งูเขียวพระอินทร์

งูเขียวพระอินทร์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: งู
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: งูบิน

(Shaw, 1802)
สปีชีส์: Chrysopelea ornata
ชื่อทวินาม
Chrysopelea ornata
(Shaw, 1802)

งูเขียวพระอินทร์ : Golden tree snake, Ornated tree snake (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysopelea ornata) เป็นงูลักษณะลำตัวเรียวยาว ปราดเปรียว เกล็ดสีเขียวแกมเหลืองลายดำ สามารถเลื้อยไต่ไปบนกิ่งไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูพิษอ่อนไม่มีผลกับมนุษย์ที่สามารถพบได้ทั่วไป ตามบ้านเรือน จึงได้รับสมญานามว่า "งูสามัญประจำบ้าน"[2]

ลักษณะทั่วไป

งูเขียวพระอินทร์เป็นงูที่มักพบอาศัยบนต้นไม้ หัวมีลักษณะแบน รูปทรงรี ลำตัวสีเขียวอ่อน มีลายดำตลอดตัว หัวมีลายมากจนดูคล้ายกับมีหัวสีดำ ใต้คางสีขาว ใต้ท้องสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ๆ ใต้หางมีลายดำเป็นจุด ๆ สามารถเคลื่อนที่ได้ว่องไว

ถิ่นอาศัย

พบในบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 550 เมตร ในประเทศไทย จีน อินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

ชนิดย่อย

ปัจจุบัน มีงูเขียวพระอินทร์ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ 3 ชนิด:

  • C. o. ornata (Shaw, 1802) – อินเดียตะวันตกเฉียงใต้
  • C. o. ornatissima Werner, 1925 – อินเดียเหนือและตะวันออก, เนปาล, บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • C. o. sinhaleya Deraniyagala, 1945 – ศรีลังกา[3]

พฤติกรรม

งูเขียวพระอินทร์ชอบอาศัยอยู่ตามซอกมุมบ้าน ซุ้มไม้ ออกหากินในเวลากลางวัน กิน กิ้งก่า จิ้งจก ตุ๊กแก ลูกนก หนู งูที่เล็กกว่าบางชนิด และแมลงต่าง ๆ เรื่องเล่าที่มีมานานว่างูเขียวพระอินทร์กินตับตุ๊กแกซึ่งไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่แท้จริงแล้วงูเขียวพระอินทร์พยายามจะกัดรัดตุ๊กแก แล้วกินเข้าไปทั้งตัว ไม่ใช่ล้วงเข้าไปกินตับตุ๊กแก หรือพยายามแย่งอาหารตุ๊กแกแต่อย่างใด ถ้าตุ๊กแกตัวไม่โตนักก็จะกลืนกินตุ๊กแกทั้งตัว

งูเขียวพระอินทร์ ยังมีความสามารถในการเลื้อยขึ้นต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือตามรอยขรุขระตามผนังปูน รอยแตกตามกำแพงได้ดี และเมื่อหลบหนีศัตรูจากบนต้นไม้ หรือต้องการย้ายที่จากต้นไม้หนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งอาจมีพฤติกรรมทิ้งตัว และร่อนได้คล้ายกับพฤติกรรมของ งูเขียวร่อน หรือ งูเขียวดอกหมาก Paradise Tree Snake Chrysopelea paradisi

งูเขียวพระอินทร์สืบพันธุ์โดยการออกลูกเป็นไข่ในโพรงไม้ ในฤดูผสมพันธุ์ อาจพบพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นกลุ่ม โดยมีตัวเมีย 1 ตัว กับตัวผู้หลายตัวในบริเวณเดียวกัน ออกไข่ครั้งละ 6-20 ฟอง และลูกงูแรกเกิด จะมีความยาวประมาตร 11-15 เซนติเมตร

อ้างอิง

  1. Nguyen, T.Q.; Thy, N.; Chan-Ard, T.; Srinivasulu, C.; Srinivasulu, B.; Mohapatra, P.; Shankar, G.; Agarwal, I.; Kulkarni, N.U.; Suraj, M. (2021). "Chrysopelea ornata". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T172609A1351413. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-3.RLTS.T172609A1351413.en. สืบค้นเมื่อ 30 October 2022.
  2. สถานเสาวภา, สภากาชาดไทย, งูไม่มีพิษในประเทศไทยที่สามารถพบได้บ่อยครั้ง เก็บถาวร 2014-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Chrysopelea ornata (Shaw, 1802) | COL".

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!