โคโรนาแว็ก

โคโรนาแว็ก
ขวดวัคซีนโคโรนาแว็ก
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้โควิด-19
ชนิดไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว (inactivated)
ข้อมูลทางคลินิก
ช่องทางการรับยาฉีดในกล้ามเนื้อ
รหัส ATC
  • None
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ตัวบ่งชี้
DrugBank
สารานุกรมเภสัชกรรม

โคโรนาแว็ก (อังกฤษ: CoronaVac) หรือวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก (อังกฤษ: Sinovac COVID-19 vaccine)[1] เป็นวัคซีนไวรัสโควิด-19 ชนิดเชื้อตายที่บริษัทยาจีนคือซิโนแว็กไบโอเทค (เรียกสั้น ๆ ว่า ซิโนแว็ก) เป็นผู้พัฒนาขึ้น[2] การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ได้ทำในประเทศบราซิล[3] ชิลี[4] อินโดนีเซีย[5] ฟิลิปปินส์[6] และตุรกี[7] เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมแล้วเหมือนกับวัคซีนโควิด-19 เชื้อตายอื่น ๆ รวมทั้งวัคซีนของซิโนฟาร์มและโคแว็กซินของบริษัทภารัตไบโอเทค[8] วัคซีนไม่ต้องแช่แข็ง คือทั้งวัคซีนและวัตถุดิบของวัคซีนสามารถส่งโดยแช่เย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอุณหภูมิเดียวกับที่ใช้เก็บวัคซีนไข้หวัดใหญ่[9]

ผลการศึกษาจริงกับชาวชิลีเกินกว่า 10 ล้านรายที่ได้รับโคโรนาแว็กที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพระงับการติดเชื้อแบบแสดงอาการในอัตราร้อยละ 66, ลดการเข้าโรงพยาบาล ร้อยละ 88, และลดการเสียชีวิตได้ร้อยละ 86[10] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 ผลการศึกษาจริงกับบุคลากรทางแพทย์เกิน 128,000 คนในอินโดนีเซียพบว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการร้อยละ 94 ป้องกันการติดเชื้อที่ต้องเข้า รพ. ได้ร้อยละ 96 และป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 98[11][12] ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ผลเบื้องต้นของการศึกษาจริงกับประชากรร้อยละ 75 (จากประมาณ 46,000 คน) ผู้ได้รับวัคซีนนี้ในเมืองเซอร์ฮานา (Serrana) รัฐเซาเปาลู บราซิล แสดงว่า อัตราการติดเชื้อแบบแสดงอาการลดลงร้อยละ 80 การเข้าโรงพยาบาล ลดลงร้อยละ 86 และการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 95[13][14]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 จากบราซิลแสดงประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ร้อยละ 50.7 และป้องกันจากการติดเชื้อที่มีอาการเบาแต่ต้องรักษาที่ร้อยละ 83.7 การป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.3 ถ้าฉีดโดสที่สอง 21 วันหรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[15] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 สุดท้ายจากตุรกีแสดงประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 83.5[16]

วัคซีนกำลังใช้ในโปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศในเอเชีย[17][18][19] อเมริกาใต้[20][21][22] อเมริกาเหนือ[23][24][25] และยุโรป[26][27] จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 บริษัทมีสมรรถภาพการผลิตวัคซีนถึง 2,000 ล้านโดสต่อปี[28] และได้จัดส่งวัคซีนแล้ว 600 ล้านโดสทั่วโลก[29] วัคซีนปัจจุบันผลิตในประเทศจีน[28] แต่มีแผนจะผลิตในบราซิล (กันยายน 2021)[30] อียิปต์[31] และฮังการี[32]

ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2021 องค์การอนามัยโลกได้อนุมัติโคโรนาแว็กให้อยู่ในรายการให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[29][33][34] ซึ่งในเวลานั้น มีคนได้ฉีดวัคซีนนี้แล้วเกิน 430 ล้านโดสทั่วโลก[29]

ในต้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ประเทศไทยได้สั่งวัคซีน 2 ล้านโดสแรก[35] และขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์[36] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในเดือนเดียวกัน[18] จนถึงวันที่ 10 มิถุนายนปีเดียวกัน ประเทศไทยได้รับวัคซีนนี้แล้วทั้งหมด 7.5 ล้านโดส[37]

ความขัดแย้งทางการเมือง ความโปร่งใส และการขาดรายละเอียดข้อมูลทางการทดลองอาจก่อความไม่เชื่อใจในวัคซีนนี้[38][39][40][41]

เทคโนโลยี

โคโรนาแว็กเป็นวัคซีนเชื้อตาย (inactivated) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผลิตวัคซีนเดิมที่มีอยู่แล้ว[42][8] เหมือนกับที่ใช้ในวัคซีนโปลิโอเชื้อตาย การผลิตวัคซีนเริ่มต้นที่การเพาะเชื้อไวรัสโควิด-19 คือ SARS-CoV-2 ด้วยวีโรเซลล์เป็นจำนวนมาก ๆ จากนั้นจึงชุบไวรัสลงในสารประกอบอินทรีย์คือเบตาโพรพิโอแล็กโทน (β-Propiolactone) ซึ่งฆ่าเชื้อโดยเข้าเชื่อมกับยีนของไวรัสแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับอนุภาคไวรัส ผลิตภัณฑ์ไวรัสที่ได้ก็จะเติมตัวเสริม (adjuvant) ที่เป็นสารประกอบเชิงอะลูมิเนียม[43]

วัคซีนไม่ต้องแช่แข็งเป็นพิเศษ ทั้งวัคซีนและวัตถุดิบของวัคซีนสามารถส่งโดยแช่เย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอุณหภูมิเดียวกับที่ใช้เก็บวัคซีนไข้หวัดใหญ่[9] วัคซีนสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นแช่ยาธรรมดาได้ถึง 3 ปี ซึ่งอาจเป็นข้อดีสำหรับการแจกจำหน่ายวัคซีนในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ไร้โซ่เย็น[44] คือ สมรรถภาพในการเก็บและขนส่งวัคซีนในอุณหภูมิที่ต่ำมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019#โซ่เย็น และโซ่เย็น

ประสิทธิภาพและประสิทธิศักย์ของวัคซีน

ขวดเปล่าของวัคซีน

สถานการณ์จริง

ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 มีการประกาศผลงานศึกษาในเมืองเซอร์ฮานา (Serrana) รัฐเซาเปาลู บราซิล ที่มีประชากรประมาณ 46,000 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่พยายามให้วัคซีนโคโรนาแว็กแก่ประชาชนผู้ใหญ่ทั้งหมด[45] คือหลังจากที่ประชากรผู้ใหญ่ร้อยละ 75 ได้รับวัคซีน ผลเบื้องต้นแสดงว่าอัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 95, การเข้า โรงพยาบาลลดลงร้อยละ 86 และการติดเชื้อแบบแสดงอาการลดลงร้อยละ 80 ผู้อำนวยการสถาบันการวิจัยผลิตผลทางชีวภาพ (Instituto Butantan) กล่าวว่า "ผลสำคัญสุดที่ได้ก็คือความเข้าใจว่าเราสามารถคุมการระบาดทั่วได้โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรทั้งหมด"[46][47]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 มีรายงานสถานการณ์จริงจากอินโดนีเซียซึ่งแสดงประสิทธิภาพของวัคซีนที่ดีกว่าผลการทดลองทางคลินิก ซึ่งพบว่า บุคลากรทางแพทย์ที่ได้วัคซีนร้อยละ 94 ไม่ติดโรคโควิด-19 ที่แสดงอาการ[11] ในบรรดาบุคลากรทางแพทย์ 128,290 คนในนครจาการ์ตา[48] ผู้ที่ได้วัคซีนน้อยกว่าร้อยละ 1 ติดโรคที่แสดงอาการ เทียบกับร้อยละ 8 ในกลุ่มที่ไม่ได้วัคซีน วัคซีนยังลดความเสี่ยงต้องเข้าโรงพยาบาลได้ร้อยละ 96 และลดความเสี่ยงเสียชีวิตร้อยละ 98 อีกด้วย[49][50]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 อุรุกวัยตีพิมพ์ข้อมูลสถานการณ์จริงกับประชากร 795,684 คนที่ได้รับวัคซีนนี้ทั้งสองโดสเกิน 14 วันจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน ในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนนี้ 8,298 คนตรวจเจอเชื้อ 45 คนได้รับเข้าห้องผู้ป่วยหนัก และ 35 คนเสียชีวิตเนื่องกับโควิด-19 ซึ่งชี้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพลดการติดโรคสำหรับคนอายุ 18-49 ปีร้อยละ 65 และสำหรับคนอายุ 50 ปีหรือยิ่งกว่าร้อยละ 62 มีประสิทธิภาพลดการต้องเข้าห้องผู้ป่วยหนักร้อยละ 95 และ 92 ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพป้องกันความตายร้อยละ 95 สำหรับทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มบุคลากรทางแพทย์ที่ได้รับวัคซีนทั้งสองโดส วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค และเต็มร้อยในการต้องเข้าห้องผู้ป่วยหนักและเสียชีวิต[51]

