การเป็นพิษจากสารหนู เป็นภาวะที่พบสารหนู ในร่างกายสูงกว่าปกติ สารหนูจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์กว่า 200 ชนิดซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึม และการสังเคราะห์-ฟื้นฟูดีเอ็นเอ [ 4] หากได้รับในชั่วเวลาอันสั้นจะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง และมีอาการผิดปกติทางสมอง ในขณะที่ระยะยาวจะทำให้ผิวหนังหนาและเข้ม ปวดท้อง ท้องร่วง เหน็บชา มีอาการผิดปกติทางหัวใจ และมะเร็ง [ 1] สาเหตุทั่วไปของการได้รับสารหนูในปริมาณมากคือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อน (ระดับแนะนำของสารหนูในน้ำดื่มคือต่ำกว่า 10–50 µg/L[ 1] ) การทานยาแผนโบราณ การสูบบุหรี่และการใช้ยาฆ่าแมลง[ 1] [ 3] [ 5] การวินิจฉัยจะใช้การตรวจปัสสาวะ เลือดและเส้นผม
การรักษาพิษจากสารหนูจะใช้กรดไดเมอร์แคปโตซักซินิก และกรด 2,3-ไดเมอร์แคปโต-1-โพรเพนซัลโฟนิก [ 6] รวมถึงการชำระเลือดผ่านเยื่อ [ 7] การป้องกันทั่วไปคือการดื่มน้ำที่ไม่ปนเปื้อนสารหนู ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประชาชนกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกมีระดับสารหนูในร่างกายสูงกว่าปกติ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสารหนูมากที่สุดคือบังคลาเทศ และเบงกอลตะวันตก [ 3] มนุษย์ทราบถึงพิษสารหนูมานานกว่าพันปีแล้ว ตามที่มีบันทึกใน Ebers Papyrus ของอียิปต์เมื่อ 1500 ปีก่อนคริสตกาล[ 8]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Ratnaike, R N (1 July 2003). "Acute and chronic arsenic toxicity" . Postgraduate Medical Journal . 79 (933): 391–396. doi :10.1136/pmj.79.933.391 . PMC 1742758 . PMID 12897217 .
↑ Andersen, Ole; Aaseth, Jan (December 2016). "A review of pitfalls and progress in chelation treatment of metal poisonings". Journal of Trace Elements in Medicine and Biology . 38 : 74–80. doi :10.1016/j.jtemb.2016.03.013 . hdl :11250/2430866 . PMID 27150911 .
↑ 3.0 3.1 3.2 Naujokas, Marisa F.; Anderson, Beth; Ahsan, Habibul; Aposhian, H. Vasken; Graziano, Joseph H.; Thompson, Claudia; Suk, William A. (3 January 2013). "The Broad Scope of Health Effects from Chronic Arsenic Exposure: Update on a Worldwide Public Health Problem" . Environmental Health Perspectives . 121 (3): 295–302. doi :10.1289/ehp.1205875 . PMC 3621177 . PMID 23458756 .
↑ "Acute and chronic arsenic toxicity" . Postgraduate Medical Journal . สืบค้นเมื่อ December 31, 2018 .
↑ "Arsenic Poisoning" . Healthline . สืบค้นเมื่อ December 31, 2018 .
↑ "Chapter 4: Diagnosis and treatment of chronic arsenic poisoning" (PDF) . World Health Organization . สืบค้นเมื่อ December 31, 2018 .
↑ Vahidnia, A.; van der Voet, G.B.; de Wolff, F.A. (1 October 2007). "Arsenic neurotoxicity A review". Human & Experimental Toxicology . 26 (10): 823–832. doi :10.1177/0960327107084539 . PMID 18025055 .
↑ Howie, Frank (2013). Care and Conservation of Geological Material (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 135. ISBN 9781135385217 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-10.