เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย

เอลิซาเบธ
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวเฮเลนส์
ดำรงพระยศ27 กันยายน ค.ศ. 1922 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1924
ก่อนหน้าอัสปาซียา มาโนส
ถัดไปฟรีแดรีกี
พระราชสมภพ12 ตุลาคม ค.ศ. 1894(1894-10-12)
ปราสาทเปเรส ซินายอา ราชอาณาจักรโรมาเนีย
สวรรคต14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956(1956-11-14) (62 ปี)
คานส์ ประเทศฝรั่งเศส
ฝังพระศพHadinger Church Sigmaringen รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีเยออร์ยีโอสที่ 2 แห่งกรีซ
พระนามเต็ม
เอลิซาเบธ ชาร์ล็อต โจเซฟีน อเล็กซานดรา วิกตอเรีย
ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
กลึคส์บวร์ค
พระราชบิดาพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย
ธรรมเนียมพระยศของ
เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHer Majesty
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Majesty
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซ พระนามเดิม เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย (12 ตุลาคม ค.ศ. 1894 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 พระนามเต็ม: เอลิซาเบธ ชาร์ล็อต โจเซฟีน อเล็กซานดรา วิกตอเรีย) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเฮเลนส์ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีเยออร์ยีโอสที่ 2 แห่งกรีซ พระนางเป็นพระธิดาของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

พระนางมีพระราชดำรัสสำคัญอยู่ประโยคหนึ่งว่า"ฉันได้กระทำผิดทุกๆอย่างในชีวิตของฉันนอกจากการเป็นฆาตกรและฉันไม่ปรารถนาที่จะตายโดยปราศจากการทำสิ่งเหล่านั้น"

เมื่อทรงพระเยาว์

เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียกับพระราชินีมารี พระมารดาในปี ค.ศ. 1906

ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1894 เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระชายาในมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนียมีพระประสูติกาลพระธิดาที่ปราสาทเปเรส เจ้าหญิงมีพระนามว่า เอลิซาเบธหรือเอลิซาเวตา ซึ่งมีพระนามตามพระปิตุจฉาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระมเหสีในพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงใช้พระชนมชีพในช่วงต้นที่ปราสาทเปเรส เมืองซินายอา ที่ซึ่งมกุฎราชกุมาร ผู้เป็นพระบิดาทรงพำนักอยู่ ในหนังสือ The Story of My Life พระนิพนธ์ในพระราชินีมารี(เจ้าหญิงมารี) ผู้เป็นพระมารดาทรงบันทึกไว้ว่า "เธอมีผิวที่ขาวดุจดังน้ำนมและมีตาโตสีเขียว มักจะตื่นตกใจกลัวง่าย รักที่จะเก็บและวัดดอกไม้ แต่ในตอนแรกเธอเป็นคนเงียบๆแต่ก็บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับดอกลิลลี่และดอกรักเร่ ดอกใหญ่ ริมสระน้ำ ในตอนอยู่ที่ที่จอดรถใกล้ปราสาท รถม้ากำลังออกตัว ฉันรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อเธอได้เล่าเรื่องความฝันของเธอและบอกว่าเธอมีเพื่อนเป็นนางฟ้า ทำให้ฉันรู้สึกว่าเด็กคนนี้ของฉันมีความคิดที่ฉันคาดไม่ถึง" เนื่องจากเจ้าหญิงมารีในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา และเจ้าหญิงเอลิซาเบธกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐาของพระองค์ได้รับการศึกษาร่วมกัน พระราชินีเอลิซาเบธทรงปลูกฝังพระองค์ให้รักศิลปะ

เมื่อมีพระชนมายุ 5 ชันษาทรงศึกษาเปียโนและไวโอลินกับจอร์จ อีเนสคู นักดนตรีในพระราชินีเอลิซาเบธ พระองค์ทรงมีความสามารถในการวาดภาพ ในเวลาเพียง 1 ปีพระองค์ทรงเรียรู้ไวในการเป็นศิลปิน แต่เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะน้อยนัก ทรงชื่นชอบที่จะฟังหีบเพลงในห้องที่มีกระจกแบบมูราโน ทรงเต้นรำแบบวอล์ซ ในตอนกลางคืนทรงชอบเล่นเพลงของเฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง,โซนาตาของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน หรือของโดเมนิโก สการ์เล็ตติ ในฤดูหนาวจัดของซินายอาที่มีภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะล้อมรอบยังตรึงอยู่ในความทรงจำของเจ้าหญิงเอลิซาเบธเสมอ

เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระธิดาจากพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 6 พระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กับพระราชินีมารี ทั้งที่ทรงยังไม่เคยเข้าศึกษาในสถานศึกษาใดๆ แต่ทรงพูดได้ถึง 4 ภาษาและทรงได้รับการศึกษาศิลปกรรม,การเต้นรำและประวัติดนตรีและวรรณคดี ทรงชื่นชอบดนตรีและนักดนตรีต่างๆ ว่ากันว่าทรงเก็บผลงานของนักดนตรีต่างๆ รวมถึงแผ่นเสียงไว้ในหีบแผ่นเสียง แต่หีบได้ถูกทำลายในระหว่างที่ครอบครัวถูกคุ้มครองสงครามโลกครั้งที่ 1.[1]

สิ้นปี ค.ศ. 19014 การเสด็จสวรรคตของพระอัยกา และพระบิดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติในพระนาม สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายจากซินายอาไปยังบูคาเรสต์ ที่พระราชวังโคโทรเซนิ ทำให้เจ้าหญิงต้องเสด็จออกตามที่สาธารณะพร้อมพระบิดาและพระมารดา ทรงต้องทำกิจกรรมต่างๆเพื่อการกุศล เจ้าหญิงทรงชื่นชอบครั้งที่อยู่ที่บูคาเรสต์มาก เนื่องจากสภาพอากาศของบูคาเรสต์เหมาะกับผู้ชื่นชอบศิลปะ พระองค์มีพระสหายเพิ่มมากขึ้นแต่การพำนักที่นี่ต้องทำตามกฎระเบียบเคร่งครัด

ในฤดูร้อน ค.ศ. 1916 เมื่อโรมาเนียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้พระราชวงศ์และคณะรัฐบาล ถูกบังคับให้ลี้ภัยไปยังเมือง อาซิ เมื่อเยอรมนียึดครองโรมาเนีย ต่อมา 2 ปี พระองค์ต้องลี้ภัยไปยังประเทศมอลโดวา ที่นั่นพระองค์ต้องพำนักที่บ้านในบิคาซ โดยพระราชินีมารี พระมารดาพร้อมกับพระขนิษฐาทั้ง 2 ของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนียและเจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพยาบาล

ความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ

ตราอักษรย่อของพระองค์

เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่ค่อยร่วมพบปะกับพระราชวงศ์อื่นๆ และทรงไม่เล่นกับพระอนุชาและพระขนิษฐา พระองค์มักจะพอใจเมื่อทรงอยู่คนเดียวกับสุนัขทรงเลี้ยงและอ่านหนังสือ พระองค์มักจะปฏิเสธในการร่วมเสวยอาหารกับพระราชวงศ์ โดยจะทรงหาข้ออ้างต่างๆนานาเพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะกับพระราชวงศ์ น่าเศร้าที่การที่ทรงแยกตัวอยู่ลำพังทำให้พระองค์ทรงเติบโตมาอย่างไม่ดี สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย พระมารดาทรงพยายามชักชวนให้พระองค์รู้จักเข้าสังคมส่วนรวมและอยู่ร่วมกันบ้าง ทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัวบ้าง แต่พระองค์ไม่ยอมและทรงไม่แยแสต่อพระมารดา ทำให้พระมารดาทรงผิดหวังเป็นอันมาก พระนางมักว่าถึงการขาดการให้ความรัก ความอบอุ่นแก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระราชินีมารีทรงบันทึกไว้ในบันทึกประจำวันของพระนางว่า "...ความลับอยู่ในความเห็นแก่ตัวทั้งหมด และแน่นอนมันไม่สามารถช่วยอะไรได้แก่ผู้ที่ไม่ให้ความรักความสนใจในชีวิตของเธอเท่านั้นแต่เธอได้พยายามเก็บกดได้ดีและเก็บความเจ็บปวดซ่อนไว้ในความรู้สึก การที่เธอมีสิ่งที่ต้องการทำให้เธอป่วยและไม่มีที่ไหนเลยที่เธอเป็น... คุณยินดีที่จะเป็น สิ่งที่คุณทำนั้นไม่มีร่องรอยในความสุขแห่งชีวิตของเธอ เธอรักเรา แต่ในความรักนี้ก็ไม่ทำให้เกิดความสุขเลยแม้แต่น้อย เพราะมันคือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น "[2]

