอด ซึ่งแต่ละตำบลมีเขตดังนี้ คือ
1. ตำบลแม่ปะ
- ทิศเหนือ จดเขตตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด
- ทิศใต้ จดเขตเทศบาลตำบลแม่สอด
- ทิศตะวันออก จดเขตตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด
- ทิศตะวันตก จดเขตตำบลแม่ตาว ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด และแม่น้ำเมย เขตประเทศพะม่า (ภาษาในขณะนั้น)
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านแม่ปะเก่า
- หมู่ที่ 2 บ้านแม่ปะสันป่าซาง
- หมู่ที่ 3 บ้านแม่ปะคำมา
- หมู่ที่ 4 บ้านห้วยกะโหลก
- หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
- หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหินฝน
2. ตำบลท่าสายลวด
- ทิศเหนือ จดเขตตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด
- ทิศใต้ จดเขตตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด
- ทิศตะวันออก จดเขตตำบลเทศบาลตำบลแม่สอด
- ทิศตะวันตก จดแม่น้ำเมย เขตประเทศพะม่า
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว
- หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตาวท่าสายลวด
- หมู่ที่ 3 บ้านท่าหม่องอาจ
- หมู่ที่ 4 บ้านวังตะเคียน
- หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
- หมู่ที่ 6 บ้านหนองกิ่งฟ้า
และโอนบ้านหัวฝาย ซึ่งถูกตัดออกจากเขตเทศบาลตำบลแม่สอด ไปขึ้นกับหมู่ที่ 4 ตำบลแม่ตาว
กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลแม่สอดตั้งอยู่ใจกลางของอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
มีระยะทางห่างจากตัวเมืองสำคัญ ๆ ดังนี้
เนื้อที่
มีพื้นที่ประมาณ 27.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 17,000 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา ทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาถนนธงชัย ภายในเขตเทศบาลมีลำห้วยแม่สอดไหลผ่านตัวเมือง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตำบลแม่สอดยุบและยกเลิกหมู่บ้าน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2482 ต้นมา แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 19 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนประชารักษ์, ชุมชนบ้านทุ่ง, ชุมชนร่วมแรง, ชุมชนวัดหลวง, ชุมชนร่วมใจ, ชุมชนสันต้นปิน, ชุมชนดอนไชย, ชุมชนสองแคว 1, ชุมชนบัวคูณ, ชุมชนสองแคว 2, ชุมชนตาลเดี่ยว, ชุมชนอิสลาม, ชุมชนมณีไพรสณฑ์, ชุมชนบ้านเหนือสามัคคี, ชุมชนชุมพลพัฒนา, ชุมชนอินทรคีรี 1, ชุมชนราษฎรบูรณะ (สักทอง), ชุมชนจ๊อกจอสามัคคี, และชุมชนแม่สอดวิลล่า
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองในตำบลแม่สอด มิได้มีฐานะเริ่มแรกเป็นสภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ถูกจัดตั้งครั้งแรกเป็นเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2482 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ร.7) ต่อมาปี พ.ศ. 2544 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลแม่สอดจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองแม่สอดจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแม่สอด เพื่อรองรับความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรูปแบบ นครแม่สอด ต่อไป
การคมนาคม
ทางบก
ถนนสายหลัก ได้แก่
ทางน้ำ
ทางน้ำไม่นิยมใช้สัญจรไปมา ลำห้วยสำคัญ ได้แก่
สะพานสำคัญ
- สะพานดำ สร้างข้ามลำห้วยแม่สอด ตั้งอยู่บริเวณบ้านเหนือ
- สะพานหนึ่ง สร้างข้ามลำรางแม่สอด ตั้งอยู่บริเวณบ้านใต้
- สะพานสอง สร้างข้ามลำห้วย ตั้งอยู่บริเวณสุดเขตถนนอินทรคีรี เป็นเขตแบ่งท้องที่เทศบาลนครแม่สอด และเทศบาลตำบลท่าสายลวด
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ, บรรณาธิการ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตาก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ, 2542.
- อนุรักษ์ พันธุ์รัตน์, บรรณาธิการ. แม่สอดหนึ่งร้อยปี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ตาก : ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่สอด, 2541.
แหล่งข้อมูลอื่น