โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
ประเภทบริษัทในเครือ
อุตสาหกรรมยานยนต์
รูปแบบรถยนต์
ก่อตั้ง5 ตุลาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
สำนักงานใหญ่,
ไทย
บุคลากรหลัก
  • นินนาท ไชยธีรภิญโญ (ประธานกรรมการ)
  • โนริอากิ ยามาชิตะ (กรรมการผู้จัดการใหญ่)
ผลิตภัณฑ์
  • รถยนต์
  • รถยนต์เพื่อการพาณิชย์
  • เครื่องยนต์
ผลผลิต760,000 คัน (สูงสุด)
เจ้าของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน (86.4%)
เว็บไซต์www.toyota.co.th

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (อังกฤษ: Toyota Motor Thailand Co., Ltd.; TMT) เป็นบริษัทในเครือของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ในประเทศไทยซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2522 โตโยต้าเริ่มผลิตชิ้นส่วนตัวถังในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 บริษัทเริ่มต้นการผลิตเครื่องยนต์และควบคุมการผลิตรถยนต์โตโยต้าในประเทศไทย และจัดหารถยนต์ให้กับตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั่วประเทศไทย ตลาดส่งออกหลักของบริษัทคือภูมิภาคอาเซียนและโอเชียเนีย แต่โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ยังส่งออกรถยนต์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกด้วย โดยเฉพาะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 มีตัวแทนจำหน่ายโตโยต้าอย่างเป็นทางการ 150 แห่ง โดยมีโชว์รูม 450 แห่งที่ได้รับการรับรองจากโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย

การดำเนินงาน

ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 บริษัทมีพนักงาน 16,477 คนในโรงงานในไทย บริษัทมีโรงงาน 3 แห่ง ใน 2 จังหวัด โรงงานในพื้นที่สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ผลิตรถกระบะและรถเพื่อการพาณิชย์ และโรงงานสองแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล โรงงานทั้งสามแห่งมีกำลังการผลิตรวมกันสูงสุด 760,000 คันต่อปี[1]

ในปี ค.ศ. 1988 บริษัทได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับโตโยต้า ออโต้ บอดี้[2] เรียกว่า โตโยต้า ออโต้ เวิร์ค (ชื่อเดิม: ไทย ออโต้ เวิร์ค)[3] กิจการมุ่งเน้นไปที่การผลิตรถตู้ไฮเอซ โตโยต้า ออโต้ บอดี้ ถือหุ้น 63%[2] บริษัทมีโรงงานอีกแห่งในจังหวัดสมุทรปราการ คือ โรงงานเทพารักษ์[4]

รุ่นรถ

2021 Yaris Ativ Sport Premium รุ่นผลิตในประเทศไทย

ผลิตในประเทศ

โรงงานฉะเชิงเทรา (Gateway)

โรงงานในพื้นที่สำโรง

โรงงานเทพารักษ์ (Toyota Auto Works venture)

โรงงานบ้านโพธิ์

นำเข้า

รถรุ่นในอดีต

ผลิตในประเทศ

นำเข้า

ยอดขาย

โตโยต้าประกาศยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในไทยในปี 2012 ที่ 516,086 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 จากปี 2011 ยอดขายลดลงร้อยละ 13.7 เป็น 445,464 คันในปี 2013 และลดลงร้อยละ 26.6 เป็น 327,027 คันในปี 2014 ในปี 2015 บริษัทมียอดขายจำนวน 266,005 คัน ลดลง 18.7 % ยอดขายในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2559 มีทั้งหมด 87,115 คัน ลดลง 13.4 % จากช่วงเดียวกันของปี 2558 บริษัทคาดการณ์ว่ายอดขายทั้งปี 2016 จะลดลง 9.8 % จากปี 2558 เป็น 240,000 คัน ซึ่งเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่ยอดขายลดลง[1]

ประเทศไทยมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่ 1,007,552 คันในปี 2019 ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบปีต่อปี โตโยต้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในไทยในปี 2019 เป็น 33 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 2.8%[8]

รางวัล

ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[9] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจยานยนต์ ชนะ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Maikaew, Piyachart (6 July 2016). "Toyota Thailand to cut 800 workers". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 6 July 2016.
  2. 2.0 2.1 "About us". Toyota Auto Works. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
  3. Maikaew, Piyachart (22 January 2013). "New Toyota plant to open this year". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
  4. Kukuchi, Akifumi; Gokan, Toshitaka (2011). "On the sequence of steps in clustering policy for creating spatial advantages". ใน Kukuchi, Akifumi; Tsuji, Masatsugu (บ.ก.). Industrial Clusters, Upgrading and Innovation in East Asia. Edward Elgar Publishing. ISBN 978-0-857-93513-7.
  5. "Toyota holds opening ceremony for 3rd Thai plant" (Press release). Toyota. 13 March 2007. สืบค้นเมื่อ 6 April 2021.
  6. "TOYOTA MOTOR CORPORATION GLOBAL WEBSITE | 75 Years of TOYOTA | Activities by Region | Asia". www.toyota-global.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
  7. Ruiz, Teresa. "New Daihatsu Charade the end-version to disappear from Europe" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-11.
  8. Ellison, Edd (6 February 2020). "Toyota Thailand Foresees 'Challenging Year'". Wards Auto. สืบค้นเมื่อ 7 February 2020.
  9. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!