โรเบิร์ต บอยล์

ดิออนะระเบิล

โรเบิร์ต บอยล์
โรเบิร์ต บอยล์ (1627–91)
เกิด25 มกราคม ค.ศ. 1627
ลิสมอร์, เคาน์ตี วอเทอร์ฟอร์ด, ไอร์แลนด์
เสียชีวิต31 ธันวาคม 1691 (อายุ 64)
ลอนดอน, อังกฤษ
สัญชาติไอริช
ศิษย์เก่าวิทยาลัยอีตัน
มีชื่อเสียงจากกฎของบอยล์
รางวัลภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์, เคมี
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงโรเบิร์ต ฮุก
มีอิทธิพลต่อ
ได้รับอิทธิพลจากไอแซก นิวตัน[2]

โรเบิร์ต บอยล์ (อังกฤษ: Robert Boyle; FRS[3]; 25 มกราคม ค.ศ. 1627 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1691) เป็นชาวแองโกล-ไอริช[4] เป็นนักปรัชญาธรรมชาติ นักเคมี นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผลงานที่โดดเด่นของบอยล์คือ เป็นผู้คิดค้นกฎของบอยล์[5] ซึงอธิบายว่า ความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนจะผกผันระหว่างความดันสัมบูรณ์และปริมาตรของก๊าซ ถ้าอุณหภูมิถูกทำให้คงที่ภายในระบบปิด (ทางฟิสิกส์)

ชีวประวัติ

โรเบิร์ต บอยล์เกิดที่ปราสาทลิสมอร์ เคานตี้วอเตอร์ฟอร์ด ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2170 เป็นบุตรคนที่ 7 ในครอบครัวที่มีฐานะดี บิดาชื่อริชาร์ด บอยล์ มีฐานะร่ำรวยที่สุดของอังกฤษในสมัยนั้น [ต้องการอ้างอิง] และมีฐานันดรศักดิ์สูง คือ เอิร์กแห่งคอร์ก (Eark fo Cork) บิดาเป็นคนที่เลี้ยงดูบุตรอย่างเข้มงวดมาก ในตอนเด็กบอยล์มีความจำที่ดีมาก สามารถสนทนาภาษาละตินและฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุ 8 ขวบ บิดาจึงส่งไปเรียนที่วิทยาลัยอีตัน และบอยล์ก็เรียนหนังสือเก่ง เมื่ออายุ 11 ขวบ บอยล์ถูกส่งไปเรียนต่อที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และใช้เวลาเรียนกับการเดินทาง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิตในยุโรปนาน 6 ปี จึงเดินทางกลับเพราะได้ข่าวบิดาเสียชีวิตและครอบครัวกำลังแตกแยก เนื่องจากพี่น้องบางคนสนับสนุนกษัตริย์และบางคนสนับสนุน โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) เมื่อกลับถึงอังกฤษ บอยล์เดินทางไปพำนักที่คฤหาสน์สตอลบริดจ์ในดอร์เซต ครั้นเมื่อพี่ชายชื่อโรเจอร์ และพี่สาว เลดี้ แรนเนอลาจ์ (Lady Ranelagh) เห็นบอยล์มีความสามารถทางภาษาจึงสนับสนุนให้เขาลองทำงานด้านวรรรกรรมกับกวี จอห์น มิลตัน แต่โดยไม่รู้สึกตื่นเต้นหรือสนุก จึงหันไปสนใจวิชาเกษตรศาสตร์และเบนความสนใจไปทางด้านแพทยศาสตร์ จน

