โรคระบาดทางการเงิน (อังกฤษ: financial contagion) หมายความถึง "การระบาดของความผันผวนของตลาด ส่วนใหญ่ในด้านลบ จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นกระบวนการที่สังเกตผ่านการเคลื่อนไหวร่วมของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาหุ้น ความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนของการออกพันธบัตรของประเทศนั้นกับพันธบัตรเปรียบเทียบได้ของที่ประเทศเกณฑ์เปรียบเทียบออก [sovereign spread] และการไหลของทุน" โรคระบาดทางการเงินสามารถเป็นความเสี่ยงแก่ประเทศที่กำลังพยายามบูรณาการระบบการเงินของตนกับตลาดและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โรคระบาดการเงินช่วยอธิบายวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ขยายข้ามประเทศเพื่อนบ้านหรือแม้แต่ภูมิภาคของโลก
โรคระบาดทางการเงินเกิดทั้งระดับระหว่างประเทศและในประเทศ ในระดับประเทศ ปกติความล้มเหลวของธนาคารในประเทศหรือคนกลางทางการเงินจุดชนวนการส่งผ่านโรคเมื่อผิดนัดความรับผิดระหว่างธนาคารและขายสินทรัพย์ในราคาถูก (fire sale) ฉะนั้นจึงบั่นทอนความเชื่อมั่นในธนาคารที่คล้ายกัน ตัวอย่างปรากฏการณ์นี้คือ ความวุ่นวายรุนแรงสืบเนื่องในตลาดการเงินสหรัฐ[1] โรคระบาดทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดทั้งในเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เป็นการส่งผ่านวิกฤตการณ์การเงินระหว่างตลาดการเงินสำหรับเศรษฐกิจโดยตรงหรือโดยอ้อม ทว่า ภายใต้ระบบการเงินปัจจุบันที่มีงบเงินสดปริมาณมาก เช่น กองทุนบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติการข้ามภูมิภาคของธนาคารขนาดใหญ่ โรคระบาดทางการเงินปกติเกิดพร้อมกันทั้งในสถาบันในประเทศและข้ามประเทศ สาเหตุของโรคระบาดทางการเงินปกติอยู่เลยคอธิบายของเศรษฐกิจที่แท้จริง เช่น ปริมาณการค้าทวิภาคี[2]
อ้างอิง
- ↑ Scott, Hal S. (November 20, 2012). "Interconnectedness and Contagion". doi:10.2139/ssrn.2178475. SSRN 2178475.
- ↑ Robert Kollmann & Frédéric Malherbe, 2011. "International Financial Contagion: the Role of Banks, "Working Papers ECARES 2011-001, Universite Libre de Bruxelles.