อำเภอแม่สาย |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Mae Sai |
---|
ตัวเมืองแม่สาย |
คำขวัญ: เหนือสุดยอดในสยาม ลือนามพระธาตุเจ้าดอยตุง ผดุงวัฒนธรรมล้านนา เปิดมรรคาสู่อินโดจีน แผ่นดินพระเจ้าพรหมมหาราช |
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่สาย |
พิกัด: 20°25′41″N 99°53′1″E / 20.42806°N 99.88361°E / 20.42806; 99.88361 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | เชียงราย |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 285.0 ตร.กม. (110.0 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 128,066 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 449.35 คน/ตร.กม. (1,163.8 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 57130, 57220 (เฉพาะตำบลห้วยไคร้และตำบลบ้านด้าย) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 5709 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เลขที่ 100 ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 57130 |
---|
|
แม่สาย (ไทยถิ่นเหนือ: ; พม่า: မယ်ဆိုင်; ไทใหญ่: မႄႈသၢႆ) เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายและเหนือสุดของประเทศไทย โดยจุดที่เหนือสุดตั้งอยู่ตำบลเกาะช้าง ซึ่งตั้งที่ว่าการที่ตำบลเวียงพางคำ มีด่านชายแดนไทย-พม่าเรียกว่า "ด่านแม่สาย" สามารถผ่านด่านข้ามไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าได้โดยมีแม่น้ำสายและแม่น้ำรวกเป็นพรมแดนที่มีการปักปันเขตแดนกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมาเมื่อปี พ.ศ. 2534
การคมนาคมจากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอแม่สายโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน ตอนเชียงราย-แม่สาย) ระยะทาง 63 กิโลเมตร
ประวัติ
อำเภอแม่สาย
อำเภอแม่สาย แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอแยกจากอำเภอแม่จันเมื่อ พ.ศ. 2481[1]ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2493 [2]
เวียงศรีทวง
อำเภอแม่สายนั้น เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง เวียงศรีทวง เป็นเมืองของพวกลวะ หรือลั๊วะ เป็นเมืองขึ้นเมืองหนึ่งของอาณาจักรโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น (อำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน) สร้างโดยปฐมกษัตริย์ พระนามว่า
พระเจ้าสิงหนวัติราช ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติเมืองเวียงศรีทวง-เวียงพาน-เวียงพานคำ จนถึงเวียงพางคำในปัจจุบัน กล่าวถึงประวัติเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแส่น พอสังเขป
เมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแส่น (เมืองเวียงพัธุสิงหนวัตินคร) นครโยนกไชยบุรีศรีช้างแส่นนั้น เป็นเมืองโบราณตามตำนานดอยตุงกล่าวไว้ว่า นครนี้สร้างขึ้นสมัยก่อนพุทธกาล แต่ก่อนเคยเป็นอาณาจักรสุวรรณโคมคำ แต่โบราณกาล และเปลี่ยนแปลงมาเป็นอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน เหตุที่เรียกชื่ออย่างนี้เพราะว่า สร้างนครขึ้นโดยอนุภาพแห่งพญาธุราคราช และพระเจ้าสิงหนวัติราช ซึ่งตรงกับตำนานสิงหนวัติที่เขียนไว้ว่า
".....นครทั้งมวลตั้งแต่ปฐมมูล สิงหนวัติกุมาร มาแต่เมืองนครราชคฤห์ หลวงไทยเทศ มาตั้งให้เป็นเมืองพันธุสิงหนวัตินคร......ครันต่อมา ก็กลายเป็นเมือง "โยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน... กล่าวตำนานเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน ก็สิ้นห้องหนึ่งแต่เท่านี้ก่อนแล....."