กระทั่งวันหนึ่งบอยล์ได้ไปซื้อยาที่ร้านขายยาและเภสัชกรจ่ายยาผิดทำให้บอยล์ล้มป่วย การไม่สบายครั้งนั้นทำให้เขาหันมาสนใจธรรมชาติของสารอย่างจริงจัง เมื่อบอยล์อายุ 18 ปี ที่ Gresham College ในลอนดอนมีแพทย์นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักอุตสาหกรรม มาประชุมพบปะกัน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อฟังการบรรยายความรู้วิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ โคเปอร์นิคัส และเบคอน เรื่องต่าง ๆ ที่มีเนื้อหา ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ แพทย์ ฯลฯ และบอยล์ก็เดินทางมาประชุมด้วยในปี พ.ศ. 2193 สมาชิกหลายคนของสมาคมได้ย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากที่เมืองออกซฟอร์ดนานถึง 14 ปี เพราะเป็นที่มีปราชญ์หลายคน เช่น จอห์น วอลลิส (John Wallis) คริสโตเฟอร์ เรน และโรเบิร์ต ฮุก จนกระทั่งวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2203 สมาชิก 12 คน ของสมาคม รวมทั้งบอยล์ก็ร่วมกันจัดตั้งสมาคมวิชาการ ชื่อ วิทยาลัยเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้การทดลองคณิตศาตร์และฟิสิกส์ ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society of London) และได้รับการรับรองอย่างถูกกฎหมายในปี พ.ศ. 2205 สมาคมเป็นสมาคมวิทยาศาตร์แห่งแรกของโลกที่ยังดำรงสถานภาพอยู่ได้จนทุกวันนี้

ขณะอยู่ที่ออกซฟอร์ด บอยล์ได้อ่านตำราวิทยาศาสตร์ของเบคอนและกาลิเลโอ และหนังสือ Principles of Philosophy ของเรอเน เดการ์ต ความคิดของปราชญ์เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีคิดของบอยล์ในภายหลังมาก เมื่อบอยล์อ่านผลการทดลองของ เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (Evangelista Torricelli) เมื่อปี พ.ศ. 2187 เรื่องความดันปรอทในหลอดแก้วคว่ำ เขารู้สึกสนใจประเด็นที่เตอร์รีเชลลีอ้างว่าบริเวณเหนือปรอทมีสุญญากาศตามรูปแบบที่ออตโต ฟอน กูริค (Otto von Guericke) เคยสร้างไว้ ความสามารถในการทำอปกรณ์ของฮุกช่วยให้บอยล์พบว่า เสียงต้องการอากาศในการเคลื่อนที่ เพราะเขาได้ยินเสียง ลูกตุ้มกว่งแผ่วลงๆ เวลาอากาศถูกสูบออกจากขวดแก้วที่บรรจุเทียนไขที่กำลังลุกไหม้จนหมด เทียนไขจะดับ ส่วนนกและแมวที่อยู่ในภาชนะที่สูบอากาศออกจนหมดก็จะตาย บอยล์จึงสรุปได้ว่าอากาศคือองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสันดาปและสำหรับการหายใจของสิ่งมีชีวิตในปี พ.ศ. 2204

แม้งานวิจัยส่วนใหญ่ของบอยล์จะมีรากฐานอยู่กับวิชาเล่นแร่แปรธาตุแบบดั้งเดิม แต่ปัจจุบันเขาได้รับยกย่องให้เป็นนักเคมียุคใหม่คนแรก เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเคมีแห่งยุคใหม่

ผลงานที่สำคัญ

อ้างอิง

  1. Marie Boas, Robert Boyle and Seventeenth-century Chemistry, CUP Archive, 1958, p. 43.
  2. Newton, Isaac (February 1678). Philosophical tract from Mr Isaac Newton. Cambridge University. But because I am indebted to you & yesterday met with a friend Mr Maulyverer, who told me he was going to London & intended to give you the trouble of a visit, I could not forbear to take the opportunity of conveying this to you by him.
  3. "Fellows of the Royal Society". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16.
  4. "Robert Boyle". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
  5. Acott, Chris (1999). "The diving "Law-ers": A brief resume of their lives". South Pacific Underwater Medicine Society journal. 29 (1). ISSN 0813-1988. OCLC 16986801. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 17 April 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!