โรงพยาบาลมิชชั่น

โรงพยาบาลมิชชั่น
(อังกฤษ: Bangkok Adventist Hospital)
เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน
สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง200 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการพ.ศ. 2480
ลิงก์
เว็บไซต์http://www.mission-hospital.org/

โรงพยาบาลมิชชั่น[1] (อังกฤษ: Bangkok Adventist Hospital) เป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีเตียงรองรับ 200 เตียง และเปลเด็ก 24 เตียง โดยตั้งอยู่ที่ถนนพิษณุโลก ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และชื่อโรงพยาบาลนี้ในภาษาไทยแปลตามตัวอักษรในฐานะโรงพยาบาลมิชชั่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเรียกว่า "โรงพยาบาลมิชชั่น" ทั้งนี้ โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยมูลนิธิคริสเตียนเมดิคอลของเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ในประเทศไทยภายใต้การอุปถัมภ์ของพันธกิจสหภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SAUM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบระดับภูมิภาคของคริสตจักรมิชชั่น และเป็นส่วนหนึ่งของระบบการดูแลสุขภาพมิชชั่นระดับโลก โรงพยาบอาลนี้เป็นหนึ่งในสามโรงพยาบาลมิชชั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนอีกสองแห่งอยู่ในเทศบาลนครภูเก็ต ประเทศไทย และโรงพยาบาลมิชชั่นรัฐปีนัง ในประเทศมาเลเซีย

โรงพยาบาลมิชชั่นเป็นหนึ่งในสิบโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA)[2]

ประวัติ

โรงพยาบาลนี้ได้รับการก่อตั้งใน พ.ศ. 2480 ด้วยทุนสนับสนุนจากกัปตันทอมัส ฮอล ผู้เป็นพ่อค้ากะลาสีเรือ และดำเนินการโดย ดร. ราล์ฟ แวดเดลล์, เอลเลนผู้เป็นภรรยาของเขา, นายเปล่ง วิเทียมลักษณ์ และศิษยาภิบาล กอน วูย-แลง กระทั่งใน พ.ศ. 2483 ได้มีการขยายสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มอีก 30 เตียง และกลายเป็นที่รู้จักในนาม "ส่วนผนวก" ครั้นเมื่อญี่ปุ่นรุกรานไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนผนวกก็ถูกปิด และมิชชันนารีทุกคนหนีออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัยของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คลินิกบางส่วนยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้การดูแลของนายเปล่ง, ผู้ช่วยแพทย์ และ ดร. เอส. เบเน ผู้เป็นแพทย์ชาวโรมาเนีย เมื่อสิ้นสุดสงคราม เจ้าหน้าที่จากต่างประเทศได้กลับมาและโรงพยาบาลนี้ก็เปิดขึ้นอีกครั้ง ส่วนผนวกเดิมดังกล่าวได้กลายเป็นอาคารแรกสำหรับการขยาย "สถานพยาบาลและโรงพยาบาลกรุงเทพ"

โรงเรียนพยาบาลโรงพยาบาลมิชชั่นได้รับการก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2490 ครั้นใน พ.ศ. 2529 ได้มีการแนะนำและรับรองวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาการพยาบาล โรงเรียนพยาบาลดังกล่าว ร่วมกับวิทยาลัยสหภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (S.A.U.C) ได้รวมเข้าด้วยกันใน พ.ศ. 2535 เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยมิชชั่น โดยได้รับการรับรองจากทบวงมหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2537 ต่อมา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551 วิทยาลัยมิชชั่นได้รับสถานะมหาวิทยาลัยจากรัฐบาลไทยและได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก (A.I.U) ส่วนการศึกษาวิจัยในระดับก่อนคลินิกเป็นเวลาสองปีได้ดำเนินการที่มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก วิทยาเขตมวกเหล็ก ในขณะที่การศึกษาสองปีสุดท้ายอยู่ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น ทั้งนี้ คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่นของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยห้องเรียน, ห้องสมุด และหอพัก พร้อมด้วยสถานพยาบาลทางคลินิกภายในโรงพยาบาล กระทั่งใน พ.ศ. 2498 ได้เปิดหลักสูตรวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างเป็นทางการ ส่วนใน พ.ศ. 2501 ความจุเตียงทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 180 เตียง

ใน พ.ศ. 2516 โรงพยาบาลมิชชั่นได้ประากศใช้ชื่อ "โรงพยาบาลมิชชั่น กรุงเทพฯ" กลุ่มย่อยของราล์ฟ แวดเดลล์ แห่งใหม่ได้รับการเปิดใน พ.ศ. 2526 เพื่อเพิ่มที่พักของผู้ป่วย ครั้นในโอกาสครบรอบ 50 ปีของโรงพยาบาลเมื่อ พ.ศ. 2530 ได้มีการเพิ่มอาคารเปล่ง วิเทียมลักษณ์ เพื่อจัดหาเตียงสำหรับสูติศาสตร์ และกุมารเวชศาสตร์ พร้อมด้วยบริการเสริมบางอย่าง

ส่วนใน พ.ศ. 2533 ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพมิชชั่นสามารถรองรับได้ 60 คน ในจังหวัดสระบุรี ทางเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยศูนย์ส่งเสริมสุขภาพดังกล่าวตั้งอยู่ติดกับวิทยาเขตมวกเหล็กของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก

อ้างอิง

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2014-06-13.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Hospital Accreditation" เก็บถาวร 2010-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bangkok Adventist Hospital. Accessed 2010-01-05

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′28″N 100°31′9″E / 13.75778°N 100.51917°E / 13.75778; 100.51917

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!