ในเดือนกรฎาคม ค.ศ. 2021 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาจริงกับชาวชิลีประมาณ 10.2 ล้านรายที่ได้รับโคโรนาแว็กระหว่างต้นเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 โดยพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพระงับการติดเชื้อแบบแสดงอาการในอัตราร้อยละ 65.9, ลดการเข้าโรงพยาบาล ร้อยละ 87.5, ลดการเข้าห้องไอซียูร้อยละ 90.3 และลดการตายร้อยละ 86.3 งานศึกษาสรุปว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันโควิดโดย "สมกับผลการทดลองวัคซีนระยะที่ 2"[10] ในเดือนเมษายน องค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า งานศึกษานี้ทำอยู่ในขณะที่สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และแกมมา (บราซิล) กำลังระบาด[52]

การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3

ในวันที่ 11 เมษายน งานทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในบราซิลที่ส่งแก่วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต (แต่ยังไม่ได้การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน) แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการร้อยละ 50.7 ป้องกันการติดเชื้อแบบอาการเบาแต่ต้องต้องรักษาร้อยละ 83.7 การป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.3 ถ้าฉีดโดสที่สอง 21 วันหรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก มีอาสาสมัคร 12,396 คนในงานที่ทำระหว่าง 21 กรกฎาคมจนถึง 16 ธันวาคม ค.ศ. 2020 อาสาสมัครทุกท่านได้รับวัคซีนหรือยาหลอกอย่างน้อยหนึ่งโดส โดย 9,823 คนได้ทั้งสองโดส[15]

รายละเอียดที่ตีพิมพ์เพิ่มแสดงประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการที่ 50.65% (95% CI, 35.6662.15%), ป้องกันการติดเชื้อที่ต้องรักษาที่ 83.70% (57.9993.67%) และป้องกันกรณีที่รุนแรง หรือต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิตที่ 100.00% (56.37100.00%) ในกลุ่มที่ได้ยาหลอกจำนวน 4,870 คน มีคนติดโรค 168 คน ในคนที่ติดโรค 30 คนจำเป็นต้องรักษาโดย 10 คนมีอาการหนักรวมทั้งคนหนึ่งที่เสียชีวิต ส่วนในกลุ่มที่ได้วัคซีน 4,953 คน มีคนติดโรค 85 คน และ 5 คนต้องรักษาโดยไม่มีคนใดมีอาการหนักหรือเสียชีวิต[53][54]

ผลการทดลองระยะที่ 3 สุดท้ายในตุรกีแสดงประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 83.5 ซึ่งคำนวณจากอาสาสมัครที่ติดเชื้อ 41 คน ในบรรดาคนติดเชื้อ 32 คนได้ยาหลอก วัคซีนป้องกันการเข้า รพ. และการป่วยที่มีอาการรุนแรงได้เต็มร้อย โดยมีคนในกลุ่มยาหลอก 6 คนที่เข้า รพ. งานศึกษานี้มีอาสาสมัคร 13,000 คน[16]

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2021 รายงานเบื้องต้น (preliminary)[55] จากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศชิลี[56] ระบุว่า วัคซีนปลอดภัยและก่อภูมิต้านทานทั้งในน้ำเหลืองและที่เซลล์อำนวย โดยเกิดทั้งในผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 18-59 ปี) และคนชรา (60 ปีหรือยิ่งกว่า) เป็นผลเหมือนกับการทดลองระยะที่ 2 ก่อนที่ทำในจีนซึ่งแบ่งกลุ่มคนเช่นเดียวกัน และฉีดยาเหมือน ๆ กันคือ 2 โดสห่างกัน 14 วัน ผลไม่พึงประสงค์มีอาการเบาและเป็นเฉพาะที่ โดยหลักเป็นการเจ็บจุดที่ฉีด ซึ่งสามัญกว่าในผู้ใหญ่

อัตราการเกิดสารภูมิต้านทาน (seroconversion) ในผู้ใหญ่หลังจากได้วัคซีนโดสที่สอง 14-28 วันอยู่ที่ร้อยละ 95.6 สำหรับอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ที่ต้าน S1-RBD (เป็น receptor binding domain ของหน่วยย่อย S1 ของโปรตีนหนามของโควิด-19) โดยเฉพาะ และที่ร้อยละ 96 สำหรับ IgG ทำลายฤทธิ์ (neutralizing) ส่วนสำหรับคนชรา อัตราการเกิด IgG ต้าน S1-RBD เต็มร้อยหลังวันที่ 14 และอยู่ที่ร้อยละ 87.5 หลังวันที่ 28 จากการได้วัคซีนโดสที่สอง และอัตราการเกิด IgG ทำลายฤทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 90 หลังวันที่ 14 และเต็มร้อยหลังวันที่ 28 จากการได้โดสที่สอง

แม้วัคซีนจะมีโปรตีนเอ็นมาก แต่สารภูมิต้านทานแบบ IgG ที่ต่อต้านโปรตีนเอ็น (nucleocapsid protein) โดยเฉพาะก็เกิดน้อย ซึ่งเหมือนกับที่พบในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ดี ก็ยังเกิดเซลล์ทีเฮลเปอร์ (CD4+) ที่หลั่ง Interferon gamma (IFNγ) จำนวนมากซึ่งตรวจพบ 14 วันหลังได้วัคซีนทั้งสองโดสโดยเป็นการตอบสนองต่อการได้เพปไทด์ของโปรตีนเอส (S protein) และอนุภาคไวรัสอื่น ๆ ในคนชรา การตอบสนองต่อเพปไทด์ของโปรตีนเอสมีน้อยกว่าเพราะมี CD4+ แบบออกฤทธิ์ที่น้อยกว่าในคนกลุ่มนี้ ซึ่งก็พบเช่นกันในการศึกษาวัคซีนอื่น 

ส่วนการตอบสนองด้วย cytotoxic T cell (CD8+) ไม่ได้ดีเท่า อย่างไรก็ดี ปฏิกิริยาของ CD4+ T cell จัดเป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่สมดุลและสามารถกำจัดไวรัสได้ เหมือนกับที่พบในวัคซีนโควิด-19 อื่น ๆ เช่น วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของแคนซิโนไบโอลอจิกส์

ความต่าง ๆ ของประสิทธิศักย์

เจ้าหน้าที่ในบราซิลระบุว่า ค่าประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 50.4 ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประกาศรวมเอากรณีคนติดโรคที่มีอาการ "เบามาก" อันไม่ได้รวมเข้าในการวิเคราะห์ครั้งก่อน[57][58] ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของสถาบันการวิจัยผลิตผลทางชีวภาพ (Instituto Butantan) ระบุว่า ค่าต่ำกว่าเพราะใช้มาตรฐานที่เข้มกว่าในการนับคนติดเชื้อในการทดลอง[59] โดยสถาบันได้แบ่งคนติดเชื้อออกเป็นหกกรณีคือ ไม่แสดงอาการ อาการเบามาก อาการปานกลาง 2 ระดับ และอาการรุนแรง สองพวกแรกไม่จำเป็นต้องไปหาแพทย์[57][58] คำอธิบายต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ว่าทำไมประสิทธิศักย์จึงต่ำกว่ารวมทั้ง

  • อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางแพทย์จึงเสี่ยงติดไวรัสมากกว่า[58] (การทดลองในตุรกีและอินโดนีเซีย อาสาสมัครมีลักษณะคล้าย ๆ กับกลุ่มประชากรทั่วไป[60])
  • วัคซีนฉีดสองโดสโดยห่างกันสั้นกว่าทั่ว ๆ ไป (แค่สองสัปดาห์)[58][61]
  • คนติดเชื้อที่มีอาการเบามากนับอยู่ในส่วนว่า กันโรคไม่ได้[58][62]
  • สายพันธุ์แกมมาซึ่งติดได้ง่ายกว่าและอาจหลบภูมิคุ้มกันได้ กำลังระบาดในประเทศ[62]

สายพันธุ์อื่น 

ในวันที่ 10 มีนาคม ผู้อำนวยการของสถาบันวิจัย Instituto Butantan แห่งบราซิลกล่าวว่า วัคซีนนี้ใช้ได้ผลกับสายพันธุ์โควิด-19 3 สายพันธุ์ที่มีในประเทศ คือ อัลฟา (อังกฤษ) เดลตา (แอฟริกาใต้) และ P.1.1.28 อย่างสุดท้ายเป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) ที่พบในเมืองมาเนาส์ และสายพันธุ์ซีตา (P.2) ที่พบในกรุงรีโอเดจาเนโร[63]

เพราะวัคซีนนี้และวัคซีนโควิด-19 เชื้อตายอื่น ๆ มีส่วนทุกส่วนของไวรัสโควิด-19 จึงอาจทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดีกว่าวัคซีนอื่น ๆ ซึ่งมีเพียงแค่ส่วนบางส่วนของโปรตีนหนามที่ไวรัสอาศัยทำเซลล์ให้ติดเชื้อ[63] ผลเบื้องต้นจากงานศึกษาขนาดใหญ่กับแพทย์พยาบาลแสดงนัยว่า วัคซีนนี้โดสหนึ่งมีผลร้อยละ 50 ต่อต้านการติดเชื้อที่แสดงอาการในเมืองมาเนาส์ ซึ่งเป็นเมืองที่กรณีติดโรคใหม่ ร้อยละ 75 เกิดจากสายพันธุ์แกมมาอันติดต่อได้ง่ายกว่า[64]