ด้วยความงดงามของเจ้าหญิง ทำให้ต้องมีคู่ครองซึ่งทำให้เจ้าหญิงทรงขัดแย้งกับพระราชินีมารี เนื่องจากพระนางประสงค์ให้พระธิดาของพระนางสมรสกับเจ้าชายรัชทายาทองค์ใดองค์หนึ่งในประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่าน ในปี ค.ศ. 1923 การแบ็ฟติสท์พระโอรสองค์แรกของพระขนิษฐาของพระองค์ที่เบลเกรด ได้มีข่าวลือว่าสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ผู้เป็นพระสวามีในพระขนิษฐา ได้เกี้ยวพาราสีเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เมื่อพระราชินีมารีทรงทราบ พระนางได้ให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จกลับบูคาเรสต์ในทันที นับเป็นเรื่องอื้อฉาวเรื่องแรกของพระองค์[3]

เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สนิทกับพระเชษฐาของพระองค์ผู้ซึ่งชอบใช้อารมณ์ พระมารดาของพระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า "ภายใต้ใบหน้าอันงดงามของเธอได้แฝงไปด้วยความขุ่นเคือง,ความไม่พอใจและความริษยาในความอับโชคของเธอ ในครั้งหนึ่งเธอได้แสดงทัศนคติต่อซิทตา(เจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กผู้เป็นพระชายาในเจ้าชายคาโรล พระเชษฐาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ)หรือหนึ่งในพี่น้องของเธอ เธอได้กล่าวถ้อยคำที่รุนแรง พูดในสิ่งที่เธอไม่พอใจซึ่งเป็นจุดอ่อนของทุกคน คาโรลและน้องคนอื่นๆของเธอต่างเกรงกลัวเธอและมักจะทะเลาะกับคาโรลเสมอ ฉันเลยต้องเป็นฝ่ายประนีประนอม"[4]

เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย พระขนิษฐาของเธอซึ่งเป็นพระธิดาลับของพระราชินีมารี ผู้อื้อฉาวกับบาร์บู สเตอบีย์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สงสารพระขนิษฐาซึ่งประสูติท่ามกลางความอื้อฉาวของพระมารดาแต่กลับล้อเลียนเจ้าหญิงอีเลียนาเสมอ คอนสแตนติน อากโทรเอียนนูได้เรียบเรียงเหตุการณ์จากความทรงจำว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงกล่าวกับเจ้าหญิงอีเลียนาว่า "อีเลียนามาที่หน้าต่างเร็วเข้า มาดูพ่อของเธอ" ซึ่งบาร์บู สเตอบีย์ได้ออกจากรถพอดี[5]

การอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ

เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียและสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ

ในปี ค.ศ. 1911 ในวันพระราชสมภพของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์ทรงได้พบปะกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์โตในเจ้าชายคอนสแตนติน มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ ราชวงศ์กรีซตอบรับคำเชิญของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ให้เสด็จเยือนโรมาเนียที่กรุงบูคาเรสต์ การพบปะกับเจ้าชายชาวกรีซครั้งแรก เจ้าหญิงทรงปฏิเสธข้อเสนอในการสมรส ซึ่งทำให้ทุกพระราชวงศ์ต่างประหลาดใจ เพราะเจ้าหญิงยังทรงศึกษาอยู่ ก่อนปี ค.ศ. 1914 เจ้าชายจอร์จทรงขอเจ้าหญิงเอลิซาเบธสมรสอีกครั้ง แต่ก็ได้รับการตอบปฏิเสธจากพระองค์เช่นเดิม ซึ่งตอนนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงปฏิเสธจากคำแนะนำของพระอัยยิกา พระนางคาร์เมน ซิลเวีย(อดีตพระราชินีเอลิซาเบธ) ที่ไม่ประสงค์ให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ เนื่องจากทรงเชื่อว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะสามารถพบพระสวามีที่ดีสำหรับเธอได้ด้วยพระองค์เอง[6]

