ไมโครซอฟท์ บิง (อังกฤษ: Microsoft Bing) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า บิง (อังกฤษ: Bing) เป็นบริการเสิร์ชเอนจินโดยมีไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ บริการนี้มีต้นกำเนิดมาจากเอ็มเอสเอ็น เสิร์ช วินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช และไลฟ์ เสิร์ช ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินก่อนหน้าโดยไมโครซอฟท์ บิงให้บริการการค้นหาที่หลากหลายรวมถึง เว็บไซต์ วิดีโอ รูปภาพ ผลิตภัณฑ์ และแผนที่ บิงได้รับการพัฒนาโดยใช้เอเอสพีดอตเน็ต (ASP.NET)
ประวัติ
บิงถูกสร้างมาทดแทนไลฟ์ เสิร์ช ซึ่งสร้างโดยไมโครซอฟท์เช่นเดียวกัน บิงได้รับการเปิดตัวโดยสตีฟ บอลเมอร์ซีอีโอในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2009 ในการประชุมทุกสิ่งเป็นดิจิทัลในแซนดีเอโก แคลิฟอร์เนีย เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 บิงมีคุณลักษณะใหม่ที่โดดเด่นในเวลานั้นรวมถึงมีรายการข้อเสนอแนะในการค้นหาในขณะที่ป้อนแบบสอบถามและรายการการค้นหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกเรียกว่า "สำรวจบานหน้าต่าง" (Explore pane) เป็นเทคโนโลยีทางอรรถศาสตร์จากพาวเวอร์ เซ็ท[2] ซึ่งไมโครซอฟท์ได้รับมาในปี 2008[3]
ในเดือนกรกฎาคม 2009 ไมโครซอฟท์และยาฮู! ประกาศข้อตกลงที่ยาฮู! เสิร์ชจะถูกแทนที่ด้วยเอนจินของบิงแต่ยังคงรักษาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบเดิมไว้[4] ซึ่งจะเสร็จสิ้นปี 2012[5]
ในเดือนตุลาคม 2011 ไมโครซอฟท์ ระบุว่าพวกเขากำลังออกแบบการค้นหาแบบใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลการค้นหาที่รวดเร็วและเกี่ยวข้องมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ เทคโนโลยีการให้บริการดัชนีใหม่นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เสือ" (Tiger) เทคโนโลยีการแสดงดัชนีใหม่นี้ได้ถูกรวมเข้ากับบิงทั่วโลกตั้งแต่เดือนสิงหาคมในปีนั้น[6] ในเดือนพฤษภาคม 2012 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศออกแบบเสิร์ชเอนจินใหม่อีกครั้งที่มีชื่อว่า "Sidebar" ซึ่งเป็นฟีเจอร์ค้นหาเครือข่ายสังคมของผู้ใช้เพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา[7]
ดัชนีการค้นหาของเสิร์ชเอนจินบิทพันเนล และส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องมือโอเพนซอร์ซถูกสร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ในปี 2016[8][9]
ในเดือนตุลาคม 2018 บิงเป็นเสิร์ชเอนจินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกโดยมีปริมาณการใช้งาน 4.58% ตามหลังกูเกิล (77%) และไป่ตู้ (14.45%) ยาฮู! เสิร์ชซึ่งใช้เอนจินของบิงมีปริมาณการใช้งาน 2.63%[10][11]
เอ็มเอสเอ็น เสิร์ช
ไมโครซอฟท์เปิดตัวเอ็มเอสเอ็น เสิร์ชครั้งแรกในปี 1998 โดยใช้ผลการค้นหาจากอิงค์โทมิประกอบด้วยเครื่องมือค้นหาดัชนีและโปรแกรมรวบรวมข้อมูลเว็บ ในช่วงต้นปี 1999 เอ็มเอสเอ็น เสิร์ช ได้เปิดตัวในเวอร์ชันที่แสดงรายชื่อจากลุคมาร์ทผสมผสานกับผลลัพธ์จากอิงค์โทมิ แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 1999 มีการใช้ผลลัพธ์จากอัลตาวิสตาแทน ไมโครซอฟท์ตัดสินใจที่จะลงทุนในการค้นหาเว็บโดยการสร้างโปรแกรมรวบรวมข้อมูลเว็บของตัวเองสำหรับเอ็มเอสเอ็น ทำให้ดัชนีมีการปรับปรุงรายสัปดาห์หรือทุกวันในบางครั้ง มีการอัปเกรดเพื่อเริ่มทดสอบซอฟต์แวร์ในเดือนพฤศจิกายน 2004 และปล่อยออกมาเป็นตัวเต็มในเดือนกุมภาพันธ์ 2005[12]
วินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช
รุ่นทดสอบรุ่นแรกของวินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2006 โดยมีรุ่นสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2006 ถูกสร้างมาเพื่อแทนที่เอ็มเอสเอ็น เสิร์ช เสิร์ชเอนจินแบบใหม่นี้ใช้แท็บค้นหาที่มีเว็บ ข่าวสาร รูปภาพ เพลง และไมโครซอฟท์ เอนคาร์ตา
