แอร์พอดโปรแอร์พอดโปรหนึ่งคู่ |
ผู้พัฒนา | Apple Inc. |
---|
ผู้ผลิต | Apple Inc. |
---|
ตระกูล | แอร์พอด |
---|
ชนิด | หูฟังไร้สาย |
---|
วางจำหน่าย |
- 30 ตุลาคม 2019; 5 ปีก่อน (2019-10-30)
|
---|
ราคาเบื้องต้น |
|
---|
ชิพ |
|
---|
การรับเข้า | แอร์พอดโปร (ต่อข้าง) ไมโครโฟนคู่แบบบีมฟอร์มมิ่ง, ไมโครโฟนที่หันเข้าด้านใน, เซ็นเซอร์คู่แบบออปติคอล, อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, และเซ็นเซอร์แรงกด |
---|
การเชื่อมต่อ | แอร์พอดโปร (ต่อข้าง) Bluetooth 5 เคสชาร์จ พอร์ตLightning Qi |
---|
มิติ | แอร์พอดโปร (ต่อข้าง) 21.8 x 24 x 30.9 มม. (0.86 x 0.94 x 1.22 นิ้ว) เคสชาร์จ: 45.2 x 21.7 x 60.6 มม. (1.78 x 0.85 x 2.39 นิ้ว)[1] |
---|
น้ำหนัก | แอร์พอดโปร (ต่อข้าง) 5.4 กรัม (0.19 ออนซ์) เคสชาร์จ 45.6 กรัม (1.61 ออนซ์) |
---|
เว็บไซต์ | www.apple.com/th/airpods-pro/ |
---|
แอร์พอดโปร (อังกฤษ: AirPods Pro) เป็นหูฟังบลูทูธไร้สายที่สร้างโดยแอปเปิล ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 [2][3] เป็นหูฟังไร้สายระดับกลางของแอปเปิลที่ขายควบคู่ไปกับแอร์พอดระดับล่าง และแอร์พอดแมกซ์ระดับสูงสุด
แอร์พอดโปรใช้ชิพ H1 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่พบในแอร์พอดรุ่นที่สอง แต่เพิ่มคุณสมบัติการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ, โหมดฟังเสียงภายนอก, การตั้งค่าโปรไฟล์ความถี่อัตโนมัติ, การทนน้ำ IPX4, เคสสำหรับชาร์จที่ชาร์จแบบไร้สาย และหูฟังซิลิโคนที่ถอดเปลี่ยนได้[4]
ภาพรวม
แอปเปิลเปิดตัวแอร์พอดโปรในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2562 และเริ่มจัดจำหน่ายสองวันให้หลังในวันที่ and 30 ตุลาคม พ.ศ.2562[4] โดยแอร์พอดโปรนั้นมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกับแอร์พอดปกติ อาทิเช่นไมโครโฟนที่กรองเสียงพื้นหลังออกไปได้, อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, เซ็นเซอร์แบบออปติคอลที่จะตรวจการจัดวางในช่องหูที่ทำให้แอร์พอดโปรสามารถหยุด หรือเล่นเพลงต่อเมื่อนำแอร์พอดโปรออกหรือเข้ากับหูตามลำดับ และเซ็นเซอร์แรงกดที่ตรวจจับแรงกดสำหรับการควบคุมสื่อที่เล่น และการตัดเสียงรบกวน[5] แอร์พอดโปรถูกจัดระดับการทนน้ำที่ IPX4[1]
แอร์พอดโปรใช้ชิพ H1 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่พบในแอร์พอดรุ่นที่สอง ซึ่งรองรับการถาม "หวัดดี Siri" แบบแฮนด์ฟรีได้ โดยแอร์พอดโปรนั้นมีคุณสมบัติการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ ซึ่งอาศัยการทำงานของไมโครโฟนที่จะตรวจจับเสียงภายนอกหูฟัง และลำโพงที่ผลิตสัญญาณต้านเสียงรบกวนที่หักล้างเสียงภายนอกได้ โดยสามารถปิดการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ หรือเปิด"โหมดฟังเสียงภายนอก" ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับฟังเสียงรอบข้างได้ โดยสามารถเปลี่ยนโหมดต่าง ๆ เหล่านี้ได้บนอุปกรณ์ที่ใช้ iOS, WatchOS, iPadOS หรือMacOS หรือทำได้โดยการบีบเซนเซอร์แรงกดที่อยู่ในบริเวณก้านของแอร์พอดโปรฝได้เช่นกัน[6]
ชิพ H1 นั้นฝังอยู่ในโมดูล system in a package (SiP) แบบเฉพาะที่หุ้มส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่นตัวประมวลผลเสียง และอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว[7]
อายุการใช้งานแบตเตอรี่นั้นจะเท่ากับแอร์พอดรุ่นที่สองที่ 5 ชั่วโมง แต่การเปิดใช้การตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ หรือโหมดฟังเสียงภายนอกนั้นจะลดเวลาการใช้งานเหลือเพียง 4.5 ชั่วโมงเนื่องจากการประมวลผลที่มากขึ้น[8] กล่องชาร์จนั้นได้รับการโฆษณาที่ 24 ชั่วโมงสำหรับการฟัังทั้งสิ้น เช่นเดิมเหมือนกล่องชาร์จของแอร์พอดธรรมดา และยังมีคุณสมับติการในการชาร์จแบบไร้สายมาตรฐาน Qi[8] เช่นเดียวกับแอร์พอดปกติ แอร์พอดโปรได้รับการวิจารณ์ถึงอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่สั้นเช่นกัน[9]
