ฉบับร่าง:เทศบาลตำบลท่าสายลวด

เทศบาลตำบลท่าสายลวด
ด่านพรมแดนแม่สอดและสะพานมิตรภาพไทย-พม่า
ด่านพรมแดนแม่สอดและสะพานมิตรภาพไทย-พม่า
ทต.ท่าสายลวดตั้งอยู่ในจังหวัดตาก
ทต.ท่าสายลวด
ทต.ท่าสายลวด
พิกัด: 16°42′36.7″N 98°32′21.7″E / 16.710194°N 98.539361°E / 16.710194; 98.539361
ประเทศ ไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
จัดตั้ง • 3 มิถุนายน 2529 (สุขาภิบาลท่าสายลวด)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.ท่าสายลวด)
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.10 ตร.กม. (3.90 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนมกราคม 2567)[1]
 • ทั้งหมด24,343 คน
 • ความหนาแน่น2,410.19 คน/ตร.กม. (6,242.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05630801
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 732 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
เว็บไซต์www.thasailoud.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าสายลวด เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของหมู่ที่ 2 รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 และ 5–6 ของตำบลท่าสายลวด ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลท่าสายลวดที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2529[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 เขตเทศบาลมีประชากร 24,343 คน[4] เป็นเทศบาลตำบลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดตาก

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณชายแดนสหภาพพม่า อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดตากประมาณ 90 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 502 กิโลเมตรโดยเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 จนถึงทางแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 มาถึงเทศบาลตำบลท่าสายลวดระยะทาง 84 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 10.10 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 6,312.5 ไร่ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก (Special Border Economic Zone) เป็นที่ตั้งของด่านพรมแดนแม่สอด ด่านศุลกากรแม่สอด และสะพานมิตรภาพไทย-พม่า เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีของสหภาพพม่า มีโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่สนับสนุนการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า มีสนามบินพาณิชย์ คือ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความโดดเด่นเฉพาะ ตัว ตลอดจนเป็นประตูสู่อันดามัน และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือ พม่า จีน และสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าขายเป็นประตูสู่ยุโรปได้ ประกอบกับมีมูลค่าการค้าขายชายแดน ปีละประมาณ 40,000 ล้านบาท[5]

และมีทางรถไฟสายแม่สอด–ตาก–กำแพงเพชร-นครสวรรค์เป็นโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เพื่อให้แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมตะวันตก–ตะวันออก (East-West Corridor Upper) จากแม่สอด-นครพนมมีโครงข่ายที่สมบูรณ์ โดยมีสถานีรถไฟด่านแม่สอด ในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด จุดจอดขนถ่ายตู้สินค้า เป็นสถานีขนาดกลางและเป็นสถานีปลายทาง[6]

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (95 ง): 2406–2407. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2529
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2566. สืบค้น 24 มกราคม 2566.
  5. ศักยภาพและความพร้อมของจังหวัดตาก ในการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
  6. งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!