ในระหว่างการเปิดตัววินโดวส์ ไลฟ์ เสิร์ช ไมโครซอฟท์ได้หยุดใช้พิคเสิร์ชเป็นผู้ให้บริการค้นหารูปภาพและเริ่มทำการพัฒนาเครื่องมือค้นหาภาพของตนเอง[13]
ไลฟ์ เสิร์ช
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2007 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะแยกการพัฒนาเสิร์ชเอนจินออกจากบริการวินโดวส์ไลฟ์ ซึ่งจะแยกออกมาต่างหากเป็นไลฟ์ เสิร์ช จากนั้นไลฟ์ เสิร์ชได้ถูกรวมเข้ากับแพลตฟอร์มการค้นหาและโฆษณาที่นําโดยสัตยา นาเดลลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกแพลตฟอร์มและระบบของไมโครซอฟท์ ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไลฟ์ เสิร์ชถูกผสานเข้ากับการโฆษณาของไมโครซอฟท์[14]
ชุดปรับโครงสร้างขององค์กรและการรวมข้อเสนอการค้นหาของไมโครซอฟท์ เกิดขึ้นภายใต้แบรนด์ไลฟ์ เสิร์ช เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2008 โดยไมโครซอฟท์ประกาศที่จะยกเลิกไลฟ์ เสิร์ชบุ๊ก และไลฟ์ เสิร์ชแอกคาเดมิก เพื่อรวมผลการค้นหาทางวิชาการและหนังสือทั้งหมดไว้ในการค้นหาแบบปกติ ด้วยเหตุนี้ไมโครซอฟท์จึงได้หยุดสนับสนุนโปรแกรมไลฟ์ เสิร์ชบุ๊ก หลังจากนั้นได้ไม่นานวินโดวส์ไลฟ์เอ็กซ์โปก็ถูกหยุดสนับสนุนเช่นกัน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 ต่อมาไลฟ์ เสิร์ชแมโคร ซึ่งเป็นบริการสําหรับผู้ใช้ในการสร้างเครื่องมือการค้นหาแบบกําหนดเองหรือใช้แมโครของผู้ใช้รายอื่นได้ถูกหยุดสนับสนุนเช่นกัน ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2009 การยกเลิกการสนับสนุนนี้ยังรวมไปถึง บิง โปรดักต์อัปโหลด และเอ็มเอสเอ็น คิวเอ็นเอ [15]
อ้างอิง
- ↑ Roger Chapman. "Top 40 Website Programming Languages". roadchap.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2011. สืบค้นเมื่อ September 6, 2011.
- ↑ Metz, Cade. "Microsoft Bing rides open source to semantic search". www.theregister.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bing - Microsoft to Acquire Powerset - Powerset blog - Bing Community". web.archive.org. 28 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ "Microsoft and Yahoo seal web deal". 29 July 2009.
- ↑ "Help for Yahoo Search". help.yahoo.com.
- ↑ "Bing Unleashing Tiger to Speed Search Results". Search Engine Watch. September 30, 2011. สืบค้นเมื่อ October 3, 2011.
- ↑ Goldman, David (May 10, 2012). "Bing fires at Google with new social search". CNN Money. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
- ↑ Yegulalp, Serdar (September 6, 2016). "Microsoft open-sources Bing components for fast code compilation". InfoWorld.
- ↑ Verma, Arpit (2016-09-07). "Microsoft Open Sources Major Components Of Bing Search Engine, Here's Why It Matters". Fossbytes (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
- ↑ Bright, Peter (April 16, 2015). "Microsoft loses exclusivity in shaken up Yahoo search deal". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ January 26, 2016.
- ↑ "Net Marketshare, Market Share Statistics for Internet Technologies". netmarketshare.com.
- ↑ "Microsoft's MSN Search To Build Crawler-Based Search Engine". June 30, 2003.
- ↑ Chris Sherman (September 11, 2006). "Microsoft Upgrades Live Search Offerings". Search Engine Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2006. สืบค้นเมื่อ September 12, 2006.
- ↑ Mary Jo Foley (March 21, 2007). "Microsoft severs Live Search from the rest of the Windows Live family". ZDNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
- ↑ Doug Caverly (May 29, 2009). "Yahoo Answers Outlives MSN QnA". WebProNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2012. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.