เอฟ-14 ทอมแคท (อังกฤษ : F-14 Tomcat ) เป็นเครื่องบินขับไล่ ปีกพับสองที่นั่งสองเครื่องยนต์มีความเร็วเหนือเสียง เอฟ-14 เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ เครื่องบินสกัดกั้น และเครื่องบินลาดตระเวนทางยุทธวิธีของกองทัพเรือสหรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517–2549 ต่อมามันได้เปลี่ยนมาทำภารกิจโจมตีที่แม่นยำเมื่อได้ใช้ระบบอินฟราเรดจับเป้ากลางคืนแลนเทิร์น (LANTIRN ) [ 1] เอฟ-14 ถูกสร้างขึ้นหลังจากที่โครงการเอฟ-111 ล้มเหลว และเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่แบบแรกของสหรัฐฯ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับเครื่องบินมิก ในสงครามเวียดนาม
มันได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยเข้าแทนที่เอฟ-4 แฟนทอม 2 ต่อมาถูกส่งให้กับกองทัพอากาศอิหร่านในปี พ.ศ. 2519 เมื่อสหรัฐฯ ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอิหร่าน มันถูกปลดประจำการจากกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยถูกแทนที่โดยเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท [ 2] ในปีพ.ศ. 2551 มันยังคงประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐอิหร่าน
การพัฒนา
โครงการเอฟ-14 ทอมแคทนั้นเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพเรือสหรัฐตระหนักว่า ปัญหาน้ำหนักและความคล่องตัวกำลังทำลายเครื่องบินมากมายของตน (อย่างเอฟ-111บี ) ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกองทัพเรืออย่างมาก ทางกองทัพเรือต้องการเครื่องบินขับไล่ป้องกันกองเรือ พร้อมด้วยบทบาทหลักในการเข้าสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดของโซเวียต ก่อนที่พวกมันจะยิงขีปนาวุธเข้าใส่หมวดเรือบรรทุกเครื่องบินได้ กองทัพเรือยังต้องการให้เครื่องบินมีเอกลักษณ์เป็นเครื่องบินครองความได้เปรียบทางอากาศตามปกติ กองทัพเรือต่อต้านโครงการทีเอฟเอกซ์อย่างมาก ซึ่งร่วมกับความต้องการของกองทัพอากาศเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องบินโจมตีระดับต่ำ พวกเขากลัวว่าหากไม่คัดค้านจะทำให้ได้เครื่องบินที่ไม่สมบูรณ์ แต่ก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมในโครงการจากคำสั่งโดยตรงของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโรเบิร์ต แมคนามาร่าผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนา ตัวอย่างก่อนหน้าอย่างเอฟ-4 แฟนทอม 2 ซึ่งเป็นโครงการของกองทัพเรือและกองนาวิกโยธินสหรัฐ ได้ถูกนำมาใช้โดยกองทัพอากาศ รองนายพลเรือโธมัส คอนนอลลี่ใช้การพัฒนาของเอฟ-111เอมาทดสอบและพบว่ามันในควมเร็วเหนือเสียงได้ยากและลงจอดก็ยากเช่นกัน ต่อมาเขาพิสูจน์ให้สภาคองเกรสเห็นว่าความกังวลของเขาต่อตำแหน่งของกระทรวงกองทัพเรือและในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2511 สภาคองเกรสก็ตัดงบของเอฟ-111บี ทำให้กองทัพเรือสามารถซื้อความต้องการใหม่ได้