สงครามโลกครั้งที่ 1 ประทุขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ทำให้การอภิเษกสมรสในกาลข้างหน้าของเจ้าหญิงยุ่งยากขึ้น จุดจบของการนองเลือดในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 พระราชวงศ์ได้เสด็จกลับบูคาเรสต์ซึ่งสงบจากสงครามแล้ว พระราชินีมารีทรงตระเตรียมในการหาพระสวามีให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธและพระชายาให้เจ้าชายคาโรล ในปี ค.ศ. 1920 พระราชินีมารีและพระธิดาได้เสด็จไปพักผ่อนที่ลูกาโน เพื่อไปเสด็จเยี่ยมพระมารดาและพระขนิษฐา

พระราชินีมารีออกเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงวางแผนที่จะให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอิตาลี[7] ผู้ซึ่งทางพระราชวงศ์ได้ตระเตรียมการสมรสแล้ว แต่การพบปะก็ล้มเหลว เจ้าหญิงเสด็จกลับไปที่สวิตเซอร์แลนด์ ในตอนนั้นเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซตกอยู่ในภาวะลำบาก เนื่องจากพระราชวงศ์ถูกเนรเทศจากกรีซในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และพระราชวงศ์อยู่ระหว่างการลี้ภัย เพราะหลังจากสงครามมีหลายประเทศที่ประกาศล้มล้างระบอบกษัตริย์ พวกต่อต้านราชวงศ์มีกำลังกล้าแข็งขึ้น ดังนั้นการสมรสของพระธิดากับพระราชวงศ์ที่ยังเหลืออยู่ในยุโรปเป็นที่ยากยิ่งสำหรับพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธตอบตกลงในการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซในขณะที่มีการจัดเตรียมพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐา ในการตอบตกลงครั้งนี้เจ้าหญิงเอลิซาเบธยังทรงลังเลพระทัย เจ้าหญิงทรงเขียนบัทึกลับว่า "ตอนนี้ฉันอายุ 26 ปีและฉันรู้สึกหนักใจ เบื่อในความหวังและความคิดที่ผิดที่ยังคงมาไม่ถึง!" ด้วยแรงกดดันจากพระราชวงศ์เจ้าหญิงเอลิซาเบธต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1920 สมเด็จพระราชินีมารีทรงบันทึกไว้ว่า "วันนี้ช่างเป็นวันที่เสียอารมณ์จริงๆ กว่าเอลิซาเบธจะยอมรับการหมั้นอย่างเป็นทางการ... เธอมีความคิดแปลกคือไม่ได้ประทับใจในเจ้าชายจอร์จ เธอไม่ได้มีความรู้สึกที่ดีต่อเจ้าชายจอร์จและเธอคิดว่าการแต่งงานนี้จะทำให้ไม่มีความสุข แต่เธอบอกว่าไม่มีวันที่จะยกเลิกงานหมั้น เนื่องจากเธอมีมุมมองที่ต่างจากนั้นและเธอรู้ว่าอายุเท่านี้เธอควรจะแต่งงานได้แล้ว หลังอาหารกลางวันเธอรู้สึกเศร้ามากทั้งๆที่วันนั้นเป็นวันดี แต่แหมฉันจะได้เห็นการเรียนรู้ต่อไปในชีวิตเธอด้วยเธอเอง!"[8]

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 ที่โบสถ์เมโทรโปลิแทน บนยอดเขาในบูคาเรสต์ ได้มีพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซและเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ใช้เวลา 2 วันร่วมกันที่สครอวิสเทีย และในวันที่ 7 มีนาคม ได้เสด็จออกจากประเทศโรมาเนียไปยังกรีซ ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1921 มีการจัดพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายคาโรลกับเจ้าหญิงเฮเลนที่เอเธนส์

