วัดโชคัง (ทิเบต : ཇོ་ཁང་ , ไวลี : jo khang , พินอินทิเบต : qo kang ) หรือ จุกลักคัง (ทิเบต : གཙུག་ལག་ཁང༌། , ไวลี : gtsug-lag-khang , พินอินทิเบต : Zuglagkang หรือ Tsuklakang) หรือในภาษาจีนเรียก ต้าเจาซื่อ (大昭寺, dà zhāo sì)เป็นวัดพุทธ ในลาซ่า ทิเบต ชาวทิเบตโดยทั่วไปเคารพบูชาวัดนี้ในฐานะวัดที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของทิเบต ปัจจุบันวัดโชคังอยู่ในนิกายเกลุก แต่ก็เปิดรับพุทธศาสนิกชนจากทุกนิกาย สถาปัตยกรรมของวัดผสมผสานวิหาร อย่างอินเดีย, ทิเบต และเนปาล
วัดนี้ถือเป็น "หัวใจทางจิตวิญญาณของนครลาซ่า" และเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความเคารพสูงสุดในทิเบต ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของเครือข่ายวัดพุทธโบราณในลาซ่า รวมถึงเป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรมการค้าในลาซ่า โดยรอบของวัดเต็มไปด้วยถนนและซอกซอยที่มีร้านค้ามากมาย โชคังตั้งอยู่ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) ทางตะวันออกของพระราชวังโปตาลา โดยรอบของวัดเป็นจัตุรัสตลาดพาร์โกร์ ซึ่งมีทางเดินเท้าให้แก่ศาสนิกชนได้เดินจาริกรอบอาณาเขตของวัดซึ่งใช้เวลาเดินรอบราว 20 นาที
ประวัติศาสตร์
ชาวทิเบตมองดินแดนของตนว่าถูกครอบครองโดยสิ่งมีชีวิตนามว่า srin ma (หรือ "sinma") ซึ่งเป็นปีศาจสตรีที่ต้านทานการเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา กษัตริย์ซงแจ็นกัมโป ปฐมกษัตริย์แห่งทิเบตหลังรวมแผ่นดิน[ 6] ได้ริเริ่มแผนเพื่อต้านกับพลังของปีศาจนี้โดยสร้างวัดจำนวนสิบสองแห่งทั่วดินแดนทิเบต โดยจะสร้างขึ้นในสามช่วง ช่วงแรกประกอบด้วยสี่วัดในใจกลางของทิเบต เรียกว่า "เขาสัตว์ทั้งสี่" (ru bzhi) สี่วัดต่อมาจะสร้างในพื้นที่ท่อยู่ห่างนอกออกไปอีก (mtha'dul) และสี่วัดสุดท้าย yang'dul สร้างอยู่ที่พรมแดนของทิเบต และโชคังสร้างขึ้นท้ายสุดเพื่อเป็นศูนย์กลางของ srin ma ถือเป็นการจบพลังของปีศาจตนนี้
ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดสร้างขึ้นในปี 652 โดยซงแจ็นกัมโป กษัตริย์องค์นี้ได้ร่อนหมวก (บ้างว่าเป็นแหวน) ออกไปเพื่อหาสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัด หมวกนั้นหล่นลงในทะเลสาบหนึ่ง และทันใดนั้นก็มีสถูป ผุดขึ้นมาจากทะเลสาบ วัดโชคังจึ้งสร้างขึ้นตรงที่นี้ ในตำนานอีกรูปแบบหนึ่งเล่าว่าราชินี Bhrikuti สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อประดิษฐานเทวรูปที่ได้นำมา และราชินี Wencheng ได้เลือกที่ตรงนี้ตามหลักฮวงจุ้ย ของจีน[ 6] ทะเลสาบที่ว่านั้นถูกถมขึ้นมาและสร้างวัดขึ้นบนที่ที่ถมขึ้นมานั้น ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นเพียงบ่อน้ำเล็ก ๆ ตลอดเก้าศตวรรษถัดมา วัดมีการขยับขยายออกเรื่อยมา ครั้งสุดท้ายคือในปี 1610 โดยองค์ทาไลลามะที่ห้า
สมัยที่จีนเข้ายึดครองทิเบตและเข้ามาทำการพัฒนาพื้นที่ลาซ่า รัฐบาลจีนได้ทำลายทางเดินรอบวัดที่เชื่อมกับลานจัตุรัสด้านหน้าทิ้ง ทางเดินภายมนถูกแปลงเป็นตลาดนัด เหลือทางเดินให้แก่ผู้มาจาริกแสวงบุญเพียงเล็กน้อย ส่วนศาสนวัตถุต่าง ๆ ในจัตุรัสหน้าวัดถูกนำไปขายทิ้ง ต่อมาในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม ยุวชนแดง ได้เข้าโจมตีวัดโชคังในปี 1966 เริ่มต้นในวันที่ 24 สิงหาคม[ 10] [ 11] และนับจากนั้นเป็นเวลาร่วมทศวรรษ ไม่มีการประกอบศาสนกิจภายในโชคังและพุทธารามทิเบตใด ๆ อีก โชคังเริ่มถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งในปี 1972 แล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ในปี 1980 หลังจากนั้นวัดได้กลับมาประกอบศาสนกิจดังเดิม ปัจจุบันวัดเป็นศาสนสถานสำคัญของทิเบต ผู้คนมากมายเดินทางมาเพื่อสักการะเทวรูปของโชโพรินโปเช ภายในวิหารด้านในสุดของวัด ในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรมนั้น วัดโชคังรอดพ้นจากการถูกทำลายล้าง และมีบันทึกไว้ว่าวัดถูกล้อมปิดไม่ให้ใครเข้าจนถึงปี 1979 ในระหว่างนั้น มีบันทึกว่าภายในวัดโชคังบางส่วนถูกใช้งานเป็นโรงเลี้ยงหมู โรงฆ่าหมู และเป็นที่ตั้งของกองทัพจีน วรรณกรรมทิเบตภายในวัดถูกทหารเผาทิ้ง และในช่วงเวลาหนึ่ง วัดโชคังเคยถูกใช้เป็นโรงแรม
ในปี 2000 โชคังได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก โดยยูเนสโก ในฐานะส่วนต่อขยายของพระราชวังโปตาลา ซึ่งขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994[ 15]