การทดลองทางคลินิก

ระยะที่ 1-2

ในการทดลองระยะที่ 2 ที่เสร็จในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 แล้วตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อังกฤษเดอะแลนซิต วัคซีนโคโรนาแว็กก่อสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ (seroconversion, neutralising antibodies) ร้อยละ 92 ในอาสาสมัคร 118 คนในกลุ่มที่ให้ยา 3 ไมโครกรัม และร้อยละ 98 ในกลุ่ม 119 คนที่ให้ยา 6 ไมโครกรัม โดยให้วัคซีนสองครั้งในวันที่ 0 และ 14 นี่เทียบกับการให้ยาในวันที่ 0 และ 28 ที่เกิดสารภูมิต้านทานกำจัดฤทธิ์ที่ร้อยละ 97 สำหรับกลุ่มแรก (117 คน) และเต็มร้อยสำหรับกลุ่มที่สอง (118 คน)[65]

ในเดือนพฤษภาคม บริษัทได้เริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 1-2 ในประเทศจีนกับอาสาสมัครอายุเกิน 60 ปี และในเดือนกันยายนกับเด็กอายุระหว่าง 3-17 ปี[66] ผลการทดลองระยะที่สองกับผู้สูงอายุได้พิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนซิตซึ่งแสดงว่า วัคซีนปลอดภัยและทนรับได้ดีในคนสูงอายุ โดยวัคซีนขนาด 3 ไมโครกรัมและขนาด 6 ไมโครกรัมก่อสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์พอ ๆ กัน[67]

ระยะที่ 2-3

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ซิโนแว็กเริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2-3 กับผู้มีอายุระหว่าง 60-80 จำนวน 352 คนในประเทศฟิลิปปินส์[68]

ระยะ 2

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 ซิโนแว็กเริ่มการทดลองทางคลินิกระยะ 2b ในประเทศจีนกับอาสาสมัครเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปี[69]

ระยะที่ 3

ละตินอเมริกา

ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 บริษัทได้เริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 เพื่อประเมินประสิทธิศักย์และความปลอดภัยกับบุคลากรทางแพทย์ 9,000 คนในประเทศบราซิล โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยบราซิล คือ Instituto Butantan[70][71] วันที่ 19 ตุลาคม ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูระบุว่า ผลเบื้องต้นของงานศึกษาทางคลินิกในบราซิลได้พิสูจน์แล้วว่า ในบรรดาวัคซีนต่าง ๆ ที่กำลังทดลองอยู่ในบราซิล โคโรนาแว็กปลอดภัยที่สุด และมีอัตราการป้องกันโรคที่ดีสุด[72] ในวันที่ 23 ตุลาคม รัฐจึงประกาศเปิดศูนย์อีก 6 แห่งเพื่อทดลองวัคซีนในอาสาสมัครเพิ่มโดยรวมเป็นจำนวน 13,000 คน[73]

บราซิลระงับการทดลองระยะที่ 3 อย่างสั้น ๆ ในวันที่ 10 พฤศจิกายนหลังจากอาสาสมัครคนหนึ่งได้ฆ่าตัวตายโดยไม่เกี่ยวกับวัคซีนก่อนจะดำเนินการต่อในวันที่ 11[74][75]

อนึ่ง ในต้นเดือนสิงหาคม ชิลีก็ได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งจะรับอาสาสมัคร 3,000 คนผู้มีอายุระหว่าง 18-65 ปี[76]

ยุโรป

ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2020 ตุรกีได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 13,000 คนโดยให้วัคซีน 2 โดสห่างกัน 14 วัน[77] และทำที่ศูนย์ 25 แห่งในเมือง 12 เมืองทั่วประเทศ[78]

ริดวัน กามิล ผู้ว่าการจังหวัดชวาตะวันตกร่วมเป็นอาสาสมัครในการทดลองระยะที่ 3 สำหรับวัคซีนนี้ในอินโดนีเซีย

เอเชีย

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 บริษัทประกาศการทดลองในบังกลาเทศโดยรับอาสาสมัคร 4,200 คน[79] แต่หลังจากนั้นก็ได้หยุดชะงักเพราะบริษัทขอให้รัฐร่วมลงทุนด้วย[80] แต่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขก็ยืนยันว่า บังกลาเทศจะได้วัคซีนนี้แม้ไม่ได้ทำการทดลอง[81]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 บริษัทเริ่มการทดลองระยะที่ 3 ในอินโดนีเซียร่วมกับบริษัทยาของรัฐคือไบโอฟาร์มาในบันดุงโดยรับอาสาสมัคร 1,620 คน[82] ในเดือนพฤศจิกายน มหาวิทยาลัยการแพทย์ในจังหวัดชวาตะวันตกคือ Padjadjaran University Medical School ให้อัปเดตว่า การทดลองกำลังดำเนินไปด้วยดี โดยอาสามัคร "อย่างมากก็เป็นไข้เล็กน้อยซึ่งหายไปเองภายในสองวัน"[83]

ในเดือนตุลาคม ซิโนแว็กตกลงให้ซาอุดีอาระเบียแจกจำหน่ายวัคซีนแก่บุคลากรทางแพทย์ 7,000 คนหลังจากได้ดำเนินการทดลองระยะที่ 3 กับกองกำลังแห่งชาติคือ Saudi Arabian National Guard[84]

การผลิต

ขวดวัคซีนในบราซิลที่ผลิตโดยสถาบัน Butantan

ในเดือนเมษายน บริษัทระบุว่า โรงงานที่สามของบริษัทได้เริ่มผลิตองค์ประกอบของวัคซีนได้มากแล้ว ซึ่งเพิ่มสมรรถภาพการผลิตของบริษัทเป็นทวีคูณ คือเพิ่มเป็น 2,000 ล้านโดสต่อปี[28] ส่วนในอินโดนีเซีย บริษัทของรัฐคือไบโอฟาร์มาจะผลิตวัคซีนให้ได้ 250 ล้านโดสต่อปี[85]

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน บราซิลเริ่มสร้างโรงงานเพื่อผลิตวัคซีน 100 ล้านโดสต่อปี โดยวางแผนสร้างให้เสร็จสิ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021[86] ต่อมาวันที่ 10 ธันวาคม ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูจึงระบุว่า ในขณะที่กำลังสร้างโรงงานอยู่ สถาบันวิจัยเองมุ่งบรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์ให้ได้ 1 ล้านโดสต่อวัน[30]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ในอียิปต์ รัฐบาลอนุมัติข้อตกลงเพื่อผลิตวัคซีน 80 ล้านโดสต่อปีเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังประเทศแอฟริกาต่าง [31] ในเดือนเดียวกัน บริษัทไบโอฟาร์มาของอินโดนีเซียได้บรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์แล้ว 35 ล้านโดส แต่ก็กำลังผจญกับปัญหาการไม่ได้องค์ประกอบวัคซีนพอจากประเทศจีน[87]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 บริษัท Pharmaniaga ในมาเลเซียได้รับอนุมัติให้บรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์จากประเทศ[88] ในเดือนเดียวกัน ตุรกีได้ใบอนุญาตให้ผลิตโคโรนาแว็ก[89] ในปลายเดือนนี้ ฮังการีประกาศข้อตกลงในการบรรจุวัคซีนใส่ขวดแล้วปิดป้ายใส่บรรจุภัณฑ์ โดยมีแผนจะผลิตเองทั้งหมดในโรงงานใหม่ในเมืองแดแบร็ตแซ็น[32]

การตลาดและการแจกจำหน่าย

การอนุมัติและสิทธิการได้ความช่วยเหลือจากโคแวกซ์
ดูรายการประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
  อนุมัติเต็มตัว
  อนุมัติเป็นการฉุกเฉิน
  ประเทศที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากโคแวกซ์[90]
  สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) กำลังตรวจพิจารณาเพื่ออนุมัติ[91]

จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 จีนได้ผลิตส่งโคโรนาแว็กไปแล้ว 600 ล้านโดสทั่วโลก โดยได้ฉีดแล้ว 430 ล้านโดส องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2021[29][34][33]

เอเชีย

ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 จีนได้อนุมัติให้ใช้โคโรนาแว็กเป็นการฉุกเฉินกับกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางแพทย์[92] แล้วในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ก็ได้อนุมัติให้ใช้อย่างทั่วไป[19] ในต้นเดือนมิถุนายนต่อมา จีนก็อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินกับเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปี[93]

ในกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 อาเซอร์ไบจานเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนด้วยโคโรนาแว็ก โดยมีแผนซื้อวัคซีน 4 ล้านโดสแล้วฉีดให้แก่ประชากรร้อยละ 40 ของประเทศที่มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน[94]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 กัมพูชาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[95] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนในปลายเดือนมีนาคมเมื่อได้รับวัคซีน 1.5 ล้านโดสแรก (มีประชากรประมาณ 16 ล้าน)[96] โดยมีแผนสั่งเพิ่มอีก 4 ล้านโดส[97]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ฮ่องกงได้สั่งวัคซีนโคโรนาแว็กจำนวน 7.5 ล้านโดส (ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน)[98] การฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วไปก็เริ่มในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[99]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 อินโดนีเซียตกลงกับบริษัทให้ส่งวัคซีน 140 ล้านโดส[100] โดยจะมีราคา 200,000 รูปียะฮ์ (ประมาณ 425 บาท หรือ 13.57 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อโดสเมื่อได้ (แต่ละคนต้องได้สองโดส)[101] และได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินในกลางเดือนมกราคม 2021[102] ประธานาธิบดีอินโดนีเซียโจโก วีโดโดได้รับวัคซีนโดสแรก[17] การทดลองทางคลินิกในประเทศพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 65 ป้องกันกรณีติดโรคที่แสดงอาการทั้งหมด[17] จนถึงเดือนพฤษภาคม ประเทศได้รับวัคซีนแล้ว 92.9 ล้านโดส[103]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 บริษัทตกลงส่งวัคซีนให้มาเลเซีย 12 ล้านโดส[104] โดยวัคซีนได้อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินต่อมาในเดือนมีนาคม[105] รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นผู้ได้รับวัคซีนโดสแรกในกลางเดือนมีนาคมโดยเป็นการเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน[106]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ปากีสถานอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[107] และได้สั่งวัคซีน 5 ล้านโดส[108]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศว่าได้สั่งซื้อโคโรนาแว็ก 25 ล้านโดส[109] วัคซีนได้รับอนุมัติในปลายเดือนกุมภาพันธ์แต่ก็ไม่ให้ใช้กับแพทย์พยาบาลเพราะไม่ได้ผลดีเท่า โดยให้ใช้กับคนสุขภาพดีทั่วไปอายุระหว่าง 18-59 ปี วัคซีน 600,000 โดสแรกมาถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์[110] และก็เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในต้นเดือนมีนาคม[111] จนถึงกลางเดือนมิถุนายน ประเทศได้รับวัคซีนทั้งหมดแล้ว 7.5 ล้านโดส[112]

สิงคโปร์ได้เซ็นสัญญาซื้อวัคซีนโคโรนาแว็กล่วงหน้า[113] แล้วได้วัคซีนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[114] ต่อมาในเดือนมิถุนายน จึงขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นวัคซีนทางเลือก[115]

ประเทศไทย

ในต้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ประเทศไทยได้สั่งวัคซีน 2 ล้านโดสแรก[35] และลงทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์[36] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในเดือนเดียวกัน[18]

ในวันที่ 4 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 321.6 ล้านบาทเพื่อซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 500,000 โดสโดย 290.24 ล้านบาทจะเป็นค่าวัคซีน คิดเป็นประมาณโดสละ 580 บาท (ประมาณ 18.5 ดอลลาร์สหรัฐ)[116] ในวันที่ 20 พฤษภาคม องค์การเภสัชกรรมระบุว่า ไทยได้รับวัคซีนในเดือนนี้แล้ว 3.5 ล้านโดส รวมทั้งที่จีนบริจาคครึ่งล้านโดสซึ่งได้รับในวันที่ 14 พฤษภาคม รวมเป็นวัคซีนของบริษัทที่ไทยได้รับแล้วทั้งหมด 6 ล้านโดส วัคซีนที่ได้จะจัดเก็บและขนส่งโดยควบคุมอุณหภูมิซึ่งเป็นบริการของบริษัทดีเคเอสเอช (ประเทศไทย)[117]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขระบุในต้นเดือนมิถุนายนว่าระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนอีกทั้งหมด 11 ล้านโดสโดยแต่ละเดือนจะได้ 2.5-3 ล้านโดส ส่วนในเดือนมิถุนายนจะได้ 2.5 ล้านโดส คือ 5 แสนโดสในต้นเดือน 1 ล้านโดสตอนกลางเดือนและที่เหลือเมื่อสิ้นเดือน[118][119] จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน ประเทศไทยได้รับวัคซีนนี้แล้วทั้งหมด 7.5 ล้านโดส[37]

แอฟริกา

ยุโรป

ในเดือนพฤศจิกายน ตุรกีได้เซ็นสัญญาให้ส่งวัคซีนโคโรนาแว็ก 50 ล้านโดส (ประชากรประมาณ 82 ล้านคน) ระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์[120] แล้วอนุมัติให้ใช้โคโรนาแว็กเป็นการฉุกเฉินในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2021[121] โดยประธานาธิบดี เรเจป ไตยิป แอร์โดอันเองได้รับวัคซีนโดสแรกในวันเดียวกันที่ รพ. อังการาซิตี้[122] ในเดือนกุมภาพันธ์ ตุรกีสั่งวัคซีนเพิ่มอีก 50 ล้านโดสรวมทั้งหมดเป็น 100 ล้านโดส[26] จนถึงเดือนมีนาคม ประเทศได้ให้วัคซีนแก่คนเกินกว่า 10.7 ล้านคนโดยมีคน 852 คนจาก 1.3 ล้านคนที่ได้วัคซีนทั้งสองโดสแต่ก็เป็นโรค และ 53 คนต้องเข้า รพ. แต่ไม่มีใครต้องสอดท่อช่วยหายใจหรือเสียชีวิต[123]

ในเดือนมีนาคม แอลเบเนียเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนด้วยวัคซีนนี้เป็นหลัก[124] หลังจากที่ได้วัคซีนล้านโดสจากตุรกี[125] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 บอสเนียก็ได้รับบริจาควัคซีนนี้ 30,000 โดสจากตุรกีด้วย[126] ในเดือนเดียวกัน นอร์เทิร์นไซปรัสได้รับวัคซีน 80,000 โดสจากตุรกี[127] โดยจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ก็ได้รับบริจาควัคซีนนี้จากตุรกีแล้ว 190,000 โดส[128]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ประเทศจอร์เจียได้รับบริจาควัคซีนแสนโดสจากจีน[129] แล้วเริ่มฉีดให้ประชาชนในเดือนพฤษภาคม[130]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ยูเครนอนุมัติให้ใช้วัคซีน โดยบริษัทยาในประเทศ (Lekhim) ตกลงจะผลิตและส่งวัคซีนให้ 5 ล้านโดส[131] แล้วการให้วัคซีนแก่ประชาชนก็เริ่มเมื่อวันที่ 13 เมษายน[27]

ในเดือนเมษายน มอลโดวาก็ได้สั่งซื้อวัคซีน 400,000 โดส[132]

ในต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรปได้เริ่มตรวจพิจารณาเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้อย่างต่อเนื่อง[133]

ในเดือนมิถุนายน นอร์ทมาซิโดเนียได้รับบริจาควัคซีนนี้ 30,000 โดสจากตุรกี[128]

อเมริกาใต้

เลขาธิการกระทรวงสาธารณสุขของรัฐเซาเปาลู (ซ้าย) และประธานสถาบันวิจัยชีวสาร Instituto Butantan (ขวา) ถือกระบอกฉีดวัคซีนโคโรนาแว็กที่บรรจุยาแล้ว

ในบราซิล ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูได้เซ็นสัญญามีมูลค่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,819 ล้านบาท) กับบริษัทในเดือนกันยายนเพื่อให้ส่งวัคซีนในเบื้องต้น 46 ล้านโดส[134] ราคาวัคซีนประกาศว่าอยู่ที่ 10.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 323 บาท)[135] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 บราซิลประกาศว่าจะซื้อวัคซีนโคโรนาแว็กทั้งหมด 100 ล้านโดส[136] ต่อมาวันที่ 17 มกราคม องค์กรควบคุมสุขภาพบราซิล (Anvisa) จึงอนุมัติให้ใช้วัคซีนโคโรนาแว็กเป็นการฉุกเฉิน[137] ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ บราซิลระบุว่า จะสั่งวัคซีนเพิ่มอีก 30 ล้านโดสรวมเป็นทั้งหมด 130 ล้านโดส[20] จนถึงต้นเดือนเมษายน บราซิลได้รับวัคซีนนี้ทั้งหมด 39.7 ล้านโดสแล้ว[138]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 โบลิเวียอนุมัติให้ใช้วัคซีนโคโรนาแว็ก[139]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020  ชิลีได้เซ็นสัญญาซื้อวัคซีน 20 ล้านโดส[140] แล้วอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในวันที่ 20 มกราคม[141] จนถึงต้นเดือนมีนาคม ชิลีได้รับวัคซีน 10 ล้านโดสและได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชน 4.1 ล้านคนแล้ว[142]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 โคลัมเบียได้สั่งวัคซีน 5 ล้านโดส โดยกำลังเจรจาเพื่อซื้อเพิ่มอีก 5 ล้านโดส[143] และอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์[144]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 เอกวาดอร์ได้สั่งซื้อวัคซีน 2 ล้านโดสและได้อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[145] โดยวัคซีนล้านโดสแรกมาถึงต้นเดือนเมษายน[146][147]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ปารากวัยได้วัคซีน 20,000 โดสที่ชิลีบริจาคให้[148] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในวันที่ 10 มีนาคม[149]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 อุรุกวัยได้ซื้อวัคซีน 1.75 ล้านโดสจากบริษัท[150] โดย 192,000 โดสแรกมาถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในวันที่ 1 มีนาคม[22]

อเมริกาเหนือ

จนถึงวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2021 สาธารณรัฐโดมินิกันได้ฉีดวัคซีนนี้ให้ประชาชน 400,000 คน (ประชากรทั้งหมดประมาณ 11 ล้านคน) และได้สั่งเพิ่มอีก 10 ล้านโดส[24]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 เอลซัลวาดอร์ได้รับวัคซีน 1 ล้านโดสจาก 2 ล้านโดสที่ได้สั่งไว้ ครูของโรงเรียนรัฐจะได้รับโดสแรกระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 5 เมษายน[25]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 เม็กซิโกอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[151] และสั่งวัคซีน 20 ล้านโดส[152] จนถึงเดือนพฤษภาคม ประเทศได้รับวัคซีนแล้ว 7 ล้านโดส[153]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ปานามาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[154]

