โอลัฟ ช็อลทซ์

โอลัฟ ช็อลทซ์
Olaf Scholz
ช็อลทซ์ในปี ค.ศ. 2024
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
8 ธันวาคม ค.ศ. 2021
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ประธานาธิบดีฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์
ก่อนหน้าอังเกลา แมร์เคิล
รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม ค.ศ. 2018 – 8 ธันวาคม ค.ศ. 2021
(3 ปี 269 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลอังเกลา แมร์เคิล
ก่อนหน้าซีคมาร์ กาบรีเอล
ถัดไปโรเบิร์ต ฮาแบ็ค
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม ค.ศ. 2018 – 8 ธันวาคม ค.ศ. 2021
(3 ปี 269 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลอังเกลา แมร์เคิล
ก่อนหน้าว็อล์ฟกัง ช็อยเบลอ
ถัดไปคริสเตียน ลินด์เนอร์
นายกเทศมนตรีฮัมบวร์ค
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม ค.ศ. 2011 – 13 มีนาคม ค.ศ. 2018
(7 ปี 2 วัน)
ก่อนหน้าคริสตอฟ อาห์ลฮัส
ถัดไปปีเตอร์ เชน์ชอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1958-06-14) 14 มิถุนายน ค.ศ. 1958 (66 ปี)
อ็อสนาบรึค เยอรมนีตะวันตก
พรรคการเมืองพรรคสังคมประชาธิปไตย
คู่สมรสบริตต้า แอร์นส
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮัมบวร์ค
อาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

โอลัฟ ช็อลทซ์ (เยอรมัน: Olaf Scholz; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1958) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (เอ็สเพเด) ปัจจุบันเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี หลังจากชนะการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2564 เคยเป็นนายกเทศมนตรีนครรัฐฮัมบวร์ค และเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายใต้อังเกลา แมร์เคิล

ประวัติ

ช็อลทซ์เกิดในนครอ็อสนาบรึค รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนีตะวันตก[1] เขาเริ่มเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยฮัมบวร์คใน ค.ศ. 1978[2] เมื่อสำเร็จการศึกษาจึงเป็นนักกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน[3] ช็อลทซ์เข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตยขณะมีอายุสิบเจ็ดปี[1]

ผู้แทนราษฎรในสภาสหพันธ์

ใน ค.ศ. 2001 ช็อลทซ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานครรัฐฮัมบวร์คและไม่ได้รับเลือก อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งทั่วไประดับชาติในปีถัดมา เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสหพันธ์ (บุนเดิสทาค) ช็อลทซ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมประชาธิปไตยใน ค.ศ. 2002 แต่ไม่นานหลังจากนั้น ผู้นำพรรคอย่างนายกรัฐมนตรีแกร์ฮาร์ท ชเรอเดอร์ เผชิญมรสุมภายในพรรคและได้รับความนิยมจากสาธารณชนลดลง ชเรอเดอร์จึงประกาศลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยใน ค.ศ. 2004[4] ทำให้ช็อลทซ์ต้องลงจากตำแหน่งพร้อมกับชเรอเดอร์เพื่อรักษามารยาททางการเมือง ทั้งนี้ ในช่วงที่ช็อลทซ์เป็นผู้แทนราษฎรในสภาสหพันธ์ เขาเป็นหนึ่งในกรรมาธิการที่รับผิดชอบการพิจารณาแต่งตั้งผู้พิพากษาของศาลต่าง ๆ ในประเทศเยอรมนี

ใน ค.ศ. 2007 ช็อลทซ์เข้าร่วมรัฐบาลแมร์เคิลในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกิจการสังคม[5][6] ต่อมา ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2009 พรรคสังคมประชาธิปไตยตัดสินใจถอนตัวจากรัฐบาลแมร์เคิล ช็อลทซ์ได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยแทนที่ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์

นายกเทศมนตรีนครรัฐฮัมบวร์ค

ใน ค.ศ. 2011 ช็อลทซ์เป็นผู้นำพรรคสังคมประชาธิปไตยลงสนามเลือกตั้งของนครรัฐฮัมบวร์ค พรรคของเขาได้เก้าอี้ 62 ที่นั่งจาก 121 ที่นั่งสภานครรัฐฮัมบวร์ค[7] ช็อลทซ์จึงลาออกจากสมาชิกสภาสหพันธ์เพื่อดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของนครรัฐฮัมบวร์ค แต่ยังคงเป็นรองหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตย

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครรัฐฮัมบวร์ค เขาและรัฐมนตรีคลังเยอรมนีได้นำเสนอการหารายได้ทางอ้อมแบบใหม่เข้ารัฐบาลท้องถิ่น โดยการจัดเก็บ "เงินเพิ่มถ้วนหน้า" (Solidaritätszuschlag) ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บเพิ่มเติมจากภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล นอกจากนี้ เขาพยายามผลักดันให้นครฮัมบวร์คเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 แต่ประสบความไม่สำเร็จเนื่องจากชาวฮัมบวร์คส่วนใหญ่คัดค้าน[8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Cliffe, Jeremy (3 September 2021). "How Olaf Scholz and the SPD could lead Germany's next government". New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2021. สืบค้นเมื่อ 27 September 2021.
  2. Schindler, Fabian (21 March 2011). "Stades Bürgermeister verkündet seinen Abschied". Hamburger Abendblatt (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  3. Chazan, Guy (9 February 2018). "Olaf Scholz, a sound guardian for Germany's finances". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  4. Richard Bernstein (7 February 2004), [1] เก็บถาวร 13 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน New York Times.
  5. Andreas Cremer and Brian Parkin, "Muentefering, Vice-Chancellor Under Merkel, Quits" เก็บถาวร 25 พฤษภาคม 2012 ที่ archive.today, Bloomberg.com, 13 November 2007.
  6. "Merkel defends record as Germany's tense governing coalition hits 2-year mark", Associated Press, 21 November 2007.
  7. "AICGS Coverage of the 2011 Land Elections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2011.
  8. Hamburg mayor: our Olympics will cost $12.6bn, less than London 2012 เก็บถาวร 26 ธันวาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Guardian, 8 October 2015.


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!