โมตุลเดซานโฮเซ

โมตุลเดซานโฮเซ
แท่งศิลาจารึกที่เสียหายอย่างรุนแรงจากไฟไหม้ในกลุ่มเซ[1]
โมตุลเดซานโฮเซตั้งอยู่ในกัวเตมาลา
โมตุลเดซานโฮเซ
ที่ตั้งโมตุลเดซานโฮเซในกัวเตมาลาและมีโซอเมริกา
โมตุลเดซานโฮเซตั้งอยู่ในมีโซอเมริกา
โมตุลเดซานโฮเซ
โมตุลเดซานโฮเซ (มีโซอเมริกา)
ที่ตั้งซานโฮเซ จังหวัดเปเตน กัวเตมาลา
พิกัด17°1′35″N 89°54′5″W / 17.02639°N 89.90139°W / 17.02639; -89.90139
ความเป็นมา
สมัยสมัยก่อนคลาสสิกตอนกลางถึงสมัยหลังคลาสสิกตอนต้น
วัฒนธรรมมายา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นค.ศ. 1998–2008
ผู้ขุดค้นแอนโทเนีย ฟอยยัส, คิตตี เอเมอรี โครงการโบราณคดีโมตุลเดซานโฮเซ
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมมายาสมัยคลาสสิก

โมตุลเดซานโฮเซ (สเปน: Motul de San José) เป็นแหล่งโบราณคดีอารยธรรมมายาแห่งหนึ่ง ในอดีตเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิกะ (มายา: Ik'a'; แปลว่า แหล่งน้ำที่มีลมพัดแรง)[2] ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของทะเลสาบเปเตนอิตซาในภูมิภาคแอ่งเปเตน ทางตอนใต้ของที่ลุ่มมายา ห่างจากหมู่บ้านซานโฮเซสมัยใหม่เพียงไม่กี่กิโลเมตรในจังหวัดเปเตนทางตอนเหนือของประเทศกัวเตมาลา โมตุลเดซานโฮเซเป็นศูนย์ราชการและพิธีการขนาดกลาง ศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยคลาสสิกตอนปลาย (ค.ศ. 650–950)[3] และเป็นเมืองหลวงของหน่วยการปกครองที่มีแหล่งบริวารหลายแหล่งที่มีระดับความสำคัญต่างกัน ซึ่งรวมถึงท่าเรือแห่งหนึ่งริมทะเลสาบเปเตนอิตซา

แหล่งนี้มีผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกระหว่าง 600 ถึง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ในช่วงหลังของสมัยก่อนคลาสสิกตอนกลาง) โดยน่าจะเป็นแหล่งค่อนข้างเล็ก นครมายาแห่งนี้มีผู้อยู่อาศัยอย่างยาวนานและต่อเนื่องจนถึงราว ค.ศ. 1250 ในสมัยหลังคลาสสิกตอนต้น โดยรุ่งเรืองสุดขีดในสมัยก่อนคลาสสิกตอนปลายและสมัยคลาสสิกตอนปลาย[4] โมตุลเดซานโฮเซเริ่มกล่าวถึงติกัลในฐานะเจ้าเหนือหัวในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 แต่เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ได้หันไปสวามิภักดิ์ต่อกาลักมุลซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของติกัล ก่อนจะกลับมาสวามิภักดิ์ต่อติกัลในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ดูเหมือนว่าโมตุลเดซานโฮเซจะถูกพิชิตโดยโดสปิลัส เมืองหลวงของอาณาจักรเปเตชบาตุน[5]

ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่หาได้ง่ายในบริเวณรอบเมือง ท่าเรือลาตรินิดัดเดโนโซโตรสซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการนำเข้าสินค้าต่างถิ่นและการส่งออกสินค้าท้องถิ่นอย่างหินเชิร์ตและเครื่องปั้นเผา สินค้าอื่น ๆ ที่ไม่สามารถหาใช้ได้ทันทีอาจได้รับมาจากแหล่งบริวารของเมือง พื้นที่ในท้องถิ่นมีดินจำนวนหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายทางการเกษตร และท่าเรือที่ลาตรินิดัดเดโนโซโตรสได้จัดหาสัตว์น้ำจืดให้แก่เมือง เช่น เต่า จระเข้ หอยน้ำจืด เป็นต้น กวางถูกล่าในท้องถิ่นและเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญสำหรับชนชั้นสูง ในขณะที่หอยทากน้ำจืดเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนหลักสำหรับสามัญชน[6]

โมตุลเดซานโฮเซได้รับการพิสูจน์ระบุว่าเป็นแหล่งที่มาของเครื่องปั้นเผาพหุรงค์แบบอย่างอิก (Ik) ซึ่งเขียนภาพกิจกรรมในราชสำนักของอภิชนมายาสมัยคลาสสิกตอนปลาย[7] แบบอย่างอิกยังมีลักษณะเด่นจากการเขียนรูปอักขระด้วยสีชมพูหรือสีแดงอ่อน ฉากผู้เต้นระบำสวมหน้ากาก และการแสดงลักษณ์บุคคลที่สมจริงตามที่ปรากฏในชีวิต

อ้างอิง

  1. Foias 2000, p.775.
  2. Tokovinine, A., & Zender, M. (2012-09-23). Lords of Windy Water: The Royal Court of Motul de San José in Classic Maya Inscriptions.
  3. Foias 2000, p.773. Halperin 2008, p.114.
  4. Moriarty 2004, pp.37-39.
  5. Martin & Grube 2000, p. 62.
  6. Emery 1998, pp.67-68.
  7. Reents-Budet et al 2007, pp.1417-1418.

บรรณานุกรม

  • Emery, Kitty F. (1998). "Investigacion Ecológica de 1998 en Motul de San José: Creando una base para investigaciones futuras". ใน Foias, Antonia E. (บ.ก.). Proyecto Arqueológico Motul de San José: Informe #1 Temporada de Campo 1998 (ภาษาสเปน). Williamstown, Massachusetts, USA: Williams College. pp. 63–75. OCLC 46464310.
  • Foias, Antonia E. (2000). "Entre la política y economía: Resultados preliminares de las primeras temporadas del Proyecto Arqueológico Motul de San José" (PDF). XIII Simposio de Investigaciones Arqueológicas en Guatemala, 1999 (Edited by J.P. Laporte, H. Escobedo, B. Arroyo and A.C. De Suasnávar) (ภาษาสเปน). Museo Nacional de Arqueología y Etnología, Guatemala: 771–799. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF online publication)เมื่อ 18 มีนาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2009.
  • Halperin, Christina T. (2008). "Classic Maya Textile Production: Insights from Motul de San José, Petén, Guatemala". Ancient Mesoamerica. USA: Cambridge University Press. 19 (1): 111–125. doi:10.1017/S0956536108000230.
  • Martin, Simon; Nikolai Grube (2000). Chronicle of the Maya Kings and Queens: Deciphering the Dynasties of the Ancient Maya. London and New York: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05103-8. OCLC 47358325.
  • Moriarty, Matthew D. (2004). "Settlement Archaeology at Motul de San José, Petén, Guatemala. Preliminary Results from the 1998-2003 Seasons". Mayab. Madrid, Spain: Sociedad Española de Estudios Mayas (17): 21–44. ISSN 1130-6157.
  • Reents-Budet, Dorie; Antonia E. Foias; Ronald L. Bishop; M. James Blackman; Stanley Guenter (2007). "Interacciones políticas y el Sitio Ik' (Motul de San José): Datos de la cerámica" (PDF). XX Simposio de Investigaciones Arqueológicas en Guatemala, 2006 (Edited by J.P. Laporte, B. Arroyo and H. Mejía) (ภาษาสเปน). Museo Nacional de Arqueología y Etnología, Guatemala: 1416–1436. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF online publication)เมื่อ 14 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!