ข้อขัดแย้ง

ความขัดแย้งทางการเมือง

ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลู (João Doria) เป็นผู้เป็นหลักสนับสนุนโคโรนาแว็กในบราซิล เป็นผู้ที่หลายคนเชื่อว่าจะลงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแข่งกับฌาอีร์ โบลโซนารูในปี 2022[40] การเผชิญหน้าทางการเมืองได้เริ่มในเดือนตุลาคม 2020 เมื่อโบลโซนารูวีโต้ข้อตกลงระหว่างกระทรวงสุขภาพบราซิลร่วมกับรัฐบาลรัฐเซาเปาลูเพื่อซื้อวัคซีน 46 ล้านโดส[155] ต่อมาเมื่อสถาบัน Instituto Butantan ได้ประกาศประสิทธิศักย์ของวัคซีน โบลโซนารูก็ได้เยาะเย้ยประสิทธิภาพของวัคซีนในการต่อต้านโควิด-19[156]

ผู้ต่อต้านการทำวัคซีนให้เป็นเรื่องทางการเมืองได้เตือนว่า การไม่ทำตามเกณฑ์วิธีการทดสอบและเกณฑ์ความปลอดภัยทางสากลจะทำให้ประชาชนลังเลในการฉีดวัคซีน[40] ในปลายปี 2020 แพทย์ในรัฐเซาเปาลูกล่าวว่า มีปัญหาทำให้คนไข้เชื่อใจว่าว่าวัคซีนโคโรนาแว็กนั้นปลอดภัย[41]

โพลในเดือนมีนาคม 2021 พบว่า คนบราซิลเลือกวัคซีนโคโรนาแว็กและวัคซีนของแอสตราเซเนกาในอัตราร้อยละ 23.6 และ 21.2 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 11.3 ที่เลือกวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค[157] เมื่อวุฒิสภาบราซิลได้ไต่สวนปัญหาการระบาดทั่วในบราซิล สมาชิกวุฒิสภาพได้ออกความเห็นว่า คำพูดต่อต้านจีนทำให้บราซิลได้ฉีดวัคซีนอย่างล่าช้า[158]

ความโปร่งใส

ในวันที่ 14 ธันวาคม 2020 สำนักงานควบคุมสาธารณสุขบราซิลระบุว่า การให้อนุมัติเพื่อใช้ในประเทศจีนไม่ใช่เรื่องเปิดเผย คือไม่มีข้อมูลว่าใช้กฎเกณฑ์อะไรในการอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีนเดือนมิถุนายน 2020[159]

