โคมไฟของทอมสัน เป็นปริศนา ทางปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอนันต์ กำเนิดขึ้นมาในปี 1954 โดยนักปรัชญาชาวอังกฤษ เจมส์ เอฟ. ทอมสัน เป็นผู้ที่เริ่มการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของซูเปอร์ทาสก์ ที่ซึ่งเกี่ยวกับตัวเลขอนันต์
เวลา
เปิด/ปิด
0.000
เปิด
1.000
ปิด
1.500
เปิด
1.750
ปิด
1.875
เปิด
...
...
2.000
?
ปัญหา
ให้หลอดไฟมีระบบเปิดปิดที่ใช้ทอกเกิลสวิตช์ ที่เมื่อกดสวิตช์หนึ่งครั้งแล้วหลอดไฟจะเปิด เมื่อกดอีกครั้งจะปิด ต่อไป ให้กระทำการตามขั้นตอนต่อไปนี้ : เริ่มตัวจับเวลา จะมีคนเปิดไฟ เมื่อผ่านไปหนึ่งนาที ก็ปิดไฟ และเมื่อผ่านไปอีกครึ่งนาที ก็เปิดไฟอีกครั้ง และเมื่อผ่านไปอีก 1 /4 ของหนึ่งนาที ก็ปิดไฟอีกครั้ง และเมื่อผ่านไปอีก 1 /8 ของหนึ่งนาที ก็เปิดไฟอีกครั้ง และทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โดยรอให้ถึงครึ่งหนึ่งของ ณ เวลานั้น ๆ จึงกดสวิตช์ ผลรวมของเวลาอนุกรมอนันต์ นี้คือสองนาที
คำถามก็คือ : หลอดไฟจะเปิดหรือปิดภายในเวลาสองนาที? ทอมสันได้ให้เหตุผลเรื่องความขัดแย้งไว้ดังนี้ :
ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ที่จะตอบคำถามนี้ หลอดไฟจะเปิดไม่ได้ เพราะไม่มีสักครั้งที่จะเปิดหลอดไฟโดยที่ไม่ปิดมาก่อนเลย หลอดไฟจะปิดไม่ได้ เพราะก่อนจะปิดได้นั้นก็ต้องเปิดมาก่อน แล้วต่อจากนั้น ก็จะไม่ปิดโดยที่ไม่เปิดมาก่อนได้ แต่หลอดไฟต้องเปิดหรือปิดอย่างแน่นอน แต่กลับกลายเป็นข้อขัดแย้งไปซะเอง
การเปรียบเทียบกับอนุกรมทางคณิตศาสตร์
ปัญหานี้มีความคล้ายคลึงกับอนุกรมแกรนดี
S = 1 − 1 + 1 − 1 + 1 − 1 + · · ·
สำหรับผลรวมของอนุกรมข้างต้น หาก n เป็นจำนวนคู่ ผลรวมจะเท่ากับ 1 แต่หาก n เป็นจำนวนคี่ ผลรวมจะได้ 0 หรือก็คือ ถ้า n เป็นจำนวนเต็มบวก ลำดับ อนุกรมจะเป็น {1, 0, 1, 0...} ซึ่งแสดงถึงสถานะของหลอดไฟ อนุกรมนี้จะไม่บรรจบ กัน แต่ก็ไม่ใช่อนุกรมอนันต์
หรือเมื่อจัดรูปอนุกรมใหม่จะได้ :
S = 1 − (1 − 1 + 1 − 1 + 1 − 1 + · · ·)
อนุกรมอนันต์ที่อยู่ในวงเล็บมีค่าเท่ากับอนุกรม S ซึ่งก็หมายความว่าS = 1 − S จะได้ S = 1 ⁄2 ซึ่งในความเป็นจริง ผลรวมนี้ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนข้อที่ว่า : มีการจำกัดผลรวมของอนุกรม ที่ทำให้ค่าอนุกรมแกรนดีเท่ากับ 1 ⁄2
ส่วนหนึ่งของงานเขียนของเขาในปี 1954 ได้เขียนเรื่องการเปรียบเทียบของอนุกรมแกรนดีกับโคมไฟของเขาไว้
"แล้วคำถามที่ว่าโคมไฟจะเปิดหรือปิด...คือคำถามที่ว่า : ผลรวมของลำดับลู่ออก
+1, −1, +1, …?
"นักคณิตศาสตร์ก็ได้ออกมากล่าวว่าลำดับนี้มีผลรวม พวกเขาบอกว่าผลรวมคือ 1 ⁄2 แล้วคำตอบนั่นก็ไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย เพราะเราไม่ยอมรับที่จะบอกว่าโคมไฟนั้นกึ่งปิดกึ่งเปิด ซึ่งหมายความว่า จะยังไม่มีคำตอบโดยสมบูรณ์ว่าอะไร จะได้คำตอบลงไปอีกเมื่อซูเปอร์ทาสก์นั้นได้คำตอบ ... เราไม่อาจคาดหวังที่จะเลือก ความคิดนี้แค่เพียงเพราะเรามีความคิดเรื่องทาสก์ หรือหลาย ๆ ทาสก์ที่เราได้พิสูจน์ตามความคุ้นเคยกับจำนวนเหนืออนันต์ (Transfinite Numbers)"[ 4]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
อ้างอิง
Allen, Benjamin William (2008). Zeno, Aristotle, the Racetrack and the Achilles: A Historical and Philosophical Investigation . New Brunswick, NJ: Rutgers, The State University of New Jersey. pp. 209–210. ISBN 9781109058437 . [ลิงก์เสีย ]
Benacerraf, Paul (1962). "Tasks, Super-Tasks, and the Modern Eleatics". The Journal of Philosophy . 59 (24): 765–784. doi :10.2307/2023500 . JSTOR 2023500 .
Huggett, Nick (2010). Everywhere and Everywhen : Adventures in Physics and Philosophy: Adventures in Physics and Philosophy . Oxford University Press. pp. 22–23. ISBN 9780199702114 .
Thomson, James F. (October 1954). "Tasks and Super-Tasks" . Analysis . Analysis, Vol. 15, No. 1. 15 (1): 1–13. doi :10.2307/3326643 . JSTOR 3326643 .
Earman, John and Norton, John (1996) Infinite Pains: The Trouble with Supertasks. In Benacerraf and his Critics , Adam Morton and Stephen P. Stich (Eds.), p. 231-261.