โดโรเทอาได้รับทั้งคำชื่นชมและเสียงวิจารณ์ โยฮัน เรทิอุส (Johann Rhetius) นักเขียนจุลสาร กล่าวอ้างว่าสตรีไม่สามารถประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้นการเข้ามาเรียนเพื่อได้รับปริญญาในสาขานี้จึงเป็นการเสียเวลาเป็นอันมาก โดโรเทอาได้เขียนข้อเขียนต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกรวบรวมมาตีพิมพ์ในปี 1742 เป็นหนังสือชื่อ "การตรวจสอบโดยละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุซึ่งป้องกันมิให้เพศสตรีได้เรียนหนังสือ" (A Thorough Inquiry into the Causes Preventing the Female Sex from Studying) ซึ่งระบุว่าเยอรมนีควรจะได้รับประโยชน์จากความสามารถของประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศ
วิทยานิพนธ์จบการศึกษาของเธอชื่อว่า ว่าด้วยการรักษาที่รวดเร็วและเป็นสุข แต่เป็นผลให้การรักษาไม่เต็มกำลัง (Concerning the Swift and Pleasant but for that Reason less than Full Cure of Illnesses) ซึ่งเธอระบุว่าแพทย์ทำการรักษาเร็วเกินไป นำไปสู่การให้การรักษาที่ไม่จำเป็น และเสนอแนะให้มีการใช้ยาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และให้มีการใช้ยาด้วยขนาดที่ถูกต้อง วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ของเธอแพร่หลายไปทั่วเยอรมนีโดยเฉาพะในบรรดาสตรีที่มีปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้เธอยังให้แปลวิทยานิพนธ์นี้จากภาษาละตินเป็นเยอรมนัเพื่อให้เข้าถึงคนที่ยากไร้ด้วย
Howard, Sethanne (2007). "SCIENCE HAS NO GENDER: The History of Women in Science". Journal of the Washington Academy of Sciences. 93 (1): 1–15. JSTOR24536249.
Poeter, Elisabeth (2008). "Gender, Religion, and Medicine in Enlightenment Germany: Dorothea Christiane Leporin's Treatise on the Education of Women". NWSA Journal. 20 (1): 99–119. JSTOR40071254.
Schiebinger, Londa (1990). "The Anatomy of Difference: Race and Sex in Eighteenth-Century Science". Eighteenth-Century Studies. 23 (4): 387–405. doi:10.2307/2739176. JSTOR2739176.
"The First Lady Doctor". The British Medical Journal. 1 (2416): 952. 1907. JSTOR20294024.
Ludwig, H. (September 2012). "Dorothea Christiana Erxleben (1715–1762): Erste promovierte Ärztin in Deutschland". Der Gynäkologe. 45 (9): 732–734. doi:10.1007/s00129-012-3031-8.
Bolter, Christina (December 2002). Dorothea Erxleben: Eighteenth-Century Role Model for Today's Working Parent (วิทยานิพนธ์). hdl:10125/7060.