เวียงศรีทวง-เวียงพาน-เวียงพานคำ
จากเวียงศรีทวง-เวียงพาน-เวียงพานคำ สู่เวียงพางคำ ครั้นพระองค์เพียง กษัตริย์เมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน ขึ้นเสวยราชสมบัติศักราชได้ 259 ตัวปีกัดไส้ สวรรคตลงพระองค์พังจึงขึ้นครองเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสนเมื่ออายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีพระขอมดำ เจ้าเมืองอุโมงค์เสลานคร ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโยนกนครฯ เห็นว่าพระองค์พังยังเยาว์ จึงมาตีแล้วขับไล่พระองค์พังออกจากเมืองโยนกนครฯ แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์แทน แล้วขับพระองค์พังไปเป็นแก่บ้าน ตั้งอยู่ที่เวียงศรีทวง ดังตำนานกล่าวว่า
".....พระยาขอมดำตนนั้นก็ยกเอากำลังมาแสนหนึ่ง แล้วก็มาฟื้นลุกชิงเอาเมืองที่นี้ เดือน 5 แรมค่ำหนึ่ง วันอาทิตย์.....พระองค์เจ้ามีใจอันบ่กล้าแข็ง ก็ถวายเมืองให้แก่พระยาขอมดำ.....ครั้นมันได้เมืองแล้ว มันก็ขับพระองค์พัง.....ส่วนพระยาขอมตนนั้นก็เป็นกษัตริย์เสวยเมืองโยนกนคร บุรีศรีช้างแสนที่นั้นแล....."
".....แล้วมันก็ขับพระองค์พังเจ้าไปเป็นแก่บ้าน ตั้งอยู่เวียงลวะศรีทวง ริมหนตะวันตกเฉียงเหนือ ริมแม่น้ำใส (แม่น้ำสาย) ภายตะวันออกเฉียงใต้ธาตุเจ้าถ้ำแก้วที่นั้น....."
สาเหตุที่เรียกว่า เวียงศรีทวง เนื่องจากเป็นเมืองของลวะ ขึ้นอยู่กับเมืองโยนกฯ จึงต้องส่งส่วยให้ปีละ "สี่ตวงหมากพิน" (หมากพิน=ผลมะตูม) ดังตำนานกล่าวว่า
".....เหตุใดแลว่า เวียงศรีทวง นั้นจา...ยังมีขุนลวะผู้หนึ่งเป็นลูกปู่เจ้าลาวจก เป็นแคว้นดอยธุงนั้น (ดอยตุง) ผู้พี่ชื่อลวะกุมโภนั้นมาตั้งอยู่ที่นั้น แล้วส่วยคำแก่พระยาอุชุตราช กษัตริย์เจ้าของเวียงโยนกนครที่นั่นแล ปีละสี่ทวงหมากพินหน่วยน้อยจึงได้ชื่อว่า เวียงศรีทวงด้วยเหตุอันนั้นแล....."
เมืองเวียงพาน พระองค์พังและมเหสี ถูกพระยาขอมดำขับออกจากเมือง มาเป็นแก่บ้านที่เวียงศรีทวง ต้องส่งส่วยให้ปีละสี่ตวงหมากพินอยู่ได้ 1 ปี มเหสีก็ให้กำเนิดบุตร 1 คน คือทุกขิตกุมาร พระองค์พังปกครองเวียงศรีทวง ได้ 3 ปีก็เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น อันเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อเมือง จากเวียงศรีทวงเป็นเวียงพาน กล่าวคือ ยังมีสามเณรชาวเวียงศรีทวงคนหนึ่งเดินทางไปกราบไหว้พระธาตุแล้วไปพักอาศัย อยู่ที่อารามหลังหนึ่งในโยนกนคร ครั้นรุ่งเช้าก็ออกเดินบิณฑบาตรไปถึงคุ้มน้อยของพระยาขอมดำ ก็เข้าไปขอบิณฑบาตร พระยาขอมดำได้ถามบ่าวไพร่ว่า เป็นสามเณรชาวเวียงศรีทวงก็โกรธ ร้องว่า
"ลูกข้าส่วยพลอยเข้ามาคุ้มพระองค์ กูดังลือจา สูอย่าได้เอาข้าวกูใส่บาตรให้มันนะเนอ"
สามเณรน้อยได้ยินคำพระยาขอมดำก็นึกโกรธในใจ ออกจากคุ้มพระยาขอมดำเดินไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขึ้นสู่ดอยกู่แก้ว กราบพระธาตุ (คาดว่าเป็นพระธาตุกู่เต้าในปัจจุบัน) แล้วยกบาตรข้าวถวายแล้วอธิษฐานขอให้ตนตายใน 7 วันข้างหน้า แล้วไปเกิดในท้องของเทวีแห่งผู้เป็นแก่บ้านเวียงศรีทวง พออายุได้ 16 ปี ขอให้ปราบพระยาขอมดำตนนี้ได้ด้วยเทอญ เนื่องจากพระยาขอมดำผู้นี้มิรู้จักคุณของพระรัตนตรัย อธิฐานเสร็จแล้วสามเณรน้ยก็ลงมาตีนดอยกู่แก้ว นั่งอยู่ใต้ต้นไม้โดยไม่กินน้ำกินข้าว 7 วันก็ถึงแก่ความตาย แล้วไปปฏิสนธิในท้องของมเหสีพระองค์พังกำเนิดพระพรหมกุมาร ครั้นมเหสีแห่งพระองค์พัง ตั้งครรภ์ได้ 10 เดือนก็ประสูตได้ลูกชายรูปร่างงดงามคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า พระพรหมกุมาร ดังความว่า
".....ถึงศักราช 283 ตัวปีกาบไส้ เดิน 4 แรม 6 ค่ำ วันอาทิตย์....นางก็ได้ประสูติลูกชายคนหนึ่ง เกิดมามีวรรณเนื้อตนอันหมดจด.....เบิกบายนามกรเอานิมิตรอันงามเหมือนดั่ง พรหมลงมาเกิดนั้น จึงใส่ชื่อว่า พรหมกุมารนั้นแล....."
