โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง |
---|
|
กำกับ | ไซอัน เฮเดอร์ |
---|
บทภาพยนตร์ | ไซอัน เฮเดอร์ |
---|
สร้างจาก | |
---|
อำนวยการสร้าง |
- ฟาบริส จานแฟร์มี
- ฟีลิป รุสแล
- เฌโรม แซดู
- แพทริก วากส์เบอร์เกอร์
|
---|
นักแสดงนำ |
|
---|
กำกับภาพ | เปาลา วิโดโบร |
---|
ตัดต่อ | เฌราร์ บริสซง |
---|
ดนตรีประกอบ | มาริอุส เดอ วรีส์ |
---|
บริษัทผู้สร้าง | |
---|
ผู้จัดจำหน่าย | แอปเปิลทีวี+ |
---|
วันฉาย | 28 มกราคม 2021 (ซันแดนซ์) 13 สิงหาคม 2021 (สหรัฐ) |
---|
ความยาว | 111 นาที |
---|
ประเทศ |
|
---|
ภาษา |
|
---|
ทุนสร้าง | 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] |
---|
ทำเงิน | 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
---|
โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง (อังกฤษ: CODA) เป็นภาพยนตร์แนวก้าวผ่านวัยและหัสนาฏกรรมที่ออกฉายในปี 2021 เขียนบทและกำกับโดยไซอัน เฮเดอร์ ดัดแปลงจากภาพยนตร์ฝรั่งเศส-เบลเยียมเมื่อปี 2014 เรื่อง ร้องเพลงรัก ให้ก้องโลก ภาพยนตร์นำแสดงโดยเอมีเลีย โจนส์ ในบท รูบี รอสซี เด็กที่มีพ่อแม่เป็นคนหูหนวก (CODA) และเป็นสมาชิกเพียงคนเดียวในครอบครัวที่ได้ยินเสียง ผู้ซึ่งพยายามช่วยเหลือครอบครัวของเธอประคับประคองธุรกิจประมงไปพร้อม ๆ กับการไล่ตามความฝันที่จะเป็นนักร้อง
ภาพยนตร์มีการใช้นักแสดงหูหนวกมาร่วมแสดงกับโจนส์ โดยสื่อสารด้วยภาษามืออเมริกัน ร่วมด้วยเอวเฆนิโอ เดร์เบซ, ทรอย คอตเซอร์, เฟอร์เดีย วอลช์-พีโล, แดเนียล ดูแรนต์ และมาร์ลี แมตลิน แสดงในบทบาทสมทบ ภาพยนตร์ถือเป็นการผลิตร่วมกันระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐ โดยมี ฟีลิป รุสแล จาก ร้องเพลงรัก ให้ก้องโลก กลับมาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างอีกครั้ง ภาพยนตร์ถ่ายทำที่กลอสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ในสหรัฐ
โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง ฉายรอบปฐมทัศน์โลกเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2021 ที่เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ 2021 ซึ่งแอปเปิลได้รับสิทธิ์เป็นผู้จัดจำหน่าย และฉายบนบริการสตรีมมิง แอปเปิลทีวี+ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2021 ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกเป็นส่วนใหญ่จากนักวิจารณ์ โดยชื่นชมบทภาพยนตร์ของเฮเดอร์และการแสดงของคอตเซอร์ แม้ผลตอบรับจากผู้ชมหูหนวกจะแบ่งออกเป็นหลายขั้วก็ตาม ภาพยนตร์ได้รับเลือกจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกันให้เป็นหนึ่งในสิบภาพยนตร์แห่งปี 2021 และตั้งแต่นั้นมาก็ถูกยกให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 2020[3][4]
โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลออสการ์จำนวน 3 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม สำหรับคอตเซอร์ และบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องที่เจ็ดที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่ชนะทุกสาขาที่ได้เข้าชิง ต่อจาก วิงส์ (1927), แกรนด์โฮเทล (1932), อิตแฮปเพนวันไนต์ (1934), จีจี้ สาวโลกีย์ (1958), จักรพรรดิโลกไม่ลืม (1987) และ ลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ (2003) และยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่จัดจำหน่ายโดยบริการสตรีมมิงและภาพยนตร์เรื่องแรกที่เปิดตัวในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยคอตเซอร์กลายนักแสดงชายหูหนวกคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์และรางวัลแบฟตา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น