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2018 เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณวัดที่เวลา 18:40 ตามเวลาท้องถิ่น มีภาพถ่ายและวิดีโอจำนวนมากที่ถูกเผยแพร่ไปบนสื่อสังคมของจีน แสดงให้เห็นหลังคาโค้งถูกเพลิงขนาดใหญ่โหมไหม้ และมีควันพวยพุ่งขึ้นมาจำนวนมาก แต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกปิดกั้นการมองเห็นและหายไปจากสื่อสังคมของจีน สำนักข่าวทางการของรัฐจีน Tibet Daily อ้างทางออนไลน์ว่าเพลิงไหม้ "ถูกดับอย่างรวดเร็ว" และ "ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต" ตามด้วย People's Daily ตีพิมพ์เนื้อหาเดียวกันนี้ออนไลน์และรายงานเพิ่มเติมว่า "พุทธศาสนวัตถุภายในวัดไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ" กระนั้น รายงานทั้งสองชุดนี้ไม่มีภาพประกอบ[ 16] วัดถูกปิดไม่ให้เข้าชมชั่วคราว ก่อนจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ตามข้อมูลของสำนักข่าวซินหัว [ 17] อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าจีวรสีเหลืองของเทวรูปโชโพรินโปเช พระองค์หลักของวัด เป็นผ้าชิ้นใหม่ รวมถึงคำสั่งห้ามมิให้ขึ้นไปชั้นสองของวัด ตามแหล่งข้อมูลของ Radio Free Asia ภาคภาษาทิเบต[ 18]
อ้างอิง
บรรณานุกรม
An, Caidan (2003). Tibet China: Travel Guide . 五洲传播出版社. ISBN 978-7-5085-0374-5 .
Barnett, Robert (2010). Lhasa: Streets with Memories . Columbia University Press. ISBN 978-0-231-13681-5 .
Barron, Richard (10 February 2003). The Autobiography of Jamgon Kongtrul: A Gem of Many Colors . Snow Lion Publications. ISBN 978-1-55939-970-8 .
Brockman, Norbert C. (13 September 2011). Encyclopedia of Sacred Places . ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-655-3 .
Buckley, Michael (2012). Tibet . Bradt Travel Guides. ISBN 978-1-84162-382-5 .
Dalton, Robert H. (2004). Sacred Places of the World: A Religious Journey Across the Globe . Abhishek. ISBN 978-81-8247-051-4 .
Davidson, Linda Kay; Gitlitz, David Martin (2002). Pilgrimage: From the Ganges to Graceland : an Encyclopedia . ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-004-8 .
Dorje, Gyurme (2010). Jokhang: Tibet's Most Sacred Buddhist Temple . Edition Hansjorg Mayer. ISBN 978-5-00-097692-0 .
Huber, Toni (15 September 2008). The Holy Land Reborn: Pilgrimage and the Tibetan Reinvention of Buddhist India . University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-35650-1 .
Jabb, Lama (10 June 2015). Oral and Literary Continuities in Modern Tibetan Literature: The Inescapable Nation . Lexington Books. ISBN 978-1-4985-0334-1 .
Klimczuk, Stephen; Warner, Gerald (2009). Secret Places, Hidden Sanctuaries: Uncovering Mysterious Sites, Symbols, and Societies . Sterling Publishing Company, Inc. ISBN 978-1-4027-6207-9 .
Laird, Thomas (10 October 2007). The Story of Tibet: Conversations with the Dalai Lama . Grove Press. ISBN 978-0-8021-4327-3 .
Mayhew, Bradley; Kelly, Robert; Bellezza, John Vincent (2008). Tibet. Ediz. Inglese . Lonely Planet. ISBN 978-1-74104-569-7 .
McCue, Gary (1 March 2011). Trekking Tibet . The Mountaineers Books. ISBN 978-1-59485-411-8 .
Perkins, Dorothy (19 November 2013). Encyclopedia of China: History and Culture . Taylor & Francis. ISBN 978-1-135-93569-6 .
Powers, John (25 December 2007). Introduction to Tibetan Buddhism . Snow Lion Publications. ISBN 978-1-55939-835-0 .
Representatives, Australia. Parliament. House of (1994). Parliamentary Debates Australia: House of Representatives . Commonwealth Government Printer.
Service, United States. Foreign Broadcast Information (1983). Daily Report: People's Republic of China . National Technical Information Service.
von Schroeder, Ulrich. 2001. Buddhist Sculptures in Tibet . Vol. One: India & Nepal ; Vol. Two: Tibet & China . (Volume One: 655 pages with 766 illustrations; Volume Two: 675 pages with 987 illustrations). Hong Kong: Visual Dharma Publications, Ltd. ISBN 962-7049-07-7
von Schroeder, Ulrich. 2008. 108 Buddhist Statues in Tibet . (212 p., 112 colour illustrations) (DVD with 527 digital photographs mostly of Jokhang Bronzes). Chicago: Serindia Publications. ISBN 962-7049-08-5
ทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ แบบผสม หมายเหตุ: ใช้ชื่อตามที่ได้เสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก