แอกาธา บาร์บารา

แอกะธา บาร์บารา
ประธานาธิบดีมอลตาคนที่สาม
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ 1982 – 15 กุมภาพันธ์ 1987
นายกรัฐมนตรีดอม มินท็อฟ
คาร์เมนู มีฟซูด บอนนีชี
ก่อนหน้าแอลเบิร์ต ฮิซเลอร์ (รักษาการณ์); อันตอน บูททีเกียก
ถัดไปพอล ซูเรบ (รักษาการณ์); เกนซู ทาโบเน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม ค.ศ. 1923(1923-03-11)
ฮัซซับบาร์ อาณานิคมมอลตา
เสียชีวิต4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002(2002-02-04) (78 ปี)
ฮัซซับบาร์ ประเทศมอลตา
ที่ไว้ศพสุสานฮัซซับบาร์
พรรคการเมืองพรรคแรงงาน
รางวัล เครื่องราชแห่งชาติ
เหรียญฉลองเจ็ดสิบห้าปีการปกครองตนเองอีกครั้งของมอลตา
เหรียญฉลองสิบห้าปีเอกราชมอลตา
เครื่องราชเทือกเขาบอลข่านชั้นหนึ่ง
เครื่องราชธงชาติชั้นหนึ่ง
นีชาเนปากีสถาน

แอกาธา บาร์บารา (อังกฤษ: Agatha Barbara, KUOM, 11 มีนาคม 1923 – 4 กุมภาพันธ์ 2002)[1] เป็นนักการเมืองมอลตาจากพรรคแรงงาน อดีตผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมอลตา, อดีตสมาชิกรัฐสภามอลตาและอดีตรัฐมนตรี เธอเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมอลตา และยังเป็นสตรีที่เป็นสมาชิกรัฐสภายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองมอลตา

ก่อนจะเข้าสู่วงการการเมือง เธอเคยเป็นครูมาก่อน และต่อมาจึงเข้าร่วมกับพรรคแรงงานมอลตา โดยมีบทบาทอย่างมากในกิจกรรมของพรรค จนเธอขึ้นมาเป็นคณะกรรมการบริหารของพรรค นำฟากสตรีของพรรค รวมถึงยังสถาปนาขบวนการการเมืองของสตรีในมอลตาขึ้น[2]

เธอเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีของมอลตาคนแรกที่เป็นผู้หญิง และเป็นสตรีคนเดียวในคณะรัฐมนตรีจนถึงปลายทศวรรษ 1990 ที่ซึ่งโจวันนา เดโบโน เข้าสู่ตำแหน่ง เมื่อพรรคแรงงานก้าวเข้าสู่อำนาจในปี 1955 บาร์บาราได้รับมอบหมายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาโดยดอม มินท็อฟ ระหว่างปี 1955 ถึง 1958 ในตำแหน่งนี้ เธอได้ทำการปฏิรูปมากมาย เช่น กำหนดการศึกษาเต็มเวลาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กเป็นภาคบังคับ จัดตั้งสถาบันฝึกสอนครู โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ทำให้การศึกษาระดับมัธยมศึกษาสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่าย ตลอดจนจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์แก่เด็ก ๆ เมื่อปี 1958 ที่ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างมอลตากับสหราชอาณาจักรระหองระแหงลง มีการประท้วงเกิดขึ้นไปทั่วที่ซึ่งบาร์บาราก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย ความวุ่นวายจบลงที่การลาออกของมินท็อฟ ส่วนบาร์บาราถูกตัดสินลงโทษใช้แรงงานหนัก 43 วัน ต่อมาหลังรัฐบาลของมินท็อฟกลับสู่อำนาจอีกครั้งในปี 1971 เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีศึกษาอีกครั้ง ในวาระนี้เธอได้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากอายุ 14 ไปเป็น 16, มีการสถาปนาโรงเรียนช่าง และมีการกำหนดให้ยกเลิกค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย ต่อมาในปี 1974 เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแรงงาน วัฒยธรรม และสวัสดิการ ในตำแหน่งนี้เธอสามารถลดอัตราการว่างงาน ปรับเพิ่มค่าจ้างและปรับสภาพการทำงานให้ดีขึ้นสำหรับแรงงาน ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม กำหนดกฎหมายบังคับค่าจ้างเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง การให้ลาหยุดสำหรับคลอดลูกโดยได้รับค่าจเาง การกำหนดชั่วโมงทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสวัสดิการสำหรับผู้ว่างงานและเกษียณ รวมถึงยังตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขึ้นจำนวนหนึ่ง[3]

บาร์บาราไม่ได้สมรส นักเขียนชาวมอลตา-ออสเตรเลีย ยอเซฟ เชตชูที (Joseph Chetcuti) อ้างว่าบาร์บาราเป็นหญิงรักร่วมเพศในหนังสือปี 2009 ที่เขาเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบุคคลเพศหลากหลายในมอลตา คำกล่าวอ้างนี้วิเคราะห์จากบทสัมภาษณ์ในอดีตของเธอ[4] ส่วนในปี 2014 มีการเปิดเผยจดหมายที่กล่าวอ้างว่ามีเนื้อาห “โรแมนติก” ที่เธอส่งให้เดเร็ก บาร์นนิส (Derek Barnes) คนให้สัญญาณของราชนาวีที่ประจำการในมอลตาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จดหมายนี้ถูกนำมาเปิดเผยโดยพี่/น้องสาวของบาร์นนิส[5]

อ้างอิง

  1. Profile of Agatha Barbara
  2. Torild Skard (2014) 'Agatha Barbara' 'Women of power - half a century of female presidents and prime ministers worldwide. Bristol: Policy Press ISBN 978-1-44731-578-0
  3. Torild Skard (2014) 'Agatha Barbara'
  4. Chetcuti, Joseph Carmel (2009). Queer Mediterranean Memories: Penetrating the secret history and silence of gay and lesbian disguise in the Maltese Archipelago. Carlton North, VIC, Australia: Lygon Street Legal Services. ISBN 9780646512792.
  5. Calleja, Claudia (3 August 2014). "Agatha Barbara and romantic Navy letters". Times of Malta. สืบค้นเมื่อ 11 March 2016.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!