แก้วเจ้าจอม

Guaiacum officinale
แก้วเจ้าจอม

แก้วเจ้าจอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Guaiacum officinale) เป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นแคริบเบียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำพันธุ์ไม้ชนิดนี้เข้าสยามจากชวา (อินโดนีเซีย) ครั้งเสด็จประพาส แล้วทรงนำมาปลูกในเขตพระราชอุทยานวังสวนสุนันทา ปัจจุบันมีเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่เป็นต้นดั้งเดิม บริเวณด้านหลังเนินพระนางหรือพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี ซึ่งปัจจุบันมีการเพาะขยายปลูกตามส่วนต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยภายหลังได้กลายมาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

แก้วเจ้าจอมมีใบจำนวนหลายแบบเช่น แก้วเจ้าจอม 4ใบ แก้วเจ้าจอม 6 ใบ แก้วเจ้าจอม 8 ใบ บางท้องตลาดพบเจอ 10 ใบ แต่ 4 ใบนั้นเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมและโตช้าจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าไร กลีบดอกสีม่วง-คราม จำนวน 5-6 กลีบ เกสรสีเหลือง เป็นต้นไม้ที่ต้องการแสงแบบรำไร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้ทำป้องยาสูบ ที่บดยา ที่บดกาแฟ

ลักษณะวิสัย : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 ม. ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้นสีเทาเข้ม ล าต้น คดงอ กิ่งก้านมีข้อพองเป็นปุ่มทั่วไป กิ่งอ่อนค่างข้างแบน ใบ : ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบย่อยรูปไข่กลับ รูปไข่กว้าง หรือรูปรี เบี้ยวเล็กน้อย มีใบย่อย 2-3 คู่ ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่มกว้าง ไม่มีก้าน ใบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อน มีจุดสีส้มที่โคนใบด้านบน หูใบและใบประดับ หลุดร่วงง่าย ดอก : ดอกช่อแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง มี 3-4 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ จ านวน 5 กลีบ โคนติดกันเล็กน้อยหลุดร่วงง่าย มีขนประปราย กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่จ านวน 5 กลีบ ยาวประมาณ 2 ซม. สีฟ้าอมม่วงและสีขาว เกสรเพศผู้ 10 อันแยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล : ผลแห้งรูปหัวใจ ลักษณะแบนเล็กน้อย ยาว 1.5–2 ซม. ขอบหนา 2 ข้างปลายมีติ่งแหลม สีเหลือง อมส้ม ก้านผลยาว 1.5-3 ซม. เมล็ด : เมล็ดรูปรีสีน้ าตาล มี 1-2 เมล็ด มีเยื้อหุ้มสีแดง [http://www.st.buu.ac.th/botany/doc/2565/012แก้วเจ้าจอม.pdf 1]

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด กิ่งตอน และกิ่งปักชำ การเพาะเมล็ดควรรีบทำเมื่อเมล็ดเริ่มร่วงจากต้น เนื่องจากเมล็ดจะสูญเสียความงอกรวดเร็วหากไม่ทำการเพาะเมล็ด การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นก าเนิดในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกา และหมู่เกาะเวสต์อินดีส เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน และเป็นดอกไม้ประจำชาติของจาไมก้า ประวัติพันธุ์ไม้ (ในประเทศไทย) : นำมาปลูกในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงนำพันธุ์ไม้มาจากชวา (อินโดนีเซีย) และทรงนำมาปลูกในเขตพระราชอุทยาน วังสวนสุนันทา และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ประโยชน์และ สรรพคุณ : เป็นไม้ประดับ แก่นไม้สีน้ำตาลถึงดำ นิยมนำมาใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเล ทำรอก ด้ามสิ่วและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ และมีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้าน ดังนี้ ยางไม้ เป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ ใช้ร่วมในยาฟอกเลือด ทำเป็นยาอม แก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ ละลายในเหล้ารัมและเติมน้ำเล็กน้อยใช้อมกลั้วคอ แก้เจ็บคอ กินแก้ปวดท้อง และใช้ใส่แผล ใบคั้นน้ำแก้อาการท้องเฟ้อ เปลือก เป็นยาระบาย ดอก เป็นยาบำรุงกำลัง และเป็นยาระบาย

แหล่งอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. (2547). พรรณไม้หอในสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ. 35 กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เต็ม สมิตินันท์. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ส านักงานหอพรรณไม้ ส านักวิจัยการ อนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. ราชันย์ภู่มา. (2559). สารานุกรมพืชในประเทศ (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา. กรุงเทพฯ : ส านักงานหอพรรณไม้ ส านักวิจัย การอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. วชิรพงศ์ หวลบุตตา. (2542). ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์บ้านและสวน. พระต าหนักจิตรลดารโหฐาน. สวนสมุนไพรสาธิต. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.rspg.org/palace/chitralada/cld6-5_2.htm

อ้างอิง

  1. สำนักงานหอพรรณไม้ พรรณไม้เด่นประจำเดือนมกราคม: แก้วเจ้าจอม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). อนุกรมวิธานพืชอักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิ่มเติม หจก. อรุณการพิมพ์ กรุงเทพฯ หน้า 396-397.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "http://www.st.buu.ac.th/botany/doc/2565/012แก้วเจ้าจอม.pdf" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="http://www.st.buu.ac.th/botany/doc/2565/012แก้วเจ้าจอม.pdf"/> ที่สอดคล้องกัน

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!