การขาดรายละเอียดข้อมูลทางการทดลอง

ในวันที่ 23 ธันวาคม 2020 นักวิจัยบราซิลแจ้งว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพเกินร้อยละ 50 แต่ก็ไม่เปิดเผยผลเต็มโดยทำตามคำขอของบริษัท ซึ่งสร้างคำถามอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับความโปร่งใสเนื่องจากเป็นการเลื่อนการเปิดเผยผลการทดลองเป็นครั้งที่สาม[39] นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การไร้ความโปร่งใสด้านข้อมูลเสี่ยงลดความน่าเชื่อถือของโคโรนาแว็ก โดยเฉพาะเมื่อคนบราซิลและคนอื่น ๆ ทั่วโลกก็ลังเลในการรับวัคซีนอยู่ก่อนแล้ว[38]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Corum, Jonathan; Zimmer, Carl. "How the Sinovac Vaccine Works". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
  2. Nidhi Parekh (2020-07-22). "CoronaVac: A COVID-19 Vaccine Made From Inactivated SARS-CoV-2 Virus". สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  3. "New coronavirus vaccine trials start in Brazil". AP News. 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
  4. "Chile initiates clinical study for COVID-19 vaccine". Government of Chile (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  5. "248 volunteers have received Sinovac vaccine injections in Bandung". Antara News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
  6. "DOH eyes 5 hospitals for Sinovac vaccine Phase 3 clinical trial". PTV News. 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
  7. "Turkey begins phase three trials of Chinese Covid-19 vaccine". TRT World News. 2020-09-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
  8. 8.0 8.1 Zimmer, Carl; Corum, Jonathan; Wee, Sui-Lee. "Coronavirus Vaccine Tracker". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  9. 9.0 9.1 "CoronaVac: Doses will come from China on nine flights and can..." AlKhaleej Today (ภาษาอาหรับ). 2020-11-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
  10. 10.0 10.1 Jara, Alejandro; Undurraga, Eduardo A.; González, Cecilia; Paredes, Fabio; Fontecilla, Tomás; Jara, Gonzalo; Pizarro, Alejandra; Acevedo, Johanna; Leo, Katherine; Leon, Francisco; Sans, Carlos; Leighton, Paulina; และคณะ (2021-07-07). "Effectiveness of an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine in Chile". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2107715. ISSN 0028-4793.
  11. 11.0 11.1 "China Sinovac Shot Seen Highly Effective in Real World Study". MSN (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  12. "Indonesia study finds China's Sinovac COVID-19 vaccine effective in medical staff". 2021-05-12.
  13. Savarese, Mauricio (2021-06-01). "Sinovac vaccine restores a Brazilian city to near normal". CTV News. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. Pearson, Samantha (2021-05-31). "Brazil's Experiment to Vaccinate Town With Chinese CoronaVac Reduced Covid-19 Deaths by 95%". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
  15. 15.0 15.1 Costa, Anna (2021-04-11). "Estudo clínico que comprova maior eficácia da Coronavac é enviado para Lancet" [Clinical study proving greater efficacy of Coronavac is submitted to The Lancet]. CNN Brasil (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). São Paulo. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  16. 16.0 16.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toscano2021
  17. 17.0 17.1 17.2 TARIGAN, EDNA; MILKO, VICTORIA (2021-01-13). "Indonesia starts mass COVID vaccinations over vast territory". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
  18. 18.0 18.1 18.2 "Thailand Kicks Off Covid-19 Vaccine Program With Sinovac Shots". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
  19. 19.0 19.1 "China approves Sinovac vaccines for general public use". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
  20. 20.0 20.1 Rochabrun, Marcelo. "Brazil health ministry says plans to order 30 million more Coronavac doses | The Chronicle Herald". www.thechronicleherald.ca (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. Miranda, Natalia A. Ramos (2021-01-28). "Chile receives two million-dose first delivery of Sinovac COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  22. 22.0 22.1 "BNamericas - Uruguay prepares to launch COVID-19 vaccinat..." BNamericas.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
  23. "Venustiano Carranza next up for Covid vaccination in Mexico City". Mexico News Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
  24. 24.0 24.1 "Anticovid vaccines run out as Dominican Republic awaits arrival of more doses". Dominican Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 "Llegan a El Salvador un millón de dosis de la vacuna china CoronaVac contra el covid-19 de la farmacéutica Sinovac". Noticias de El Salvador - La Prensa Gráfica | Informate con la verdad (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
  26. 26.0 26.1 "Turkey aims to vaccinate 60 percent of population: Minister - Turkey News". Hürriyet Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
  27. 27.0 27.1 "Vaccination with CoronaVac launched in Ukraine on April 13 - Health minister". www.unian.info (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
  28. 28.0 28.1 28.2 Liu, Roxanne (2021-04-02). "China Sinovac says it reached two billion doses annual capacity for COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 Nebehay, Stephanie (2021-06-01). "WHO approves Sinovac COVID vaccine, the second Chinese-made dose listed". Reuters. Geneva. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  30. 30.0 30.1 Mano, A; Simões, undefined (2020-12-10). "Chinese vaccine draws demand across Latin America, say Brazilian officials". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
  31. 31.0 31.1 "Egypt to produce up to 80 million Sinovac vaccine doses annually". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
  32. 32.0 32.1 "UPDATE 2-Hungarian vaccine plant to be fitted for production of Chinese Sinopharm shots -minister". Reuters. 2021-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
  33. 33.0 33.1 "WHO recommendation Sinovac COVID-19 vaccine (Vero Cell [Inactivated]) - CoronaVac". World Health Organization (WHO). 2021-05-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  34. 34.0 34.1 "WHO validates Sinovac COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization (WHO) (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  35. 35.0 35.1 "Thailand to get 2 million shots of China's Sinovac". Bangkok Post. Bangkok Post Public Company. 2021-01-04.
  36. 36.0 36.1 "Thailand gives emergency use authorisation for Sinovac's COVID-19 vaccine - official". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
  37. 37.0 37.1 "'วัคซีนซิโนแวค'ถึงไทยอีก1ล้านโดส เล็งซื้อเพิ่มเป็น 5 ล้านโดส/เดือน". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-06-10.
  38. 38.0 38.1 Pearson, Samantha; Magalhaes, Luciana (2021-01-12). "Chinese Covid-19 Vaccine Is Far Less Effective Than Initially Touted in Brazil". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12.
  39. 39.0 39.1 Fonseca, P. "Brazil institute says CoronaVac efficacy above 50%, but delays full results". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
  40. 40.0 40.1 40.2 Phillips, Tom (2020-11-10). "Jair Bolsonaro claims 'victory' after suspension of Chinese vaccine trial". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  41. 41.0 41.1 Pearson, Samantha; Magalhaes, Luciana (2020-11-10). "Brazil's Medical Experts Worry Politics Is Hampering Covid-19 Vaccine Progress". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  42. Tan, Y (2020-12-16). "Covid: What do we know about China's coronavirus vaccines?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  43. Corum, Jonathan; Zimmer, Carl (2021-04-26). "How the Sinovac Vaccine Works". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
  44. Staff (2020-09-07). "China's Sinovac coronavirus vaccine candidate appears safe, slightly weaker in elderly". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-07. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
  45. Magalhaes, Samantha Pearson and Luciana (2021-02-18). "Brazil Turns Sleepy Sugarcane Town Into Global Covid-19 Experiment". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
  46. "Mass vaccination creates healthy oasis in Brazilian city". Reuters. 2021-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
  47. "Sinovac vaccine restores a Brazilian city to near normal". Associated Press. 2021-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  48. Bhwana, Petir Garda (2021-05-17). "Indonesian Ministry Review Says Sinovac 98% Effective to Prevent Covid Deaths". Tempo. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
  49. "Indonesian Medics Find China Vaccine More Effective in Field". The Australian. 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  50. "UPDATE VAKSINASI COVID-19: Efektivitas Vaksin SinoVac Terhadap Tenaga Kesehatan" (ภาษาอินโดนีเซีย). 2021-05-12.
  51. "Segundo estudio de efectividad de vacunación anti SARS-CoV-2 en Uruguay al 8 de junio de 2021" (ภาษาสเปน). 2021-06-08.
  52. Toscano (2021), Protection against variants of concern, p. 29.
  53. Palacios, Ricardo; Batista, Ana Paula; Albuquerque, Camila Santos Nascimento; Patiño, Elizabeth González; Santos, Joane do Prado; Tilli Reis Pessoa Conde, Mônica; Piorelli, Roberta de Oliveira; Pereira Júnior, Luiz Carlos; Raboni, Sonia Mara; Ramos, Fabiano; Sierra Romero, Gustavo Adolfo; Leal, Fábio Eudes; Camargo, Luis Fernando Aranha; Aoki, Francisco Hideo; Coelho, Eduardo Barbosa; Oliveira, Danise Senna; Fontes, Cor Jesus Fernandes; Pileggi, Gecilmara Cristina Salviato; Oliveira, Ana Lúcia Lyrio de; Siqueira, André Machado de; Oliveira, Danielle Bruna Leal de; Botosso, Viviane Fongaro; Zeng, Gang; Xin, Qianqian; Teixeira, Mauro Martins; Nogueira, Maurício Lacerda; Kallas, Esper Georges (2021). "Efficacy and Safety of a COVID-19 Inactivated Vaccine in Healthcare Professionals in Brazil: The PROFISCOV Study". SSRN Electronic Journal. doi:10.2139/ssrn.3822780. ISSN 1556-5068.
  54. "Summary of Clinical Trial Data of Sinovac's COVID-19 Vaccine (CoronaVac)" (Press release). Sinovac Biotech. 2021-04-03. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  55. Bueno, Susan; Abarca, Katia; González, Pablo; Gálvez, Nicolás; Soto, Jorge; Duarte, Luisa; และคณะ (2021-04-01). "Interim report: Safety and immunogenicity of an inactivated vaccine against SARS-CoV-2 in healthy chilean adults in a phase 3 clinical trial" (Preprint). doi:10.1101/2021.03.31.21254494. ISSN 2125-4494 – โดยทาง medRxiv. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  56. Pontificia Universidad Catolica de Chile (2021-02-25). "Multicenter, Phase 3, Randomized Clinical Study to Evaluate the Efficacy, Safety and Immunogenicity of Two Vaccination Schedules of an Inactivated Vaccine Against SARS-CoV-2 Infection in Adults". Ministry of Health, Chile, Sinovac Biotech Co., Ltd. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  57. 57.0 57.1 "Overall Efficacy of Sinovac Vaccine in Brazil Just Above 50%". BNN Bloomberg. 2021-01-12.
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 58.4 "Brazil finds Sinovac's vaccine efficacy well below earlier findings". BusinessDay. 2021-01-12.
  59. "Why did the efficacy of China's top vaccine drop from 78% to 50%?". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2021-01-14.
  60. "Coronavac tem eficácia de 78% contra a Covid-19 em estudo no Brasil". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  61. "expert reaction to reported results of the Sinovac COVID-19 vaccine from a trial by the Butantan Institute in Brazil". Science Media Centre. 2021-01-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14.
  62. 62.0 62.1 "China's COVID vaccines are going global — but questions remain". Nature. 2021-05-21.
  63. 63.0 63.1 "Estudos mostram eficácia da CoronaVac contra três variantes do vírus". Agência Brasil (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
  64. Moutinho, Sofia (2021-04-09). "Chinese COVID-19 vaccine maintains protection in variant-plagued Brazil". Science | AAAS (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  65. Zhang, Yanjun; Zeng, Gang; Pan, Hongxing; Li, Changgui; Hu, Yaling; Chu, Kai; Han, Weixiao; Chen, Zhen; Tang, Rong; Yin, Weidong; Chen, Xin (2020-11-17). "Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine in healthy adults aged 18-59 years: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial". The Lancet Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 0. doi:10.1016/S1473-3099(20)30843-4. ISSN 1473-3099. PMID 33217362. S2CID 227099817. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-18.
  66. การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04551547 เรื่อง "A Randomized, Double-Blinded, Placebo-Controlled, Phase Ⅰ/Ⅱ Clinical Trial, to Evaluate the Safety and Immunogenicity of the SARS-CoV-2 Inactivated Vaccine (Vero Cell) in Healthy Population Aged 3-17 Years" ที่ ClinicalTrials.gov
  67. Wu, Zhiwei; Hu, Yaling; Xu, Miao; Chen, Zhen; Yang, Wanqi; Jiang, Zhiwei; Li, Minjie; Jin, Hui; Cui, Guoliang; Chen, Panpan; Wang, Lei (2021-02-03). "Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine (CoronaVac) in healthy adults aged 60 years and older: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial". The Lancet Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 0 (0). doi:10.1016/S1473-3099(20)30987-7. ISSN 1473-3099.
  68. "A Multi-center, Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase II/III Clinical Trial to Evaluate the Safety and Immunogenicity of a SARS-CoV-2 Inactivated (Vero Cell) Vaccine in the Elderly 60-80 Years of Age, Coronovac ENCOV19 Study". registry.healthresearch.ph. Philippine Health Research Registry. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
  69. "Safety of an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine (CoronaVac) in Children and Adolescents". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  70. Savarese, Mauricio (2020-07-21). "New coronavirus vaccine trials start in Brazil". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
