ไช่ |
---|
|
การออกเสียง | Chua: /ˈtʃuwa/ in other Anglophone countries outside the Philippines: /ˈtʃwa/ |
---|
ไช่ (จีน: 蔡) หรือ ฉั่ว เป็นนามสกุลจีนซึ่งมีที่มาว่าชื่อของรัฐไช่โบราณ ในปี ค.ศ. 2019 นามสกุลไช่เป็นอันดับที่ 38 ในอันดับนามสกุลจีนที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศจีน[1]
แรกเริ่มเดิมที ไช่เป็นชื่อของก๊กหนึ่งในสมัยราชวงศ์โจวของจีน หนังสื่อ"สื่อจี้"หรือ"บันทึกประวัติศาสตร์")ซึ่งเป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ชิ้นยิ่งใหญ่ของจีนบันทึกไว้ว่า สมัยศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล โจวอู่อ๋อง กษัตริย์ของก๊กโจวใช้กำลังทัพโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ซางแล้วก็แต่งตั้งให้ซูตู้ น้องชายเขาให้เป็นอ๋องของก๊กไช่ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเหอหนันในปัจจุบัน คนสมัยนั้นจึงเรียกอ๋องของก๊กไช่ว่า"ไช่ซู" นอกจากทำหน้าที่ปกครองแผ่นดินแล้ว ไช่ซูยังต้องร่วมมืออ๋องก๊กอื่นอีก 2 องค์ซึ่งเป็นพี่น้องของโจวอู่อ๋อง ผู้ก่อตั้งสมัยราชวงศ์โจว เพื่อควบคุมเฝ้าติดตามอู่เกิงลู่ฟู ลูกชายของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์ซางที่ประจำเมืองหลวงเก่า และปกครองชาวเมืองที่สืบทอดมาจากราชวงศ์ซาง หลังจากโจวอู่อ๋องสวรรคต จีตั้น ผู้เป็นน้องชายของโจวอู่อ๋องเช่นกันได้สืบราชสมบัติต่อมา ไช่ซูสร้างความไม่พอใจต่อเขาจึงคบคิดกับอ๋องก๊กอีกองค์หนึ่งคือ อู่เกิงและชนเผ่าน้อยทางภาคตะวันออกของจีน รวมกันจัดกองทัพก่อกบฏต่อต้านกษัตริย์องค์ใหม่ แต่ในที่สุดก็ประสบความล้มเหลว ไช่ซูถูกเนรเทศออกจากก๊กไช่ให้ไปประจำเขตทุรกันดาร ส่วนพักพวกถูกประหารชีวิต แต่หู ซึ่งเป็นลูกชายของไช่ซูเป็นคนมีความซื่อสัตย์และมีวิสัยทัศน์ ไม่ร่วมมือกับบิดาผู้ทรยศมักใฝ่ จึงได้รับการยกย่องชื่นชม กษัตริย์องค์จึงมอบหมายหูให้เป็นเสนาบดี ช่วยพระโอรสปกครองก๊กหลู่ เนื่องจากหูใช้ความอดทนและขยันหมั่นเพียร จึงประสบผลสำเร็จในด้านการปกครอง ต่อมากษัตริย์แต่งตั้งหูขึ้นเป็นอ๋องของก๊กไช่องค์ใหม่ ลูกหลานของหูก็ใช้"ไช่"ซึ่งภาษาไทยอ่านว่า"ฉั่ว"เป็นแซ่ของตระกูล นามสกุล"ไช่"ก็ค่อยๆกลายเป็นนามสกุลที่ใหญ่ที่สุดในก๊กไช่
ต่อมาในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน คนตระกูลไช่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลเหอหนันและอันฮุยในปัจจุบัน และมีจำนวนหนึ่งไปเป็นขุนนางขุนศึกหรือทำการค้านอกก๊กไช่รวมทั้งไปตั้งหลักแหล่งในก๊กอื่นๆ ลูกหลานตระกูลไช่ไปเป็นข้าราชการ ตำแหน่งตั้งแต่อัครเสนาบดีถึงขุนนางในก๊กต่างๆมากมาย เช่นก๊กฉิน ก๊กฉี ก๊กฉู่และก๊กจี้นซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นก๊กใหญ่ที่เข้มแข็งเกรียงไกร ในสมัยราชวงศ์ฮั่น เริ่มมีคนแซ่ไช่ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคมไปใช้ชีวิตในบริเวณมณฑลเจียงซู เจ้อเจียง แต่เหอหนันยังคงเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลักของคนแซ่ไช่ จนปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ตระกูลไช่เริ่มกระจายไปยังภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้แก่มองโกลเลียใน หนิงเซี่ยและกันซู่ของจีนในปัจจุบัน
ช่วงต้นสมัยราชวงศ์ถัง ชาวตระกูลไช่อพยพไปอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งก็คือมณฑลฮกเกี้ยนและกว่างตงในตอนนี้ แล้วก็เริ่มสร้างความเจริญในภูมิภาคดังกล่าว พร้อมกันนั้น ตระกูลไช่หรือฉั่วก็กลายเป็นตระกูลใหญ่ที่โน่น ปลายสมัยนั้น สังคมเกิดความวุ่นวายอันเนื่องด้วยขุนศึกชนเผ่าน้อยที่ประจำทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนก่อกบฏและนำทัพไปโจมตีราชสำนักถาง คนแซ่ไช่ที่กระจายในท้องที่อื่นๆของจีนก็เดินทางไปลี้ภัยในเขตชายหาดทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ปลายราชวงศ์หมิง เจิงเฉิงกง แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ชนะสงครามทรยศและเอาเกาะไต้หวันคืนประเทศจีนได้ ลูกน้องของเขาก็มีคนตระกูลไช่จำนวนหนึ่งประจำไต้หวันตลอดชีวิตและมีครอบครัวที่โน่น ตั้งแต่นั้นมา ก็มีคนแซ่ไช่หรือฉั่วย้ายไปอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปและอเมริกาเรื่อยๆ
