แยกเฉลิมบุรี

สี่แยก เฉลิมบุรี
ถนนเยาวราชบริเวณแยกเฉลิมบุรี (มองไปทางทางเข้าวัดสัมพันธวงศาราม)
แผนที่
ชื่ออักษรไทยเฉลิมบุรี
ชื่ออักษรโรมันChaloem Buri
รหัสทางแยกN043 (ESRI), 047 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนเยาวราช
» แยกราชวงศ์
ถนนทรงสวัสดิ์
» แยกหมอมี
ถนนเยาวราช
» ถนนลำพูนไชย
ถนนทรงสวัสดิ์
» วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (วัดเกาะ)

แยกเฉลิมบุรี (อักษรโรมัน: Chaloem Buri Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนเยาวราชกับถนนทรงสวัสดิ์

ชื่อ "เฉลิมบุรี" นั้นมาจากในอดีต ที่นี่ทางด้านถนนทรงสวัสดิ์ฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางแยกหมอมี หรือสามแยก เคยเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี หรือก่อนหน้านั้นคือ โรงภาพยนตร์สิงคโปร์[1] และได้รื้อถอนออก และสร้างใหม่ในชื่อ เฉลิมบุรี ในวาระฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 พร้อมกับศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งปัจจุบันโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรีได้เลิกกิจการไปนานแล้ว สถานที่ตั้งของโรงภาพยนต์ได้กลายเป็นที่จอดรถยนต์[2]

แยกเฉลิมบุรี ถือได้ว่าเป็นทางแยกแรกของถนนเยาวราช ที่มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนโอเดียน ปัจจุบันตรงบริเวณทางแยกเป็นที่ตั้งของร้านอาหารมากมาย เช่น ภัตตาคารอาหารจีน, ห่านและเป็ดพะโล้, หมูสะเต๊ะ ตลอดจนหูฉลาม [3] [4]รวมถึงปาท่องโก๋ที่ได้รับการแนะนำบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์[5] และในช่วงเวลาเย็นจนถึงค่ำ มีรถเข็นขายยำของชาวฝรั่งเศสอีกด้วย[6]

อ้างอิง

  1. "เจ้าแรก "ลอดช่องสิงคโปร์"ตำนานความอร่อยยาวนาน 60 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 2008-05-14.[ลิงก์เสีย]
  2. "ที่จอดรถเยาวราช โรงหนังเฉลิมบุรีเก่า (ถนนทรงสวัสดิ์)". ไชน่าทาวน์เยาวราช.
  3. "เล่าตั๊ง ลือชื่อห่านพะโล้ รสโอชา". ผู้จัดการออนไลน์. 2009-01-25.[ลิงก์เสีย]
  4. แม่ช้อยนางรำ (2009-06-29). ""หมูสะเต๊ะเฉลิมบุรี"เจ้าเดียวที่เหลืออยู่..ขณะนี้/แม่ช้อยนางรำ". ผู้จัดการออนไลน์.[ลิงก์เสีย]
  5. "ปาท่องโก๋เสวย". reviewnowz. 2017-12-08.
  6. ""ซามูเอล มงตาสิเออ" ฝรั่งขายยำ....แซ่บทั่วเยาวราช". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-09-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′22″N 100°30′41″E / 13.739439°N 100.511464°E / 13.739439; 100.511464

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!