  71. Palacios, Ricardo; Patiño, Elizabeth González; de Oliveira Piorelli, Roberta; Conde, Monica Tilli Reis Pessoa; Batista, Ana Paula; Zeng, Gang; Xin, Qianqian; Kallas, Esper G.; Flores, Jorge; Ockenhouse, Christian F.; Gast, Christopher (2020-10-15). "Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled Phase III Clinical Trial to Evaluate the Efficacy and Safety of treating Healthcare Professionals with the Adsorbed COVID-19 (Inactivated) Vaccine Manufactured by Sinovac - PROFISCOV: A structured summary of a study protocol for a randomised controlled trial". Trials. 21 (1): 853. doi:10.1186/s13063-020-04775-4. ISSN 1745-6215. PMC 7558252. PMID 33059771. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
  72. "World's vaccine testing ground deems Chinese COVID candidate 'the safest, most promising'". Fortune (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
  73. "Doria says it guarantees purchase of 100 million doses of CoronaVac..." AlKhaleej Today (ภาษาอาหรับ). 2020-10-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  74. "Brazil Clears Sinovac Trial to Resume Two Days After Halting It". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
  75. "Brazil's health regulator says China's Sinovac can resume Covid-19 vaccine trial after suspension". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
  76. "Chile initiates clinical study for COVID-19 vaccine". Government of Chile (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
  77. Health Institutes of Turkey (2020-10-08). "Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Phase III Clinical Trial For Evaluation of Efficacy and Safety of SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell), Inactivated". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  78. SABAH, DAILY (2020-11-23). "Chinese COVID-19 vaccine to be free, 1st doses to be delivered soon: Turkey's health minister". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
  79. Paul, Ruma (2020-08-27). "Bangladesh approves late-stage trial of China's Sinovac COVID-19 vaccine candidate" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-08-27.
  80. "Sinovac vaccine trial said to be stalled in Bangladesh over funding". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-09.
  81. ruchika (2020-10-14). "Bangladesh rejects Chinese Covid vaccine trials". medicaldialogues.in (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
  82. "248 volunteers have received Sinovac vaccine injections in Bandung". Antara News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
  83. antaranews.com. "Phase 3 Sinovac clinical trial running smoothly: research team". Antara News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
  84. "Virus vaccine waiting on Saudi 'green light'". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
  85. hermesauto (2020-10-12). "Indonesia aims to start administering coronavirus vaccines in early November". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
  86. "Sao Paulo starts building production plant for China's Sinovac vaccine - governor". Financial Post (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
  87. "Indonesia's Bio Farma Urged to Boost Covid-19 Vaccine Production Capacity". Antara (news agency). 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  88. "'Fill and finish' Sinovac vaccine by Pharmaniaga approved". Free Malaysia Today. 2021-04-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  89. "Sinovac allows its COVID-19 vaccine to be made in Turkey". Daily Sabah. 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  90. "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process". World Health Organization (WHO).
  91. "COVID-19 vaccines: under evaluation". European Medicines Agency.
  92. "Sinovac's coronavirus vaccine candidate approved for emergency use in China - source". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-31. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
  93. Karthikeyan, Suchitra (2021-06-05). "China Approves Emergency Use Of Sinovac's Coronavac On Children Aged 3-17 Years". Republic World.
  94. Aliyev, Jeyhun (2021-01-19). "Azerbaijan kicks off COVID-19 vaccination". Anadolu Agency.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  95. "Cambodian PM okays two more Covid-19 vaccines - Sinovac and AstraZeneca - for emergency use | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  96. "Health Ministry to start rolling out Sinovac vaccine tomorrow - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  97. "1.5 million doses of China's Sinovac vaccines arrive in Cambodia, The government plans to buy another 4 million doses - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
  98. "Government announces latest development of COVID-19 vaccine procurement (Hong Kong Government Press Releases)". Hong Kong Government. 2020-12-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-11.
  99. "Hong Kong kicks off COVID-19 vaccinations with Sinovac jab". AP NEWS. 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
  100. "Sinovac vaccine has no critical side effects, BPOM says". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
  101. Post, The Jakarta. "COVID-19 vaccine to be priced at Rp 200,000 per dosage: Bio Farma". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
  102. Soeriaatmadja, Wahyudi (2021-01-11). "Indonesia grants emergency use approval to Sinovac's vaccine, local trials show 65% efficacy". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  103. Murti, Markus Wisnu (2021-05-31). "Erick Thohir Receives Eight Million Doses of Sinovac Vaccine". Tempo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
  104. Choong, Jerry (2021-01-26). "Health Ministry: Malaysia secures 18.4 million doses of Russian, Chinese Covid-19 vaccines". The Malay Mail. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
  105. "Malaysia's NPRA Approves AstraZeneca, Sinovac Covid-19 Vaccines". CodeBlue. 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
  106. Babulal, Veena (2021-03-18). "KJ gets first dose of Sinovac vaccine [NSTTV] | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  107. "DRAP allows emergency authorisation to fifth Covid-19 vaccine". www.thenews.com.pk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  108. "Pakistan purchases over 30 million COVID doses from China: sources". ARY NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  109. "Duque says deal sealed for 25M doses of Sinovac COVID-19 vaccine". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-10.
  110. "Philippines receives COVID-19 vaccine after delays". AP NEWS. 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
  111. "Philippines Begins Vaccinations With China-Donated Sinovac Shots". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
  112. Cabico, Gaea Katreena. "1M more Sinovac COVID-19 jabs arrive in Philippines". Philstar.com. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
  113. Chen, F (2020-12-24). "Brazil joins ranks of Chinese vaccine backers". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
  114. "Singapore receives China's Sinovac vaccine ahead of approval". The Star. 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  115. Goh, Timothy (2021-06-02). "MOH allows special access to Sinovac Covid-19 vaccine through private healthcare sector". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  116. "Cabinet Approves a Fund to Buy More COVID-19 Vaccine". Foreign Office, The Government Public Relations Department. 2021-05-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
  117. "องค์การเภสัชกรรม รับมอบวัคซีนซิโนแวค จำนวน 1.5 ล้านโดสจากประเทศจีน ทำให้ยอดซิโนแวคถึงไทยแล้ว รวม 6 ล้านโดส และจะได้รับเพิ่มอีก 3 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายนนี้". nnt.thainews. 2021-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
  118. "Thailand to import 11 million Sinovac doses from June to August: Anutin". The nation. 2021-06-03.
  119. "Thailand to import 11 million Sinovac doses from June to August: Anutin". TheStar. 2021-06-03.
  120. Staff, Reuters (2020-11-25). "Turkey signs 50 million dose COVID-19 vaccine deal, health minister says". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
  121. "Turkey grants emergency authorization to Sinovac's CoronaVac: Anadolu". Reuters. 2021-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
  122. "Turkish president gets COVID-19 vaccine". Anadolu Agency (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
  123. SABAH, DAILY (2021-03-12). "Few virus infections reported among vaccinated people in Turkey". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
  124. Semini, Llazar. "Albania starts mass COVID vaccinations before tourist season". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  125. Staff, Reuters (2021-03-25). "Albania gets 192,000 doses of Chinese Sinovac vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
  126. Agency, Anadolu (2021-03-28). "Turkey sends Chinese COVID-19 vaccines to Bosnia-Herzegovina". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  127. Psyllides, George. "Coronavirus: 10,000 vaccines handed over to north | Cyprus Mail". cyprus-mail (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
  128. 128.0 128.1 "Turkey donates COVID-19 vaccines to North Macedonia". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  129. "China Donates 100,000 Sinovac Vaccines to Georgia". Civil.ge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
  130. "Covid-19 vaccination with Sinovac to start on 24 May in Georgia". Agenda.ge. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  131. Zinets, Natalia (2021-03-09). "Ukraine approves China's Sinovac COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
  132. Tanas, Alexander (2021-04-09). "Moldova to buy 400,000 doses of Sinovac COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  133. "EMA starts rolling review of COVID-19 Vaccine (Vero Cell) Inactivated". EMA - European Medicines Agency. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  134. Simoes, E (2020-09-30). "Brazil's Sao Paulo signs agreement with Sinovac for COVID vaccine doses". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
  135. Fonseca, I (2020-10-30). "CoronaVac May Be Four Times More Costly Than Flu Vaccine". The Rio Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  136. "Em meio a críticas por atrasos, Pazuello diz que Brasil está preparado para iniciar vacinação em janeiro". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  137. "Brazil clears emergency use of Sinovac, AstraZeneca vaccines, shots begin". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-01-17.
  138. Cardin, Adele (2021-04-12). "1.5 million Coronavac doses delivered to Brazilian government by Butantan". The Rio Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
  139. "Bolívia autoriza uso de vacinas Sputnik V e CoronaVac contra covid-19". noticias.uol.com.br (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  140. "Government meets with Sinovac for first COVID-19 vaccine clinical trial in Chile" (ภาษาอังกฤษ). Government of Chile. 2020-10-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-08.
  141. Presse, AFP-Agence France. "Chile Approves Chinese Coronavirus Vaccine". www.barrons.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
  142. "Fifth shipment with over two million Sinovac vaccines arrives to Chile". Chile Reports (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
  143. "Colombia extends health state of emergency, seeks more Sinovac vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  144. MENAFN. "Colombia declares emergency use of Sinovac vaccines". menafn.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
  145. "Ecuador signs agreement with Sinovac for 2 million COVID-19 vaccine: minister". nationalpost (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  146. "Ecuador recibe primeras 300.000 vacunas de Sinovac para ampliar inmunización". Primicias (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
  147. "A Ecuador llegaron 700 000 vacunas Sinovac contra el covid-19". El Comercio. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
  148. Valencia, Alexandra (2021-03-07). "Chile donates 40,000 doses of Sinovac vaccine to Ecuador and Paraguay". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  149. "CoronaVac, vacuna de alta eficacia". Ministerio de Salud Publica Y Bienestar Social.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  150. "Uruguay will receive first batches of Pfizer and Sinovac vaccines late February or early March: US$ 120 million investment". MercoPress (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
  151. "Mexico approves China's CanSino and Sinovac COVID-19 vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  152. Jorgic, Drazen (2021-03-10). "Mexico leans on China after Biden rules out vaccines sharing in short term". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  153. "Mexico breaks new COVID-19 vaccination record". Puerto Vallarta News. 2021-05-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  154. Moreno, Elida (2021-04-09). "Panama approves use of China's Sinovac vaccine against COVID-19". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
  155. Baptista, Eduardo (2020-12-11). "China-made coronavirus vaccine at heart of political showdown in Brazil". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  156. Carvalho, Daniel (2021-01-14). "'Is 50% Good?', Asks Bolsonaro, Mocking Coronavac's Effectiveness". Folha de S.Paulo. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  157. "Covid: 70% dos brasileiros não fazem questão de escolher vacina" [Covid: 70% of Brazilians do not make a point of choosing vaccine]. R7.com (ภาษาโปรตุเกส). 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  158. Boadle, Anthony (2021-05-18). "Brazil senators say anti-China views hurt access to COVID-19 vaccines". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  159. "Uso emergencial de vacinas: Anvisa estabelece prazo de até 10 dias para dar decisão" [Emergency use of vaccines: Anvisa establishes a period of up to 10 days to make a decision] (ภาษาโปรตุเกส). Anvisa. 2020-12-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