จากมกุฎราชกุมารีสู่สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1921 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเหยียบผืนแผ่นดินกรีซครั้งแรกในฐานะ พระชายาในมกุฎราชกุมารแห่งกรีซ สถานะของพระราชวงศ์กรีกในตอนนั้นเริ่มดีขึ้น สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 ทรงได้กลับคืนสู่พระราชบัลลังก์ หลังจากต้องลี้ภัยในต่างประเทศถึงหลายปี ในตอนนั้นชาวกรีกแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ พวกนิยมปฏิวัติกับพวกนิยมกษัตริย์และพระราชวงศ์ ความขัดแย้งของสองพวกนับว่าตึงเครีนดมาก

เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงปรับตัวไม่ได้กับประเทศใหม่ ทรงมีความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์กรีกอย่างเย็นชาตามอุปนิสัยของพระองค์ พระองค์ทรงขาดความรู้ในการเป็นชาวกรีกและเชื้อพระวงศ์กรีก และเชื่อว่าชาวกรีกจะไม่ยอมรับพระองค์ในฐานะมกุฎราชกุมารีหากทรงไม่มีพระประสูติกาล

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1922 เจ้าหญิงเอลิซาเบธพร้อมพระสวามีได้เสด็จกลับโรมาเนียครั้งแรกหลังจากอภิเษกสมรส ในฤดูใบไม้ผลิ พระองค์ทรงพระประชวรอย่างหนักด้วยไข้ไทฟอยด์ พระราชินีมารีต้องเสด็จไปยังกรีซเพื่อดูแลอาการประชวรของเจ้าหญิง การประชวรครั้งนี้สร้างความทรมานอย่างยาวนานแก่เจ้าหญิง ในฤดูร้อน พระอาการประชวรของเจ้าหญิงได้ทุเลาลงมาก พระองค์ได้เสด็จกลับโรมาเนีย เข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการของพระบิดาและพระมารดา ระหว่างทรงประทับอยู่ที่โรมาเนีย ได้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในกรีซคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 ทรงถูกยึดอำนาจในเดือนกันยายน ค.ศ. 1922 และต้องเสด็จออกจากประเทศอีกครั้ง พระองค์ได้สละราชบัลลังก์ เจ้าชายจอร์จ พระโอรสได้ครองราชย์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ

ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1922 เจ้าหญิงเอลิซาเบธได้เสด็จกลับกรีซในฐานะ "สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" ทรงตระหนักถึงความไม่พร้อมที่จะเผชิญสถานการณ์ทางการเมืองในกรีซ พระองค์เริ่มจะปฏิเสธงานเลี้ยง,งานรับรองหรืองานทูตอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะประทับที่ภาคใต้ของกรีซอย่างสงบ พระราชินีเอลิซาเบธทรงเพาะปลูกพรรณไม้ ขยายพันธุ์พืชแปลกๆ และทรงใช้เวลาในการอ่านหนังสือภาษากรีก และทั้งในฉบับภาษาเยอรมัน ทรงวาดภาพและเล่นเปียโน รวมทั้งเสด็จประพาส เวียนนา,ฟลอเรนซ์,ปารีสและลอนดอน

พระราชาธิบดีจอร์จกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียระหว่างลี้ภัยที่ลอนดอน ในปี ค.ศ. 1931

จากการที่สถานการณ์ภายในประเทศไม่ดีขึ้น ชนชั้นกลางได้โกรธแค้นและก่อการปฏิวัติกรีซขึ้นในปี ค.ศ. 1924 หลังจากพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 เพียง 15 เดือน พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์(ซึ่งทรงครองราชย์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1935) พระราชินีเอลิซาเบธทรงถูกถอดพระอิศริยยศ ซึ่งทำให้พระองค์โล่งพระทัย

หลังจากทรงลี้ภัยที่บูคาเรสต์ แล้วในลอนดอน ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 พระองค์เริ่มเลวร้ายลง ทั้ง 2 พระองค์ทรงแยกกันประทับ และทรงหย่าอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ค.ศ. 1935 อดีตพระราชินีเอลิซาเบธทรงกลับคืนสู่พระยศ "เจ้าหญิง" และเสด็จกลับโรมาเนียหลังจากทรงหย่า พระราชินีมารีทรงเล่าถึงความผิดหวังในพระธิดาว่า "ก่อนหย่า จอร์จได้พยายามหลายโอกาสที่จะคืนดีแต่พูดคุยกันผ่านผนังห้อง! เอลิซาเบธตอบโดยอ้างคนนั้นคนนี้ ดูเหมือนภรรยาของเขาซึ่งเป็นลูกฉันพยายามทำบางอย่างที่ไม่มีใครเข้าใจ จะมีใครเข้าใจเธออีกไหม?"[9]

