คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University |
งูพันคบเพลิงประทับตราอักษร V ด้านหลังมีช้างชูคบเพลิง |
สถาปนา | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 (30 ปี) |
---|
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
---|
คณบดี | ศาสตราจารย์ กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์ |
---|
ที่อยู่ | 155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 |
---|
สี | สีฟ้าหม่น |
---|
เว็บไซต์ | www.vet.cmu.ac.th |
---|
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Veterinary Medicine, ChiangMai university) เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ลำดับที่ 3 ของประเทศไทย จัดเป็นคณะในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิกการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งคณะอย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์สนองตอบความต้องการในเขตภาคเหนือและภูมิภาค
ประวัติ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีที่ตั้งอยู่บริเวณวิทยาเขตดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นองค์ประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นทางการ
การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยหน่วยงาน 8 สาขาวิชา (เทียบเท่าภาควิชา) และสถานบริการสุขภาพสัตว์ รองรับการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและงานบริการทางวิชาการ นอกจานั้น ยังได้จัดตั้งสถานสัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิกเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยทางด้านสัตวแพทย์สาธารณสุขของภูมิภาค
คณะได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2539 เทียบได้กับสัตวแพทย์รุ่นที่ 60 ในประเทศไทย (ในระบบการนับรุ่นจะอนุโลมนับรุ่นในระบบเดียวกันในทุกคณะสัตวแพทยศาสตร์ ของประเทศไทย) และเพิ่งจัดงานครบรอง 12 ปีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[1]
รายนามคณบดี
รายนามคณบดีของคณะสัตวแพทยศาสตร์[2] มีดังต่อไปนี้
ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
รายนามคณบดี
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เทอด เทศประทีป
|
พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2545
|
2. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สุวิชัย โรจนเสถียร
|
พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
|
3. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เลิศรัก ศรีกิจการ
|
พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557
|
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ขวัญชาย เครือสุคนธ์
|
พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2565
|
5. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์
|
พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
|
พื้นที่คณะ
- วิทยาเขตดอยคำ เป็นที่ทำการของคณะ ประกอบไปด้วย
- อาคารเรียน ประกอบด้วยอาคารบริหาร อาคารเรียนและปฏิบัติการ ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ทำการสาขาวิชา รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสถานสัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิก
- อาคารสัตว์ทดลอง ประกอบด้วยห้องเลี้ยงสัตว์ทดลองและห้องปฏิบัติการศัลยศาสตร์
- อาคารโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ ประกอบด้วยตัวอาคารที่ทำการและโรงเรือนสัตว์ป่วย
- อาคารหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ เป็นที่ทำการของหน่วยชันสูตรโรคสัตว์และห้องปฏิบัติการวิจัยโครงการไข้หวัดสัตว์ปีก
- อาคารศูนย์ฝึกทางสัตวแพทย์
- อาคารศูนย์การเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาพทางสัตวแพทย์ภาคเหนือ(NOVEL CMU)
- ภายในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อาคารโรงพยาบาลสัตว์เล็ก เป็นที่ทำการของโรงพยาบาลสัตว์เล็กและมีหออภิบาลสัตว์ป่วย
- เขตการศึกษาลำพูน
- เขตกิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
- อาคารโรงพยาบาลสัตว์ท้องถิ่น เป็นที่ทำการและที่ตั้งของโรงพยาบาลสัตว์ท้องถิ่น
ภาควิชาในสังกัด
- ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า (Department of Companion Animal and Wildlife Clinic) รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแบบบูรณาการคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ประกอบด้วย
- คลินิกสัตว์เล็ก มีภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สุขภาพสัตว์ในสุนัขและแมว รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- คลินิกม้า มีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับม้า ทั้งทางด้านพรีคลินิกศาสตร์ และทางคลินิกศาสตร์
- คลินิกช้างและสัตว์ป่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพช้าง สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้องโดยดำเนินการด้านการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาทั้งใน และ ต่างประเทศ มีการดำเนินงานด้านการวิจัยที่ตอบสนองต่อแผนการพัฒนาประเทศ และการให้บริการทางวิชาการ
- ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค (Department of Food animal clinic) รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการแบบบูรณาการด้านสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นสัตว์บริโภค อาทิ สุกร (Swine clinic) สัตว์ปีก (Avian clinic) และสัตว์น้ำ รวมทั้งปลาสวยงาม (Aquatic animal clinic) แบ่งส่วนงานออกเป็นดังนี้
- คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอนเรื่องศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง
- คลินิกสุกร ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ สุกร
- คลินิกสัตว์น้ำ ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ
- คลินิกสัตว์ปีก ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ปีก
- ภาควิชาชีวศาตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข (Department of Veterinary Biosciences and Veterinary public health) แบ่งส่วนงานออกเป็นดังนี้
- หน่วยสัตวแพทย์สาธารณสุข มีการจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำความรู้ความสามารถ และทักษะของวิชาชีพสัตวแพทย์มาประยุกต์ใช้ในการคุ้มครองสุขภาพ และส่งเสริมอนามัยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonosis) และ ด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
- หน่วยพรีคลินิกทางสัตวแพทย์ ที่มีภารกิจการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานโครงสร้างทางกาย วิภาคศาสตร์, จุลกายวิภาคศาสตร์ และสรีระวิทยาของสัตว์ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
- หน่วยพาราคลินิกทางสัตวแพทย์ ที่ดำเนินการตามภารกิจของคณะและพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการโดยเฉพาะทางด้านพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ ปรสิตวิทยา และจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ รวมถึงด้านอื่น ๆที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
ศูนย์ฝึกนักศึกษาและการบริการทางวิชาการ
ศูนย์บริการสุขภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่
- โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ตั้งอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณคณะ
- โรงพยาบาลสัตว์ท้องถิ่น ตั้งอยู่ในเขตกิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
- หน่วยชันสูตรโรคสัตว์ ตั้งอยู่ในบริเวณคณะ
หลักสูตร
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
ระดับปริญญาตรี
|
ระดับปริญญาโท
|
ระดับปริญญาเอก
|
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
|
หลักสูตรสัตวแพทย์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิชาวิทยาศาตร์สัตวแพทย์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิชาวิทยาศาตร์สัตวแพทย์
|
โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ
- ระดับมหาวิทยาลัย 2 โครงการ
- Nippon Veterinary and Life Science University, Japan
- Azabu University, Japan
- ระดับคณะ 9 โครงการ
- Faculty of Veterinary Medicine, Freie Universitaet Berlin, Germany
- College of Veterinary Medicine, Michigan State University, U.S.A.
- The Institute for Zoo and Wildlife Research Berlin, Germany
- Washington National Primate Research Center, U.S.A. and Faculty of Science, Chiang Mai University
- National Zoo Park, Smithsonian Institute, U.S.A.
- Faculty of Veterinary Medicine, Utrecht University, the Netherlands
- Family Animal Hospital, Japan
- College of Veterinary Medicine, National Chung Hsing University, Taiwan
- Faculty of Agriculture, University of Bonn, Germany
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
เกี่ยวกับ | | |
---|
การศึกษา | สุขภาพ | |
---|
เทคโนโลยี | |
---|
สังคม | |
---|
บัณฑิตศึกษา | |
---|
|
---|
วิจัยและพัฒนา | |
---|
สถานพยาบาล | โรงพยาบาล | |
---|
ศูนย์การแพทย์ | |
---|
โรงพยาบาลสัตว์ | |
---|
|
---|
คณะบุคคล | |
---|
สถาบันสมทบ | |
---|
หน่วยงานอื่น ๆ | |
---|
|