'การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (อังกฤษ: Library of Congress Classification, ย่อ: LCC) เป็นระบบการจัดหมู่ของห้องสมุดที่หอสมุดรัฐสภาพัฒนาขึ้น หอสมุดวิจัยและวิชาการส่วนมากในสหรัฐและอีกหลายประเทศใช้ระบบดังกล่าว ในประเทศเหล่านี้ ห้องสมุดสาธารณะส่วนมากและห้องสมุดวิชาการขนาดเล็กยังใช้การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ที่เก่ากว่า[1]
เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Herbert Putnum) ประดิษฐ์การจำแนกนี้ใน ค.ศ. 1897 ไม่นานก่อนเขาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์รัฐสภา ด้วยคำแนะนำจากชาลส์ แอมมี คัตเตอร์ (Charles Ammi Cutter) ได้รับอิทธิพลจากการจำแนกขยายคัตเตอร์ (Cutter Expansive Classification) ของเขา, ระบบทศนิยมดิวอี้และระบบการจัดหมู่พัทนัม (Putnam Classification System)[2][3] ระบบนี้ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อความมุ่งหมายและการเก็บรวบรวมของหอสมุดรัฐสภาเพื่อแทนระบบที่ตั้งถาวรที่ทอมัส เจฟเฟอร์สันพัฒนา เมื่อพัทนัมออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1939 ทุกหมวดใหญ่ยกเว้น K (กฎหมาย) และบางส่วนของ B (ปรัชญาและศาสนา) ได้รับพัฒนาดีแล้ว
LCC ถูกวิจารณ์ว่าขาดรากฐานทางทฤษฎีที่สมเหตุสมผล การตัดสินใจจัดหมู่หลายอย่างมาจากความต้องการทางปฏิบัติของหอสมุดมิใช่การจัดหมู่แบบญาณวิทยา แม้ระบบนี้แบ่งเรื่องเป็นประเภทใหญ่ ๆ แต่มีสภาพแท้จริงแล้วแจงนับ คือ ระบบนี้ชี้นำไปยังหนังสือที่มีอยู่ในการเก็บรวบรวมของห้องสมุดหนึ่ง ๆ มิใช่การจัดหมู่ของโลก
หมวดหมู่
พยัญชนะ |
เขตเรื่อง
|
A |
งานทั่วไป
|
B |
ปรัชญา จิตวิทยา และศาสนา
|
C |
ศาสตร์สนับสนุนของประวัติศาสตร์
|
D |
ประวัติศาสตร์ทั่วไปและโลกเก่า
|
E |
ประวัติศาสตร์อเมริกา
|
F |
ประวัติศาสตร์สหรัฐและบริติช ดัตช์ ฝรั่งเศส และลาตินอเมริกา
|
G |
ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และนันทนาการ
|
H |
สังคมศาสตร์
|
J |
รัฐศาสตร์
|
K |
กฎหมาย
|
L |
การศึกษา
|
M |
ดนตรี
|
N |
ประณีตศิลป์
|
P |
ภาษาและวรรณกรรม
|
Q |
วิทยาศาสตร์
|
R |
แพทยศาสตร์
|
S |
เกษตรกรรม
|
T |
เทคโนโลยี
|
U |
วิทยาการทหาร
|
V |
นาวิกศาสตร์
|
Z |
บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ และทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป
|
หมวดหมู่ A – งานทั่วไป
หมวดหมู่ B – ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา
หมวดหมู่ C – ศาสตร์สนับสนุนของประวัติศาสตร์ (ทั่วไป)
- หมวดหมู่ย่อย CB – ประวัติศาสตร์อารยธรรม
- หมวดหมู่ย่อย CC – โบราณคดี
- หมวดหมู่ย่อย CD – การทูต จดหมายเหตุ ตรา
- หมวดหมู่ย่อย CE – ลำดับเวลาเทคนิค ปฏิทิน
- หมวดหมู่ย่อย CJ – วิชาสะสมเงิน
- หมวดหมู่ย่อย CN – รอยจารึก การศึกษารอยจารึกโบราณ
- หมวดหมู่ย่อย CR – มุทราศาสตร์
- หมวดหมู่ย่อย CS – พงศาวลีวิทยา
- หมวดหมู่ย่อย CT – ชีวประวัติ
อ้างอิง