เสด็จกลับสู่โรมาเนีย

จากซ้าย:พระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย,เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย อดีตสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ และ เจ้าหญิงมิกนอล พระขนิษฐา

หลังจากเสด็จกลับโรมาเนีย พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโรมาเนีย คอนสแตนติน อาร์กเทียนูได้จดจำได้ถึงข่าวลือที่เล่าต่อๆกันไปในเวลานั้นเกี่ยวกับพระองค์ว่า "พวกเขากล่าวว่า พระองค์เสด็จในเขตต่างๆ ฉลองพระองค์ด้วยเสื้อคลุมยาว และมักครวญเพลงของสครูเบิร์ต ลีเดอร์ ทรงสร้างความประหลาดใจมากภายในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร ทรงประทับใจในห้องที่มืดและประดับด้วยผ้าม่านสีซีด ทรงตื่นบรรทมในตอนกลางคืนและทรงเล่นเปียโนเพื่อขับร้องเพลงจนถึงย่ำรุ่ง ในบทเพลงของโมสาร์ท ทรงวาดภาพบ่อยๆ แต่ทรงเริ่มประพันธ์บทกลอน พระองค์ทรงเดินทางด้วยเงินบำเหน็จรายปีไปที่เวนิสและนีซ ไม่มีใครเห็นพระองค์อยู่กับคนใดเลย!"[10]

ไม่กี่ปีหลังจากขึ้นครองราชบัลลังก์โรมาเนีย ในปีค.ศ. 1930 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ ทรงกระทำการอันน่าแปลกใจ คือทรงสร้างพระราชวังขนาดเล็กและสวยงามแก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธบนฝั่งทะเลสาบเฮราสทรู รู้จักกันในนาม พระราชวังเอลิซาเบตาและต่อมาจะเป็นที่ที่พระนัดดาของเจ้าหญิงคือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทรงถูกยึดอำนาจโดย เปทรู กรอซาและจอร์เก จอร์จิอู-เด็จ ทรงถูกบังคับให้ลงพระนามสละราชบัลลังก์ และปัจจุบันที่นี้คือที่ประทับของพระราชวงศ์โรมาเนีย ตอนแรกเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงประทับที่นี่แต่เสด็จออกไปประทับเพียงลำพัง โดยทรงไปเล่นกอล์ฟเมื่อยามว่าง

จากการเข้ามาในราชวงศ์ของแม็กดา ลูเพสคู พระชายาองค์ใหม่ของพระเชษฐา พระองค์ทรงไม่อยากขัดพระทัยพระเชษฐาในเรื่องรายได้ ทรงประหยัดทรัพย์สินและทรงซื้ออดีตคฤหาสน์กอร์ฟ บานาท ในเขตเมืองบันล็อก ที่แห่งนี้แม่บ้าน 2 คนที่เคยรับใช้พระองค์พยายามรักษาปราสาทแห่งนี้จนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต และวาดภาพปราสาทนี้ไว้ด้วยสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ซึ่งภาพนี้ได้ตีพิมพ์ลงในพระนิพนธ์ของพระมารดาของพระองค์คือเรื่อง The Country That I Love ( "Land that I love " ) ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1947 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงทราบข่าวจากโทรเลขว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 อดีตพระสวามีเสด็จสวรรคต ในสมุดบันทึกของทรงจำของเจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย พระอนุชาของพระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า ทรงถามพระเชษฐภคินีว่า รู้สึกอย่างไรกับข่าวที่เศร้าเช่นนี้ เจ้าหญิงทรงตอบว่า "ถ้าฉันตอบว่าฉันรักเขาล่ะ" เจ้าชายนิโคลัสทรงร้องอุทานว่า "ยากที่จะเข้าใจพี่เอลิซาเบธของพวกเราอีกครั้งแล้ว!"[11]

