กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ (อักษรย่อ: กทบ.กร.;[1] อังกฤษ: Mine Squadron, Royal Thai Fleet) เป็นกองเรือที่มีบทบาทสำคัญในการสงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือไทย[2][9][10] พลเรือตรี[11] วิชชุ ดำรง[12]รองผู้บัญชาการได้แก่ นาวาเอก ฉัตรเพชร กาเมือง และ นาวาเอก วชิร สีตะจันทร์
ประวัติ
ปี พ.ศ. 2446 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารเรือได้กำหนดให้มี "กองทุ่นระเบิด"[1][2]
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำสหรัฐได้เข้ามาวางทุ่นระเบิดบริเวณเกาะริ้น, เกาะคราม และเกาะสีชัง ส่งผลให้เรือซิดนีย์มารูของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยในขณะนั้น ได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมถึงเรือสินค้าและเรือประมงไม่กล้าออกทะเล[1][2][3]
กองทัพเรือไทยจึงลงคำสั่งให้เรือหลวงจวง (ลำเก่า) กับเรือประมงจำนวนหนึ่งเป็นหมู่เรือกวาดทุ่นระเบิด โดยออกปฏิบัติการวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 นับเป็นการกวาดทุ่นระเบิดครั้งแรก ที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงได้มีการถือเอาวันที่ 22 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด[1][2][3]
ต่อมา เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้เข้ามาวางทุ่นระเบิดในแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกองทัพเรือไทยจึงได้ลงคำสั่งจัดตั้งกองกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2487[1]
ครั้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ชื่อ "กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ" ได้ปรากฏครั้งแรกเมื่อย้ายกองเรือจากกรุงเทพมหานคร ไปรวมอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[1][2]
การฝึก
การฝึกสำคัญ อาทิ การฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล (อังกฤษ: Cooperation Afloat Readiness and Training; อักษรย่อ: CARAT) และการฝึกผสมต่อต้านทุ่นระเบิดภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (อังกฤษ: Western Pacific Mine Countermeasure Exercise; อักษรย่อ: WP MCMEX) ที่กองเรือทุ่นระเบิดได้จัดหมู่เรือ เพื่อร่วมฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์[1][13]
ในปี พ.ศ. 2562 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ได้ทำการฝึกวางทุ่นระเบิดทอดประจำที่ ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน เอ็มไอ 9 (Mi9) จำนวน 2 ลูก นับเป็นครั้งแรกของกองทัพเรือที่จุดระเบิดทุ่นระเบิดจริงในทะเลฝั่งอันดามัน โดยเป็นทุ่นระเบิดที่กองทัพเรือผลิตใช้เอง[14]
กิจกรรมเพื่อสังคม
เมื่อครั้งอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองเรือทุ่นระเบิดได้ส่งกำลังเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[1] นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ และการประปานครหลวง ได้ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 450 ต้น[15]
รางวัลที่ได้รับ
- พ.ศ. 2556 : โล่ประกาศเกียรติคุณ ประเภทบุคคลดีเด่น ด้านการป้องกันยาเสพติด ประจำปี 2556 จากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[16]
- พ.ศ. 2560 : เรือหลวงลาดหญ้า ได้รับรางวัลเรือพร้อมรบสูงสุด ประจำปี 2560 สาขาสงครามทุ่นระเบิด[17]
- พ.ศ. 2560 : รางวัลดีเด่น ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านยุทโธปกรณ์ – จากทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน ในงานนาวีวิจัย 2017[18][19]
ยุทโธปกรณ์
เรือในปัจจุบัน
เรือในอดีต
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น