สุนทรียศาสตร์ (อังกฤษ : aesthetics ) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ที่ว่าด้วยธรรมชาติของความงาม และรสนิยม รวมทั้งปรัชญาศิลปะ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาและสาขาหนึ่งของสุนทรียศาสตร์) สุนทรียศาสตร์วิเคราะห์คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึก ส่วนตัวของบุคคลหนึ่ง หรือบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าปรัชญาสาขานี้เป็นการตัดสิน ความรู้สึก และรสนิยม[ 1]
สุนทรียศาสตร์ครอบคลุมทั้งแหล่งที่มาธรรมชาติและประดิษฐ์ของประสบการณ์และการตัดสินเชิงสุนทรียะ โดยพิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้นในจิตใจของเราเมื่อเรามีส่วนร่วมกับวัตถุหรือสภาพแวดล้อมสุนทรียะ เช่น การดูงานทัศนศิลป์ การฟังเพลง การอ่านกวีนิพนธ์ หรือการสำรวจธรรมชาติ เป็นต้น ปรัชญาศิลปะศึกษาว่าศิลปินจินตนาการ สร้างสรรค์ และแสดงผลงานศิลปะได้อย่างไร และผู้คนใช้ เพลิดเพลิน และวิจารณ์ศิลปะของศิลปินเหล่านั้นอย่างไร ปรัชญาศิลปะยังศึกษาความรู้สึกทั่วไปของบุคคลหนึ่งที่มีต่อศิลปะ ทำไมพวกเขาจึงชอบผลงานกลุ่มหนึ่ง และไม่ชอบผลงานอื่น และศิลปะสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์หรือแม้กระทั่งความเชื่อของเราได้อย่างไร[ 2] ทั้งสุนทรียศาสตร์ทั่วไปและปรัชญาศิลปะถามคำถามโดยเฉพาะจำพวก อะไรคือศิลปะ ? อะไรคืองาน ศิลปะ? และอะไรทำให้ศิลปะดี ?
นักวิชาการในสาขาได้นิยามสุนทรียศาสตร์ว่าเป็น "การสะท้อนเชิงวิจารณ์ต่อศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ "[ 3] [ 4] ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ คำว่า "aesthetics" ยังสามารถหมายถึงหลักการจำนวนหนึ่งภายใต้ความเคลื่อนไหวและทฤษฎีทางศิลปะที่เฉพาะเจาะจง เช่น บุคคลหนึ่งอาจกล่าวถึง "Cubist aesthetics"[ 5]
รากศัพท์
คำว่า "สุนทรียศาสตร์" มาจากการสมาสระหว่างคำว่า สุนทรียะ (เกี่ยวกับความนิยม ความงาม) กับศาสตร์ (ระบบวิชาความรู้)
ประวัติ
บรรดานักคิดทั้งหลายได้ครุ่นคิดถึงประเด็นเรื่องความงามและศิลปะมานานนับพัน ๆ ปีแล้ว แต่ประเด็นดังกล่าวเพิ่งถูกแยกเป็นหลักปรัชญาอิสระ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้โดยกลุ่มนักปรัชญาชาวเยอรมัน ก่อนหน้านี้นักคิดนักเขียนจะมองประเด็นดังกล่าวรวมกับประเด็นหลักอื่น ๆ เช่น จริยศาสตร์ ในหลักปรัชญาตะวันตก และเรื่องศาสนา ในหลักปรัชญาตะวันออก
สุนทรียศาสตร์กับปรัชญาศิลปะ
การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะ ความเป็นสากล และจริยศาสตร์
การวิพากษ์แบบใหม่และการใช้เหตุผลผิดพลาดแบบเจตนา
รูปแบบอนุพันธ์ทางสุนทรียศาสตร์
ข้อวิจารณ์
อ้างอิง
↑ Zangwill, Nick. "Aesthetic Judgment ", Stanford Encyclopedia of Philosophy , 02-28-2003/10-22-2007. Retrieved 07-24-2008.
↑ Thomas Munro, "Aesthetics", The World Book Encyclopedia, Vol. 1, ed. A. Richard Harmet, et al., (Chicago: Merchandise Mart Plaza, 1986), p. 80
↑ Kelly (1998) p. ix
↑ Riedel, Tom (Fall 1999). "Review of Encyclopedia of Aesthetics 4 vol. Michael Kelly". Art Documentation: Journal of the Art Libraries Society of North America . 18 (2): 48. doi :10.1086/adx.18.2.27949030 .
↑ "aesthetic – Definition of aesthetic in English by Oxford Dictionaries" . Oxford Dictionaries - English . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-09-01. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017 .