เสด็จลี้ภัยและสิ้นพระชนม์

เหล่าคอมมิวนิสต์มีอำนาตเต็มหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาได้พยายามต่อต้านประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และสาธารณรัฐและพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นคอมมิวนิสต์ และปัญหานี้ยังคงยืดเยื้อในโรมาเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนียทรงถูกบังคับให้ลงนามสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 พระราชวงศ์ทุกพระองค์ต้องเสด็จออกจากแผ่นดินโรมาเนีย ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1948 รถไฟพระที่นั่งที่ซึ่งมีพระราชาธิบดีไมเคิล,สมเด็จพระราชชนนีเฮเลนและเจ้าหญิงอีเลียนา มุ่งหน้าสู่บันล็อก บนชานชลาไม้ของบันล็อก มีสตรี 3 คนรออยู่ซึ่งก็คือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซ พร้อมทั้งนางสนองโอษฐ์อีก 2 คน ทั้ง 3 ยืนรอด้วยความหนาวเย็นพร้อมสัมภาระส่วนพระองค์ แต่หลังจากทรงขึ้นรถไฟได้ไม่นาน พระองค์ทรงระลึกถึงความทรงจำที่ตรึงในจิตใจอยู่เบื้องหลัง ประเทศนี้เป็นที่ที่พระองค์ทรงเจริญพระชันษา ที่ที่ประทับอยู่ทั้งสุขและทุกข์ พระองค์ทรงรู้สึกว่าจะต้องแยกจากที่แห่งนี้อีกตลอดกาลโดยทรงทราบว่าพระชนม์ชีพจะอยู่ไม่ถึง 10 ปี [12]

ปราสาทบันล็อก ที่ประทับที่สุดท้ายของเจ้าหญิงเอลิซาเบธในโรมาเนีย ปัจจุบันทรุดโทรมลงมาก

หลังจากใช้เวลาอันสั้นประทับร่วมกับพระราชวงศ์ในเยอรมนี ที่ซิกมารินเกน เจ้าหญิงเสด็จไปประทับที่เมืองคานส์ ซึ่งทรงเช่าอพาร์ทเมนต์ ทรงใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยการเล่นเปียโน เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซเสด็จสวรรคตในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพถูกฝังที่เฟรนซ์ รีเวียรา

การอ้างสิทธิในพระราชทรัพย์ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ

ก่อนปี ค.ศ. 2006 ทรัพย์สินและที่ดินของพระองค์แถบบันล็อก ซึ่งปัจจุบันทรุดโทรมลงมาก ได้ถูกอ้างสิทธิและทำการซ่อมแซมโดยพอล-ฟิลิปเป โฮเฮนโซลเลิร์น พระนัดดาในเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ซึ่งเป็นทายาทอย่างไม่เป็นทางการของพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 การบูรณะต้องหยุดชะงักเพราะตามกฎพระราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น ไม่ยอมรับ"เลือดสีฟ้า"ของพอล-ฟิลิปเป ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ของพระราชวงศ์[13] พอล-ฟิลิปเป โฮเฮนโซลเลิร์นยังอ้างสิทธิในเงิน,เหรียญตรา,เครื่องประดับ,วัตถุทอง,แพลททินัมและโลหะมีค่าต่างๆของพระราชวงศ์ ที่ถูกยึดโดยคอมมิวนิสต์และทรัพย์สินที่เป็นของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ,พระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 และเจ้าชายนิโคลัส ซึ่งในปี ค.ศ. 1948 คอมมิวนิสต์ได้เข้ายึดวังบันล็อกได้ยึดเครื่องประดับ,เหรียญที่ระลึกและ เหรียญทอง 708 เหรียญ ปัจจุบันทางเมืองได้ซื้อวังนี้ในวาระ 49 ปีก่อตั้งมณฑลบานาท[14]