Read other articles:

Pour les articles homonymes, voir Colell. Judith ColellFonctionPrésident de l'Académie du cinéma catalandepuis 2021Isona PassolaBiographieNaissance 14 juillet 1968 (55 ans)BarceloneNationalité espagnoleDomicile Sant Cugat del VallèsFormation Université de New YorkUniversité de Barcelone (licence)Activités Réalisatrice, metteuse en scène, scénaristeConjoint Jordi Cadena (d)Autres informationsA travaillé pour Université Pompeu-Fabra (1997-2010)Université Raymond-LulleUniversi...

 

Artikel ini tidak memiliki referensi atau sumber tepercaya sehingga isinya tidak bisa dipastikan. Tolong bantu perbaiki artikel ini dengan menambahkan referensi yang layak. Tulisan tanpa sumber dapat dipertanyakan dan dihapus sewaktu-waktu.Cari sumber: Rapat Raksasa Lapangan Ikada – berita · surat kabar · buku · cendekiawan · JSTOR Presiden Sukarno berbicara di Rapat Raksasa Lapangan Ikada Rapat Raksasa Lapangan Ikada terjadi pada 19 September 1945, sa...

 

Academic journalUniversity of Pennsylvania Law ReviewDisciplineLaw reviewLanguageEnglishEdited byEcclesiaste DesirPublication detailsFormer name(s)American Law Register, American Law Register and Review, University of Pennsylvania Law Review and American Law RegisterHistory1852-presentPublisherUniversity of Pennsylvania Law School (United States)Frequency7/year (monthly from December to June)Impact factor5.231 (2018)Standard abbreviationsISO 4 (alt) · Bluebook (alt1...

Ne doit pas être confondu avec Péninsule de Hanko. Pour le sceau japonais hanko, voir Sceau (Extrême-Orient). Hanko Hangö (sv) Armoiries Le port d'Hanko Administration Pays Finlande Région Uusimaa Langue(s) parlée(s) finnois (53 %) - suédois (44 %) Démographie Population 8 182 hab.[1] (30.6.2020) Densité 10 hab./km2 Géographie Coordonnées 59° 49′ 25″ nord, 22° 58′ 05″ est Altitude Min. 0 mMax. 50 m Superfici...

 

In 2002 werd het 90ste Campeonato Paraense gespeeld voor voetbalclubs uit de Braziliaanse staat Pará. De competitie werd georganiseerd door de Federação Paraense de Futebol en werd gespeeld van 3 februari tot 4 juli. Paysandu werd kampioen. Eerste toernooi Plaats Club Wed. W G V Saldo Ptn. 1. Pedreira 9 5 4 0 13:8 19 2. São Raimundo 9 5 2 2 11:9 17 3. Castanhal 9 5 1 3 14:9 16 4. Ananindeua 9 4 2 3 18:10 14 5. Carajás 9 4 2 3 15:8 14 6. Vênus 9 3 4 2 15:12 13 7. Águia de Marabá 9 3 3 ...

 

University professor This biography of a living person relies too much on references to primary sources. Please help by adding secondary or tertiary sources. Contentious material about living persons that is unsourced or poorly sourced must be removed immediately, especially if potentially libelous or harmful.Find sources: Evelyn Nakano Glenn – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (July 2008) (Learn how and when to remove this template message) ...

Golpe de Estado no Peru em 1930 Beligerantes Setores Liberais e desenvolvimentistas do Exército Peruano Governo do Peru Comandantes Luis Miguel Sánchez Cerro Augusto B. Leguía O Golpe de Estado em Peru de 1930 foi um golpe de Estado propiciado o 22 de agosto de 1930 pelo então tenente coronel EP Luis Miguel Sánchez Cerro, que por um manifesto à nação insurgiu à guarnição de Arequipa, contra o governo ditatorial de Augusto B. Leguía. A rebelião militar propagou-se pelo sul do Peru...

 

Uma das extensões de Svartisen, Engabreen termina no ponto mais baixo de qualquer geleira no continente europeu, 7 metros acima do nível do mar (em 2004) Briksdalsbreen é uma das partes mais populares de Jostedalsbreen Estas são as maiores geleiras ou glaciares na Noruega continental.[1] Entretanto, as 18 maiores geleiras no Reino da Noruega estão em Svalbard, incluindo a maior geleira na Europa, Austfonna em Nordaustlandet. No total, a Noruega tem em torno de 1.600 geleiras - 900 destas...

 

Turkish mathematician and physicist Feza GürseyBorn(1921-04-07)April 7, 1921IstanbulDiedApril 13, 1992(1992-04-13) (aged 71)New Haven, ConnecticutAlma materIstanbul UniversityImperial College LondonUniversity of CambridgeKnown forChiral modelSU(6)Gürsey-Radicati mass formulaParents Reşit Süreyya Gürsey Remziye Hisar Scientific careerFieldsMathematical PhysicsInstitutionsBrookhaven National LaboratoryInstitute for Advanced StudyColumbia UniversityMiddle East Technical Unive...

Swedish military officer (1920–2010) Gunnar EklundBirth nameCarl Gunnar EklundBorn(1920-03-21)21 March 1920Stockholm, SwedenDied11 January 2010(2010-01-11) (aged 89)Danderyd, SwedenBuriedSolna CemeteryAllegianceSwedenService/branchCoastal Artillery (Swedish Navy)Years of service1941–1982RankLieutenant GeneralCommands heldGotland Coastal Artillery Defence with Gotland Coastal Artillery CorpsHärnösand Coastal Artillery CorpsNaval Command NorthNorrland Coastal Artillery DefenceCh...

 

Hospital in Florida, United StatesAdventHealth Palm Coast ParkwayAdventHealthGeographyLocation1 AdventHealth Way, Palm Coast, Florida, United StatesCoordinates29°33′7.09″N 81°14′38.65″W / 29.5519694°N 81.2440694°W / 29.5519694; -81.2440694OrganizationCare systemPrivateFundingNon-profit hospitalTypeCommunity hospitalServicesEmergency departmentYesBeds100HelipadYes[1]HistoryOpenedAugust 2, 2023LinksWebsiteadventhealth.com/hospital/adventhealth-palm-co...

 

Pour les articles homonymes, voir 53e régiment. 53e régiment d'infanterie (5e régiment d'infanterie westphalien)HistoireFondation 5 mai 1860Dissolution 1919CadreType Régiment d'infanterieSiège Cologne (depuis 1895)Münster (1860-1864)Mayence (1864-1866)Wesel (1866-1871)Münster (1871-1877)Paderborn (1871-1877)Aix-la-Chapelle (1877-1895)Juliers (1877-1890)Clèves (1867-1871)Pays  Royaume de Prussemodifier - modifier le code - modifier Wikidata Le 53e régiment d'infanterie ...

This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: One of the Boys Roger Daltrey album – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (July 2016) (Learn how and when to remove this template message) 1977 studio album by Roger DaltreyOne of the BoysStudio album by Roger DaltreyReleased13 May 1977Reco...

 

American tennis player Beals WrightWright circa 1915Full nameBeals Coleman WrightCountry (sports) United StatesBornDecember 19, 1879Boston, Massachusetts, United StatesDiedAugust 23, 1961(1961-08-23) (aged 81)Alton, Illinois, United StatesPlaysLeft-handed (one-handed backhand)Int. Tennis HoF1956 (member page)SinglesCareer record254–70 (78.4%)[1]Career titles27[1]Highest rankingNo. 2 (1905, ITHF)[2]Grand Slam singles resultsWimbledon...

 

Temporary episode of sleep or drowsiness Example of an EEG alpha wave Example of an EEG theta wave A microsleep is a sudden temporary episode of sleep or drowsiness which may last for a few seconds where an individual fails to respond to some arbitrary sensory input and becomes unconscious.[1][2] Episodes of microsleep occur when an individual loses and regains awareness after a brief lapse in consciousness, often without warning, or when there are sudden shifts between states...

The topic of this article may not meet Wikipedia's general notability guideline. Please help to demonstrate the notability of the topic by citing reliable secondary sources that are independent of the topic and provide significant coverage of it beyond a mere trivial mention. If notability cannot be shown, the article is likely to be merged, redirected, or deleted.Find sources: TV 2 Zebra – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (May 2023) (Learn ...

 

Трагикомедия Трагикомедия (лат. tragicomoedia) — драматическое произведение, обладающее признаками как трагедии, так и комедии. В широком смысле — любой сюжет литературы, сценического и изобразительного искусства, сочетающий трагическое (минорное) и комическое. Содер...

 

1917 film The Yankee WayNewspaper advertisementDirected byRichard StantonWritten byEdward SedgwickRalph H. SpenceProduced byWilliam FoxStarringGeorge WalshEnid MarkeyJoseph J. DowlingProductioncompanyFox FilmDistributed byFox FilmRelease dateSeptember 15, 1917Running time50 minutesCountryUnited StatesLanguagesSilentEnglish intertitles The Yankee Way is a 1917 American silent comedy-drama film directed by Richard Stanton and starring George Walsh, Enid Markey and Joseph J. Dowling.[1] ...

2005 single by U2 Sometimes You Can't Make It on Your OwnSingle by U2from the album How to Dismantle an Atomic Bomb B-sideAve MariaReleased7 February 2005 (2005-02-07)Studio Hanover Quay (Dublin, Ireland) South of France GenreRockLength 5:06 (album version) 4:51 (edited version) 5:30 (alternate version) Label Island Interscope Composer(s)U2Lyricist(s)BonoProducer(s) Chris Thomas Steve Lillywhite Nellee Hooper U2 singles chronology Vertigo (2004) Sometimes You Can't Make It on Y...

 

2013 British film by Richard Ayoade Not to be confused with The Double (2011 film). The DoubleBritish posterDirected byRichard AyoadeWritten by Richard Ayoade Avi Korine Story byAvi KorineBased onThe Doubleby Fyodor DostoyevskyProduced by Robin C. Fox Amina Dasmal Starring Jesse Eisenberg Mia Wasikowska Wallace Shawn Noah Taylor Cathy Moriarty James Fox CinematographyErik WilsonEdited by Chris Dickens Nick Fenton Music byAndrew HewittProductioncompanies Alcove BFI Film4 Distributed byStudioCa...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!