ไทยป็อป |
---|
ชื่ออื่น | ดนตรีสตริง |
---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | |
---|
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | พุทธศตวรรษที่ 2493, ประเทศไทย |
---|
หัวข้ออื่น ๆ |
---|
|
ไทยป็อป (Thai pop) หรือ ที-ป็อป (T–pop) เป็นแนวเพลงป๊อปที่ขับร้องด้วยภาษาไทยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970–80 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เพลงสตริง ก่อนที่จะได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1990 และกลายเป็นแนวเพลงหลักของวงการเพลงไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คำนี้มีความหมายกว้างมาก เพราะสามารถครอบคลุมถึงดนตรีร็อคไทย เพลงแดนซ์ แร็พ และเพลงป็อปที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกโดยทั่วไป แม้ว่าจะไม่รวมเพลงโฟล์คและเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงร็อคอย่างเพลงเพื่อชีวิต
ไทยป๊อป หรือเพลงสตริงมีต้นกำเนิดจากวงดนตรีอาร์แอนด์บีและเซิรฟร็อกอเมริกันเซ่น เดอะเวนเจอส์ (The Ventures) และ ดิก เดล, แนวเพลงเอ็กโซติกา (Exotica), ร็อกอะบิลลี (rockabilly) และ คันทรี ได้เข้ามาในประเทศไทย โดยทหารอเมริกันและออสเตรเลียในช่วงที่ทหารประจำการในเวียดนามในยุค 2500 และ 2510 นอกจากนี้ยังเอาดนตรีได้รับอิทธิพลมาจากการบุกของอังกฤษ รวมทั้ง ร็อกแอนด์โรล, การาจร็อก และเพลงประกอบภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เพลงสตริงยังครอบคลุมไทยร็อก เพลงแดนซ์ แร็ป และเพลงสมัยนิยมที่ได้อิทธิพลจากตะวันตก แต่ไม่รวมถึงเพลงเพื่อชีวิต
ในช่วงต้นปี 2000 ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า T-Wind นำเพลงป๊อปไทยไปสู่เวทีระดับนานาชาติและในปี ค.ศ. 2016 เอเคบีโฟร์ตีเอตกรุ๊ป จากญี่ปุ่นได้ก่อตั้งกลุ่มไอดอลไทย บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ขึ้น ส่งผลให้กลุ่มไอดอลไทยเป็นที่ได้รับความนิยม ทำให้เกิดกลุ่มไอดอลไทยสไตล์ เจ-ป็อป ขึ้นมาอีกจำนวนมากมายหลายวง และยังมีการผลิตรายการเพื่อส่งเสริมศิลปินและเพลงไทยป็อปให้เป็นที่รู้จักในระดับโลกเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ที-ป็อปสเตจโชว์ (เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์) และ ไทยแลนด์ มิวสิค เคานต์ดาวน์ (ทรู ซีเจ ครีเอชั่นส์)
ประวัติศาสตร์
ทศวรรษ 1970–1980
ยุคนี้ถือเป็นยุครุ่งเรืองของค่ายเพลงและศิลปินมากมาย ในขณะที่ชาวไทยส่วนใหญ่ยังคงชื่นชอบเพลงแนวลูกกรุงและลูกทุ่ง แต่กลับมีความสนใจในเพลงป็อปและร็อกสไตล์ตะวันตกเพิ่มมากขึ้น[1]
ทศวรรษ 1990
ยุคนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ดนตรีป็อปสไตล์ตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อรสนิยมของผู้ฟังชาวไทย ทำให้เกิดจังหวะและทำนองที่เป็นแบบตะวันตกมากขึ้น[1]
ทศวรรษ 2000–2010
ยุคนี้เป็นยุคเปลี่ยนผ่านจากเทปคาสเซ็ทไปสู่การจัดจำหน่ายเพลงทางออนไลน์ ส่งผลให้ทีป็อปได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นกว่าเดิม[1]
ทศวรรษ 2010–2020
ยุคนี้เป็นยุคที่อุตสาหกรรมเพลงของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการจัดจำหน่ายและเผยแพร่เพลงกลายเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นด้วยแอพพลิเคชันต่างๆ เช่นยูทูบ, สปอติฟายและติ๊กต็อก[1] ทีป็อปเริ่มได้รับความนิยมในระดับนานาชาติพร้อมกับการเติบโตของละครซีรีส์แนวยาโออิของไทย[2] วงเกิร์ลกรุปและวงบอยแบนด์มากมายล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากวงเกิร์ลกรุปและบอยแบนด์แนวเคป็อปและเจป็อป
ที-วินด์
ที-วินด์[3] เป็นคำที่ใช้บรรยายปรากฏการณ์วัฒนธรรมป๊อปไทยในระดับสากล เป็นคำที่สร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบ กระแสเกาหลี ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ประเทศไทยได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านวัฒนธรรมหลายประเภทไปยังหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4] เช่น ละคร (ละครโทรทัศน์) ภาพยนตร์และซีรีส์ BL จาก จีเอ็มเอ็มทีวี - จีดีเอช และลูกกวาดป๊อป (Thai teen pop)
อ้างอิง
|
---|
ยุคสมัย | |
---|
ประเภท | ทัศนศิลป์ | |
---|
ศิลปะการแสดง | |
---|
วรรณศิลป์ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|