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง คนแซ่ไช่ก็เริ่มกระจายไปตั้งถิ่นฐานยังทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่บริเวณมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ในปัจจุบันแซ่ไช่จะกลายเป็นตระกูลใหญ่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แเก่ ไต้หวัน,ในประเทศไทย คนที่มีเชื่อสายจีนใช้แซ่ฉั่ว,ประเทศเวียดนาม,ประเทศสิงคโปร์ ฯลฯ มากกว่าในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่
ในประวัติศาสตร์จีน บุคคลนามสกุลไช่ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่นในสมัยโบราณ ไช่หลุน ผู้ประดิษฐ์คิดค้นวิธีการผลิตกระดาษ ซึ่งเป็นสิ่งประดิฐษ์ใหญ่ในสมัยโบราณ 1 ใน 4 ของจีน ไช่ยง นักประพันธ์ที่เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ดนตรี ดาราศาสตร์ ศิลปะพู่กันจีนและวาดเขียนเป็นต้น ส่วนในยุคใกล้ ก็มีไช่หยวนเผย นักการศึกษามีชื่อเสียงและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ไช่เอ้อ นักการทหารผู้พิทักษ์ประชาธิปไตยและไช่ถิงไข่ แม่ทัพต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นและอดีตรองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนเป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนที่มีนามสกุลไช่หรือฉั่วสร้างคุณความดีในระดับสูงให้อารยธรรมจีน ตระกูลไช่และฉั่วจึงมีประวัติที่น่าภาคภูมิใจ
บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ใช้แซ่ไช่
- Cai Cheng, a Chinese politician
- Cai Chusheng, an early Chinese film director
- Cai E, a Chinese revolutionary and warlord in early 20th century
- Cai Fu, a character in the Chinese literature classic the Water Margin
- Cai Gongshi, a Chinese emissary killed by Japanese soldiers during the Jinan Incident
- Cai Guo-Qiang, a Chinese contemporary artist and curator.
- Cai He, an officer in the Three Kingdoms period, brother of Cai Zhong and cousin of Cai Mao
- Cai Jing, a Song Dynasty official and a character in the Chinese literature classic the Water Margin
- Cai, the Lady, the wife of Three Kingdoms period governor Liu Biao
- Cai Lun, the inventor of paper in the Han Dynasty
- Cai Mao, a man of the gentry in the Three Kingdoms period who served under Liu Biao, cousin of Cai He and Cai Zhong
- Cai Pei, a diplomat and politician in the Republic of China
- Cai Qian, a Chinese pirate in the Qing Dynasty
- Cai Qing, a character in the Chinese literature classic the Water Margin
- Cai Shangjun, a Chinese film director and screenwriter
- Cai Shu, a Chinese high jumper
- Cai Tingkai, a Chinese general during the Republican era
- Cai Wenji, a Han Dynasty poet and composer also known as Cai Yan, daughter of scholar Cai Yong
- Cai Xiang, a calligrapher, scholar, official and poet during the Song dynasty also known as Cai Zhonghui
- Cai Xitao, a Chinese botanist
- Cai Yong, a Han Dynasty scholar and father of Cai Wenji
- Cai Yuanpei, a chancellor of Peking University and first president of the Chinese Academy of Sciences (Academic Sinica)
- Cai Yun, a Chinese badminton player
- Cai xukun, a Chinese celebrity former member of nine percent
- Cai Zhong, an officer in the Three Kingdoms period, brother of Cai He and cousin of Cai Mao
- Cai Zhuohua, a Chinese Christian preacher
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สกุลเดิม "แซ่ฉั่ว" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ช้างโสภา")
อ้างอิง
นามสกุลที่พบบ่อยที่สุด 100 นามสกุลในจีนแผ่นดินใหญ่ (พ.ศ. 2563) |
---|
1–25 | |
---|
26–50 | |
---|
51–75 | |
---|
76–100 | |
---|
ที่เกี่ยวข้อง | |
---|