คำอ้างอิง

  • "ฉันรักเธอมากเท่าไหน เปเรส สวรรค์วัยเด็กของฉันที่จะหายไป!คุณจะรู้ไหมเกี่ยวกับแสงและเงา,เสียงและกลิ่นไอ เป็นที่แห่งความเหงา! เมื่อเราหายใจในปัจจุบันจะทำให้เราคิดกลับสู่อดีต ที่ซึ่งเป็นที่พักในความฝันและมายา สงสัยดังเช่นบทกวี <หิมะอยู่ที่ไหนในปีกลาย?>"- ที่มาจากไดอารี่ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ระหว่างทรงลี้ภัยในฝรั่งเศส
  • "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงเป็นกษัตริย์ด้วยการตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองและไม่แสวงหาผลประโยชน์ พระราชินีมารีได้ขึ้นเป็นพระราชินีด้วยความรัก ความทุ่มเทในโรมาเนีย และทรงมีความเฉลียวฉลาด แต่ก็ไม่มีใครสามารถเป็นครูที่ดีแก่ลูกๆได้ ... เกี่ยวกับคาโรล ทายาทที่ไม่มีใครอยากพูดถึง! ลูกคนที่สอง เอลิซาเบธ ไม่สามารถทำหน้าที่พระราชินีแห่งกรีซรวมทั้งเจ้าหญิงแห่งโรมาเนียได้เต็มที่ เธอมักจบวันนั้นในโรงแรมซึ่งทรงเป็นนักผจญภัยที่เดินทางไปทุกที่ มิกนอล ลูกสาวอีกคนกลับได้รับการยอมรับในฐานะพระราชินีแห่งเซอร์เบีย เพราะมือเหล็กของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งเซอร์เบียและสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดในเซอร์เบีย แต่มิกนอลได้ลืมเลือนว่าตนเป็นชาวโรมาเนีย มีเพียง 2 คนก่อนเมอร์เชียเท่านั้นคือ นิโคลัสและอีเลียนานับเป็นชาวโรมาเนียที่แท้จริง.."-ที่มาจากเลขาส่วนตัวของเจ้าชายนิโคลัส

พระราชตระกูล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เจ้าชายชาร์ลส์แห่งโฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน
 
 
 
 
 
 
 
8. ชาร์ลส์ แอนโทนีแห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. มารี แอนโตเน็ต มูรัต
 
 
 
 
 
 
 
4. ลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. แกรนด์ดยุคคาร์ลแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สเตฟานี เดอ โบอาเนส์
 
 
 
 
 
 
 
2. เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อธธา
 
 
 
 
 
 
 
10. เฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมารี แอนโตเน็ตแห่งโคฮารี
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงแอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
11. มาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. จักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดินาแห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
1. เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. แอร์นส์ที่ 1 ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเท็นบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
6. เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ออกุสตุส ดยุคแห่งเคนท์และสตราเธิร์น
 
 
 
 
 
 
 
13. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเท็นบูร์ก-ซาร์ฟิลด์
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
14. ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
7. แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. แกรนด์ดยุคหลุยส์ที่ 2 แห่งเฮสส์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงวิลเฮล์มมิเนแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  1. [1.^ a b c d e .[[Articol despre Principesa Elisabeta în Formula AS, scris de Marius Petrescu]
  2. Regina Maria, Însemnari zilnice vol II, Editura Historia 2006, pag. 276.
  3. Regina Maria, Însemnari zilnice vol IV, Editura Historia 2006, pag. 289.
  4. Regina Maria, Însemnari zilnice vol V, Editura Historia 2006.
  5. Argetoianu, Constantin, Memorii. Pentru cei de mâine. Amintiri din vremea celor de ieri, editura Humanitas.]
  6. Regina Maria, Însemnari zilnice vol III, Editura Historia 2006, pag 61.]
  7. Regina Maria, Însemnari zilnice vol III, Editura Historia 2006, pag. 62]
  8. Regina Maria, Însemnari zilnice vol II, Editura Historia 2006, pag. 278]
  9. Regina Maria, Însemnari zilnice vol II, Editura Historia 2006, pag. 278]
  10. Argetoianu, Constantin, Memorii. Pentru cei de mâine. Amintiri din vremea celor de ieri, editura Humanitas]
  11. Articol despre Principesa Elisabeta în Formula AS, scris de Marius Petrescu]
  12. Princess Elizabeth article in Formula ASWritten by Marius Petrescu]
  13. According to newspaper article Renaissance Banat entitled About the process of restitution of the castle at Banloc]
  14. According to newspaper article Renaissance Banat entitled Heirs of Banat dated 01/11/2009]
ก่อนหน้า เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย ถัดไป
เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย
สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
(ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค)

(22 กันยายน ค.ศ. 1922 – 25 มีนาคม ค.ศ. 1924)
เจ้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!