พระพรหมกุมาร นั้นเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ ก็เป็นผู้ที่สนใจในศาสตราวุธทั้งหลาย ครั้นอายุได้ 13 ปีก็มีบุญวาสนาจับได้ช้างเผือกได้ 1 ตัว ที่แม่น้ำ แต่ช้างเผือกไม่ยอมขึ้นฝั่งจึงให้คนมาบอกพระองค์พังผู้เป็นบิดา พระองค์พังให้หมอดูทำนายทายทัก หมอดูก็ให้เอาทองคำมาตีเป็นพานทองแห่นำหน้าช้าง ช้างจึงจะขึ้นจากน้ำ เมื่อพานทองมาแล้วก็ตีพานทองคำลูกนี้น ช้างก็ขึ้นมาจากน้ำ ช้างตัวนั้นจึงได้ชื่อว่า พานคำ ดังว่า
".....ครั้นไปถึงแล้วก็ตีต่อยยัง พานคำ ลูกนั้น ส่วนว่าช้างเผือกตัวนั้นได้ยินเสียงพานคำแล้วก็ออกจากแม่น้ำของ ด้วยสวัสดีแล.....ช้างตัวนั้นก็ให้นามชื่อว่า ช้างพานคำนั้นแล....."
ครั้นได้ช้างมงคลมาแล้วก็เลี้ยงดูเป็นอย่างดี เครื่องใช้ต่าง ๆ ของช้างต่างทำด้วยทองคำทั้งสิ้น กาลนั้นพระพรหมกุมารได้ส่งคนไปยังโยนกนครฯ เพื่อคอยสดับตรับฟังข่าวร้าย ข่าวดีแห่งพระยาขอมมิได้ขาด ส่วนพระองค์พังก็สั่งให้คนปิดคูเมือง แล้วนำน้ำเข้าคูเมือง โดยจัดทำประตูไว้สำหรับปิด-เปิดน้ำ แล้วก็ให้ชื่อว่าา เวียงพาน.....ครั้งนั้น แก่บ้านศรีทวงตนพ่อก็ให้คนทั้งหลายตึกคูเวียงให้ดีแล้ว ก็แปงน้ำมาใส่ให้เต็มคูเวียง แล้วก็แปงประตูหับไขให้ดีแล้ว ก็ให้ชื่อว่า เวียงพาน แต่นั้นมา
เมืองเวียงพานคำ
เมื่อพระพรหมกุมาร อายุได้ 16 ปี ก็หยุดส่งส่วยแก่พระยาขอมดำ พระยาขอมดำเห็นว่าเวียงศรีทวงหยุดส่งส่วยมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ก็โกรธ จึงรวบรวมลี้พลยกทัพมาปราบ พระหรหมกุมารก็จัดทัพเข้าต่อสู้ โดยเสด็จขึ้นขี่หลังช้างเผือกพานคำ มีหมอควาญถือพานคำตีนำหน้า ยกพลอกกจากเวียงพานคำ ดังตำนานบันทึกไว้ว่า
".....ครั้นได้คนหาญมาแล้วก็ขัดสีชัย อันกล้า มีมือถือธนูกับแล่งปืน... มีหมอควาญขี่พร้อมพระ ถือพานคำตีนำหน้ายกพลออกจาก เวียงพานคำ....."
