เอวัมเม สุตัง

เอวัมเม สุตัง (แปลว่า: ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้; บาลี: Evaṃ me sutaṃ; สันสกฤต: Evaṃ mayā śrūtaṃ) เป็นวลีขึ้นต้นของบทนำบรรทัดแรกซึ่งปรากฎในพระสูตรบาลีและสันสกฤตของศาสนาพุทธ วลีดังกล่าวปรากฏในพระสูตรว่าด้วยคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในฐานะ "เครื่องยืนยันคำสอนของพระพุทธองค์"[1][2] ในทางพุทธวิถีเชื่อว่า พระอานนท์ได้เป็นภิกษุรูปแรกที่ใช้วลีนี้เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องยืนยันพระธรรมของพระพุทธองค์ แต่นักวิชาการคัดค้านความเชื่อนี้ ซึ่งแย้งว่าวลีนี้มีความสัมพันธ์กันประโยคที่ปรากฏในพระสูตรเช่นไร และมีหลายทฤษฏีที่ขยายความวลีนี้ในมุมมองของพระสูตรนั้น ภายหลังวลีนี้ได้ปรากฏในพระสูตรของมหายานและวัชรยาน

ประวัติและการใช้

Colored limestone sculpture of monk holding unidentified object
รูปสลักหินปูนพระอานนท์ศิลปะจีนสร้างช่วงศตวรรษที่ 8

ในพระธรรมของศาสนาพุทธ — ปรากฏวลีนี้ครั้งแรกในอรรถกถาของทีฆนิกาย โดยพระอานนท์ ภิกษุรูปแรกที่ใช้วลีนี้ระหว่างการสังคยนาครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์[3][4] ในกาลครั้งนี้มีการบัญญัติพระไตรปิฎก[4] และพระอานนท์ทำหน้าที่สังคิตี (สันสกฤต: saṃgītakāra) กล่าวคือเป็นผู้วิสัชชนาในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ระหว่างที่เป็นพุทธอุปัฏฐากให้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[5]

วลีนี้เป็นคำขึ้นต้นของประโยคที่กล่าวถึงสถานที่แสดงพระธรรมเทศนา และผู้ได้สดับพระธรรมนั้น[6] ในอรรถกถาของจีน กล่าวว่า วลีนี้ปรากฏในพระสูตรในฐานะ คำขึ้นต้นทั่วไป (จีน: 通序; พินอิน: tōngxù), เนื้อหาของประโยคถัดมาจากวลีที่กล่าวถึงองค์ประกอบของพระสูตร เรียกว่า คำขึ้นต้นเฉพาะ (จีน: 別序; พินอิน: biéxù)[7] ในพุทธพจน์ช่วงต้นบางฉบับ ได้ใช้วลีที่มีโครงสร้างเดียวกันว่า 'วุตฺตํ เหตํ ภควา' (แปลว่า: พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้; บาลี: Vutaṃ hetaṃ bhagavatā) ปรากฏในอิติวุตตกะ ขุททกนิกาย[8][9]

การตีความและการแปลศัพท์

วลีนี้ตีความโดยพระพุทธโฆสะ พระคันถรจนาจารย์ชาวอินเดียช่วงศตวรรษที่ 5 ว่า "ยืนยันในความมีอยู่ของพุทธะ"[10] ฌ็อง ฟิลลีโยซาต์ นักภารตวิทยา (ค.ศ. 1906–82) ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายแบบเดิมว่าพระอานนท์เป็นภิกษุที่ใช้วลีนี้เป็นรูปแรก โดยแย้งว่าวลีนี้ไม่ควรนำมาเป็นคำขึ้นต้นเพื่ออธิบายถึงองค์ประกอบซึ่งปรากฏในบทแรก โดยดูเหมือนจะมีผู้แต่งเป็นการรวบรวมเพิ่มภายหลัง[11] อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบอักขระระหว่างพุทธกับเชน จอห์น โบล์ห นักวิชาการสันสกฤต (ค.ศ. 1917–84) เชื่อว่า วลีนี้เป็นการกล่าวโดยพุทธพจน์ทางตรงมากกว่าจะเป็นคำบอกเล่า[2][12]

ฌ็อง เปอร์ลูยูสกี นักภารตวิทยา (1885–1944) เชื่อว่าวลีดังกล่าวใช้เพื่อเป็นวลีขึ้นต้นเพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของพระสูตรแบบศรุติ[10] เชื่อว่าประสงค์แสดงเพื่อยกฐานะของพระธรรมในศาสนาพุทธเดียวกับพระเวทในคติพราหมณ์[10] โบสท์เห็นพ้องกับเปอร์ลูยูสกีในพัฒนาการใช้วลีดังกล่าว แต่เพื่อเป็นประจักษ์พยานของพระธรรมในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "พระธรรมคงได้โดยปราศจากการอธิบายเพิ่ม"[13] โบสท์กล่าวว่าเมื่อพระสาวกได้สดับวลี เอวัมเม สุตัง ครั้งแรกโดยพระอานนท์ ทำให้ระลึกถึงพระมหากรุณาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพลัน[13] คอนราส กลอส [de] นักภารตวิทยา ไม่เห็นด้วยกับโบสท์ โดยอ้างพระธรรมที่ปรากฏในสองคัมภีร์จากทีฆนิกายและมัชฌิมนิกายมักขยายความถึง "... มีผู้สดับธรรมให้ฟัง" มากกว่าเป็นการเล่าด้วยตัวเอง[14] เขาคำนึงว่าวลี ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ในพระพุทธวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ย่อมไม่ได้หมายถึงสดับฟังเรื่องราวจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากพระโอษฐ์ เขาตระหนักว่าในภาษาสันสกฤตไม่ได้รับการถอดความภายในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ชีวิต[15]

เอเตียน ลาม็องต์ นักภารตวิทยา (ค.ศ. 1903–83) ค้านว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมในช่วงต้นของพระสูตรผ่านพระอานนท์[16]

อ้างอิง

  1. Tola & Dragonetti 1999, p. 54.
  2. 2.0 2.1 Brough 1950, p. 424.
  3. Nanayakkara 1990, p. 174.
  4. 4.0 4.1 Powers 2013, Evaṃ mayā śrutaṃ ekasmin samaye.
  5. Buswell & Lopez 2013, Saṃgītakāra.
  6. Keown 2004, p. 89.
  7. Buswell & Lopez 2013, Er xu.
  8. Buswell & Lopez 2013, Itivuttaka.
  9. Analayo 2007, p. 19.
  10. 10.0 10.1 10.2 Przyluski 1940, p. 247, note 2.
  11. Nanayakkara 1990, pp. 174–5.
  12. Klaus 2007, p. 316.
  13. 13.0 13.1 Brough 1950, p. 425.
  14. Klaus 2007, p. 319, "... durch Mitteilung durch Andere erworbenen wurde."
  15. Klaus 2007, p. 320–1.
  16. Lamotte 2005, p. 190.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!