แอร์พอดโปรมาพร้อมกับจุกหูฟังซิลิโคน 3 ขนาด และมีซอร์ฟแวร์บน iOS และ iPadOS ที่สามารถทดสอบความพอดีของจุกหูฟังแอร์พอดโปร เพื่อหาขนาดของจุกหูฟังที่แนบสนิดพอดีและเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดเสียงรบกวน และคุณภาพของเสียงให้ดีกว่า และคุณสมบัติที่มีชื่อว่า "EQ แบบปรับได้เอง" ซึ่งจะปรับรูปร่างความถี่ได้โดยอัตโนมัติ และอ้างว่าจะสามารถปรับแต่งเสียงเพลงให้เหมาะสมกับรูปทรงภายในช่องหูเพื่อให้เสียงที่ได้ยินนั้นเต็มอิ่มมากขึ้น[4] โดยตั้นแต่ช่วงต้นปี 2563 แอปเปิลเริ่มจำหน่ายจุกหูฟังสำหรับเปลี่ยนในหน้าเว็บไซต์ของแอปเปิล[10]
ด้วย iOS 14 และ iPadOS 14, เเอปเปิลได้เพิ่มโหมด "เสียงตามตำแหน่ง" ที่ออกแบบมาเพื่อจำลอง 5.1 surround sound[11] เสียงตามตำแหน่งนั้นต้องการไอโฟนหรือไอแพดที่ใช้ชิพ Apple A10 หรือใหม่กว่า[12] tvOS 15 จะนำโหมดเสียงตามตำแหน่งมายัง Apple TV 4K[13]
SiP จากด้านบน แสดงเห็นถึงส่วนที่หุ้มส่วนประมวลผลเสียง
SiP จากด้านล่าง, แสดงให้เห็นถึงส่วนที่หุ้มชิพ H1 enclosure , เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว 2 ตัว, ขั้วต่อเสาอากาศบลูทูธ และพื้นที่สำหรับการติดสายอ่อนตัวไปยังส่วนประกอบอื่น ๆ ของหูฟัง
ความเข้ากันได้
การรองรับสำหรับแอร์พอดโปรนั้นเพิ่มเข้ามาใน iOS 13.2, watchOS 6.1, tvOS 13.2, และ macOS Catalina 10.15.1.[8][6] แอร์พอดยังสามารถรองรับอุปกรณ์ใด ๆ ที่มี Bluetooth, ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ Windows และ Android, ซึ่งคุณสมบัติบางประการจะไม่พร้อมให้ใช้งาน อาทิเช่นการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะรองรับบนอุปกรณ์ของแอปเปิลที่ใช้บริการ iCloud เท่านั้นเป็นต้น
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "AirPods Pro - ข้อมูลทางเทคนิค". Apple. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
- ↑ Axon, Samuel (28 October 2019). "Apple announces AirPods Pro". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
- ↑ Welch, Chris (28 October 2019). "Apple announces AirPods Pro with noise cancellation, coming October 30th". The Verge. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "AirPods Pro". Apple. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
- ↑ Cipriani, Jason. "The 9 new AirPods Pro tricks you need to master now". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-03.
- ↑ 6.0 6.1 Mihalcik, Carrie. "AirPods Pro are $249, might actually fit in your ears and available Oct. 30". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ Dube, Belinda (2020-03-11). "Advanced System in Package Technology in the Apple AirPods Pro" (PDF). System Plus Consulting (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Lee, Dami (2019-10-28). "Apple releases iOS 13.2 with support for AirPods Pro and iPhone 11 Deep Fusion". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ Eadicicco, Lisa. "Samsung is launching a new pair of wireless earbuds, and it sounds like they will have one big advantage over Apple's AirPods". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
- ↑ Statt, Nick (2020-04-15). "Apple now sells AirPods Pro tip replacements on its website". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
- ↑ "Which Apple Devices and Video Services Support 'Spatial Audio' on AirPods Pro?". Lifehacker Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
- ↑ "Listen with spatial audio for AirPods Pro". Apple Support (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
- ↑ Espósito, Filipe (2021-06-16). "Comment: tvOS 15 is a small update, but it brings two important new features to Apple TV". 9to5Mac (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
|
---|
Consumer desktop/all-in-ones | |
---|
Professional tower/desktops | |
---|
Consumer notebooks | |
---|
Professional notebooks | |
---|
Consumer electronics | |
---|
Smartphones | |
---|
Accessories | |
---|
|