พระยาขอมดำสู้ไม่ได้จึงหนีกลับเข้าเมืองปิดประตูเมืองทุกแห่ง พระพรหมกุมารได้ตามมาถึงประตูเมือง แล้วไสช้างแทงประตูเมืองทะลุ ขับไล่พระยาขอมออกจากเมืองโยนกนครฯ รวมระยะเวลาที่พระยาขอมดำครองโยนกนครได้ 19 ปี หลังจากนั้นพระพรหมกุมาร ก็ได้อัญเชิญพระองค์พังขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้าง แสน
ส่วนช้างพานคำนั้น ก็ได้หนีออกจากเมืองไปกลายร่างเป็นงูตามเดิม เข้าสู่ดอยอันตั้งอยู่กลางทุ่ง ที่นั้นจึงได้ชื่อว่า "ดอยช้างงู" (คาดว่าเป็นดอยสะโง้ในปัจจุบัน) เมื่อพระองค์พังได้เป็นกษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งให้พระพรหมกุมารเป็นอุปราช แต่พระพรหมกุมารไม่รับ ยกให้ทุกขิตผู้พี่เป็นอุปราชแทน ต่อมาพระองค์พังได้สู่ขอเอานางแก้วสุภา ลูกพระยาเรืองแก้ว เวียงไชยนารายณ์ มาอภิเษกให้กับพระพรหมกุมาร
เมื่อพระพรหมกุมารใด้อภิเษกแล้วก็ขออนุญาตพระองค์พังเสด็จไปตั้งเมืองอยู่ ที่ไชยปราการ (คาดว่าเป็นอ.เวียงชัย ในปัจจุบัน) อยู่ห่างจากเวียงโยนกนครฯ ชั่วระยะเดินทาง 1 วัน ตั้งแต่นั้นมา เวียงโยนกนครฯ เวียงไชยนารายณ์ เวียงพานคำ ก็เป็นเมืองพี่เมืองน้องสืบกันมาดังว่า
".....ลุกแต่เวียงโยนกนครหลวง ไปหาเวียงไชยปราการ นั้นไกลกันคืนทางหนึ่ง และในเวียงลูกนี้คือวา เวียงโยนกนครหลวงหนึ่ง เวียงไชยนารายณ์หนึ่ง เวียงไชยปราการหนึ่ง เวียงบ้านพานคำแคว้นซ้ายหนึ่ง ที่ตั้งอยู่หนกลาง และนาติดกัน พ่อแม่ไก่ไล่ล่าถึงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวแล....."
เมื่อวิเคราะห์ดูจากบันทึกในตำนานสิงหนวัติแล้ว เชื่อได้ว่าเมืองแม่สายในปัจจุบันนี้ แต่เดิมคือ "เมืองเวียงศรีทวง" หรือ "เวียงสี่ตวง" ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า "เวียงพานคำ" ตามขื่อของช้างที่พระพรหมกุมารใช้เป็นพาหนะในการออกสู้รบกับพระยาขอมจนได้ รับชัยชนะ และในปัจจุบันตัวเมืองแม่สาย รวมทั้งอาคารที่ว่าการอำเภอแม่สายนั้น ตั้งอยู่ที่ ต.เวียงพางคำ ซึ่งคาดว่าเพื้ยนมาจาก "เวียงพานคำ" นั่นเอง นอกจากนี้ในพื้นที่หมู่ 3 ต.เวียงพางคำ ยังมีบ้านเวียงพาน และวัดเวียงพาน ตั้งอยู่อีกด้วย อนึ่ง ตัวคูเมืองเดิมนั้นมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไปในเขตชุมชนเมืองแม่สาย และยังคงมีประโยชน์ในการรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากเทือกเขาด้านตะวันตกมิให้ไหล เข้ามาท่วมบริเวณตัวเมืองอีกด้วย ประกอบกับในตำนานยังได้กล่าวย้ำถึงสถานที่ตั้งของเมือง "เวียงสี่ตวง" ว่าอยู่ทิศตะวัตตกเฉียงเหนือของเวียงโยนกนครฯ (อ.เชียงแสนในปัจจุบัน) ริมแม่น้ำใส ซึ่งก็คือแม่น้ำสาย ในปัจจุบันนั่นเอง
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอแม่สายตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
เขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอแม่สายแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออก เป็น 8 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ |
ชื่อตำบล |
ตัวเมือง |
อักษรโรมัน |
จำนวนหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร[3]
|
1. |
แม่สาย |
|
Mae Sai |
12 |
12,261 |
21,836
|
2. |
ห้วยไคร้ |
|
Huai Khrai |
11 |
3,128 |
7,333
|
3. |
เกาะช้าง |
|
Ko Chang |
13 |
3,951 |
9,601
|
4. |
โป่งผา |
|
Pong Pha |
12 |
4,875 |
8,533
|
5. |
ศรีเมืองชุม |
|
Si Mueang Chum |
9 |
2,180 |
4,893
|
6. |
เวียงพางคำ |
|
Wiang Phang Kham |
10 |
10,960 |
20,748
|
7. |
บ้านด้าย |
|
Ban Dai |
8 |
1,630 |
3,875
|
8. |
โป่งงาม |
|
Pong Ngam |
12 |
4,015 |
8,447
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอแม่สายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ระดับ ได้แก่ เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 3 แห่ง กับองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง คือ
