ตองจี

ตองจี
เมือง
เมืองตองจี
เมืองตองจี
ตองจีตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ตองจี
ตองจี
ที่ตั้งเมืองตองจีในประเทศพม่า
พิกัด: 20°47′01.08″N 97°02′07.30″E / 20.7836333°N 97.0353611°E / 20.7836333; 97.0353611
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐฉาน
จังหวัดตองจี
อำเภอตองจี
ความสูง4,590 ฟุต (1,400 เมตร)
ประชากร
 • ทั้งหมด200,000 คน
 • ชาติพันธุ์ไทใหญ่, ปะโอ, พม่า, พม่าเชื้อสายจีน, พม่าเชื้อสายอินเดีย, กุรข่า
 • ศาสนาพุทธ, คริสต์, อิสลาม
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)

ตองจี (พม่า: တောင်ကြီး; เอ็มแอลซีทีเอส: taungkri:, ออกเสียง: [tàʊ̯ɰ̃.d͡ʑí]; ไทใหญ่: တွင်ႇၵျီး, ออกเสียง: [tɔ̀ŋ.kjí] ต่องกฺยี๊) เป็นเมืองหลักของรัฐฉานในประเทศพม่า ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 480 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนภูเขาสูง เนื้อที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร อากาศค่อนข้างเย็นตลอดปี สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,712 ฟุต ชื่อตองจีเป็นภาษาพม่า มาจากคำว่า ตอง แปลว่า ภูเขา และ จี้ แปลว่า ใหญ่[1]

ประวัติ

ก่อนที่จะมีการล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ตองจีเป็นเพียงแค่หมู่บ้านขนาดเล็ก ประกอบด้วยกระท่อมเพียงไม่กี่หลัง ตั้งอยู่บนพื้นที่ของไหล่เขาสะตวงในภูเขาฉาน อาศัยโดยชนชาติไทใหญ่ในเวลานั้น

แต่เมื่ออังกฤษได้ยึดครองพม่าแล้ว หมู่บ้านตองจีได้พัฒนากลายเป็นหัวเมืองใหญ่และถูกตั้งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานใต้ ซึ่งการพัฒนาความทันสมัยของตองจีเริ่มในปี พ.ศ. 2437 เมื่ออังกฤษย้ายสำนักงานบริหารมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันออกของทะเลสาบอี้นเล่ ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพและภูมิศาสตร์

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2449 มีการตั้งบ้านเรือนนับพันหลัง เนื่องจากความไม่สงบในรัฐฉานในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 ตองจีซึ่งเป็นเมืองหัวหน้ากองทหารตำรวจและศูนย์กลางการจัดหาอาหารของกองทัพ ทำให้คนหลายเชื้อชาติเข้ามาอาศัยอยู่ ณ ที่นี่

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองประเทศไทยได้ส่งกองทัพพายัพเข้าผนวกเมืองตองจีรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐไทยเดิม จนกระทั่งภายหลังสงครามไทยได้ส่งมอบเมืองคืนให้กับกองพลอินเดียที่ 7 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยสมัยนายควง อภัยวงศ์ คืนดินแดนส่วนนี้ให้กับสหประชาชาติ ภายหลังอังกฤษได้รวมดินแดนนี้เข้ากับพม่าในเวลาต่อมา

เศรษฐกิจ

การท่องเที่ยว

เมืองตองจีนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ภายในเมืองมีตลาดห้าวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่เกษตรกรจากทั่วพื้นที่จะนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาจำหน่าย แต่เมื่อมีการพัฒนาเมืองมากขึ้นความสำคัญของตลาดสดก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามประเพณีการซื้อขายในตลาดยังคงได้รับความสนใจในเมืองเล็ก ๆ ที่ห่างไกล เช่น บริเวณทะเลสาบอี้นเล่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง

อุตสาหกรรม

ไม่มีอุตสาหกรรมสำคัญในตองจี อดีตตองจีเคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเมืองต่างๆในรัฐฉานใต้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดเขตแดนที่เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนของรัฐบาลพม่า การค้าขายส่วนใหญ่จึงได้ถูกย้ายไปยังเมืองใหม่ เอทาร์ยา

การเกษตร

อีกหนึ่งรายได้เศรษฐกิจของตองจี คือการทำฟาร์มและเกษตรกรรมต่าง ๆ เกษตรกรในเขตตองจี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่และปะโอ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลักของตองจีคือ มันฝรั่ง ใบชา มะเขือเทศ ถั่ว และผลไม้ตามฤดูกาล

การปกครอง

ตองจีแบ่งการปกครองเป็น 20 เขต ได้แก่[2]

  • เขตเจ้าสามทุน
  • เขตหนองพิอู
  • เขตนาซิฮี
  • เขตซานดากอง
  • เขตยะแม่ตาชี
  • เขตมงซุน
  • เขตซีกอน
  • เขตกางตา
  • เขตซีฟาน
  • เขตซานตา
  • เขตตองจีซู
  • เขตเอียมาเอีย
  • เขตมาโอ
  • เขตซีปาน
  • เขตนาออก
  • เขตโปตา
  • เขตเมงกะลาอูโกโฮง
  • เขตลางมาตอ
  • เขตลิตอง

อ้างอิง

  1. บุญยงค์ เกศเทศ. อรุณรุ่งฟ้าฉานเล่าตำนานคนไท. หน้า 112
  2. บุญยงค์ เกศเทศ. อรุณรุ่งฟ้าฉานเล่าตำนานคนไท. หน้า 118

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!