- เทศบาลเมืองแม่สาย[4] ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่สายและตำบลเวียงพางคำ
- เทศบาลตำบลห้วยไคร้ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยไคร้
- เทศบาลตำบลเวียงพางคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงพางคำ (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่สาย)
- เทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาย (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่สาย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไคร้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไคร้ (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยไคร้)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งผาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเมืองชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีเมืองชุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านด้ายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งงามทั้งตำบล
สถานศึกษา
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดพระธาตุดอยตุง
- วัดพระธาตุดอยเวา
- ด่านพรมแดนแม่สาย
- ตลาดดอยเวา-สายลมจอย
- ถ้ำปุ่มถ้ำปลา
- ดอยนางนอน
- วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
- วัดหิรัญญาวาส
สถานที่พัก
เหตุการณ์สำคัญ
- วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เจ้าหน้าที่ทหารทำการสังหารคนร้ายลักลอบนำเข้ายาเสพติด มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ
- วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่ทหารทำการสังหารคนร้ายลักลอบนำเข้ายาเสพติด มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ เป็นเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
- วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง
การคมนาคม
รถโดยสารประจำทาง
- สาย 957 กรุงเทพฯ-แม่สาย (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.จำกัด สมบัติทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ เชิดชัยทัวร์
- สาย 622 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถได้แก่ สุโขทัยธานีวินทัวร์ จำกัด
- สาย 660 ระยอง-แม่สาย (ป.1 ป.2) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถได้แก่ นครชัยแอร์ จำกัด
- สาย 660 ระยอง-แม่สาย (VIP ด่วนพิเศษ) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถได้แก่ นครชัยแอร์ จำกัด
- สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถได้แก่ นครชัยทัวร์ จำกัด
- สาย 619 เชียงใหม่-แม่สาย (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-เวียงป่าเป้า-แม่สรวย-แม่ลาว-เชียงราย-แม่จัน-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
- สาย 672 แม่สาย-แม่สอด (อ.แม่สาย-อ.แม่จัน-เชียงราย-อ.แม่ลาว-อ.เวียงป่าเป้า-เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง-อ.เถิน-ตาก-อ.แม่สอด) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
- สาย 673 แม่สาย-แม่สอด (อ.แม่สาย-อ.แม่จัน-เชียงราย-พะเยา-อ.งาว-ลำปาง-อ.เถิน-ตาก-อ.แม่สอด) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
- สาย 675 แม่สาย-ฝาง (อ.แม่สาย-อ.แม่จัน-ดอยแม่สลอง-ท่าตอน-อ.แม่อาย-อ.ฝาง (เชียงใหม่) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
- สาย 1241 เชียงราย-แม่สาย (เชียงราย-อ.แม่จัน-อ.แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
ระเบียงภาพ
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
- วงศาโรจน์, อนุชิต (2538). วิวัฒนาการของเขตแดนและการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ชายแดนไทย-พม่า:กรณีศึกษาบริเวณแม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา |
- สนามกีฬา
- สโมสรฟุตบอล
- สโมสรวอลเลย์บอลคอสโม เชียงราย
- กีฬาแห่งชาติ
|
---|
การเมือง | |
---|
เหตุการณ์ | |
---|
|
---|
|