ไม่นานกองบัญชาการระบบอากาศของกองทัพเรือได้ประกาศหาข้อเสนอสำหรับเครื่องบินขับไล่สำหรับกองทัพเรือ โดยเป็นเครื่องบินสองที่นั่งเรียงพร้อมความเร็วที่ 2.2 มัคและมีความสามารถในการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด ด้วยห้าบริษัทที่ยอมรับข้อเสนอ (สี่บริษัทร่วมกันสร้างแบบที่ปีกพับได้เหมือนกับเอฟ-111) แมคดอนเนลล์ ดักลาส และกรัมแมน ถูกเลือกให้เป็นสองบริษัทสุดท้ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 และกรัมแมนก็ชนะสัญญาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 กรัมแมนนั้นเป็นผู้ร่วมงานในเอฟ-111บี และได้เริ่มงานในอีกทางเลือกเมื่อพวกเขาเห็นว่าโครงการเดิมกำลังแย่ลง การออกแบบก่อนหน้านี้ของพวกเขาถูกหารือกับนายทหารของกองทัพเรือเพื่อเป็นอีกทางเลือกของเอฟ-111บี[ 3]
กรัมแมนได้นำเครื่องยนต์ทีเอฟ30 ของเอฟ-111บี มาใช้อีกครั้ง แม้ว่ากองทัพเรือได้วางแผนที่จะแทนที่มันด้วยเอฟ401-พีดับบลิว-400 ที่กำลังอยู่ในการพัฒนา[ 4] แม้ว่าจะเบากว่าเอฟ-111บี มันก็ยังใหญ่และหนักกว่าเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐลำใด ๆ ที่เคยบินบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ขนาดของมันมาจากการที่ต้องบรรทุกเรดาร์เอดับบลิว-9 ขนาดใหญ่และขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ นอกจากนั้นเชื้อเพลิงข้างในยังมีถึง 7,300 กิโลกรัม เอฟ-14 ยังมีช่องรับลม ปีก และอุปกรณ์ลงจอดที่เหมือนกันกับเอ-6 อินทรูเดอร์ ของกรัมแมน[ 5]
ด้วยการที่ได้สัญญาในการสร้างเอฟ-14 กรัมแมนจึงได้ขยายโรงงานที่นิวยอร์กเพื่อเป็นที่ทดสอบและพัฒนาเครื่องบินสกัดกั้นแบบใหม่ เพื่อประหยัดเวลาและป้องกันการแทรกแซงจากกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือจึงข้ามขั้นตอนต้นแบบและมุ่งไปที่การพัฒนาเต็มรูปแบบ กองทัพอากาศก็ทำเช่นเดียวกันในเอฟ-15 ของพวกเขา.[ 6]
เอฟ-14 ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เพียง 22 เดือนหลังจากที่กรัมแมนได้รับสัญญา และเริ่มการทดสอบความมีประสิทธิภาพในพ.ศ. 2516 กองนาวิกโยธินสหรัฐ สนใจในเอฟ-14 เพื่อนำมาแทนที่เอฟ-4 แฟนทอม 2 และได้ส่งนักบินและเรดาร์เพื่อทำการฝึก นาวิกโยธินไม่เคยขายเครื่องบินเต็มอัตราและถอนออก เมื่อระบบการจัดการคลังแสงสำหรับอาวุธโจมตีภาคพื้นดินถูกทิ้งให้ไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้เครื่องบินไม่สามารถใช้อาวุธเหล่านั้นได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2533[ 6]
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง
ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ ลูกแรกยิงโดยเอฟ-14 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2515 [ 7] ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นมีการยิงเพื่อทำลายเป้าหมายที่พุ่งตรงเข้ามาจากระยะ 200 กิโลเมตร นี่คือเกินระยะปกติของระบบอาวุธของเอฟ-14 ที่มีเพียง 166 กิโลเมตร อีกการทดสอบที่ไม่ธรรมดาคือในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 โดยขีปนาวุธหกลูกถูกยิงภายใน 38 วินาทีที่ความเร็ว 0.78 มัคในระดับ 24,800 ฟุต ซึ่งมีสี่ลูกที่ยิงโดนเป้า ขีปนาวุธนี้ได้เข้าประจำการในต้นปี พ.ศ. 2518 หลังจากสงครามเวียดนาม จบลง
ขีปนาวุธรุ่นแรก ๆ ถูกแทนที่โดยรุ่นที่ก้าวหน้ากว่า โดยเฉพาะการมาของอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำให้มันเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับเครื่องยนต์จรวด ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนเอไอเอ็ม-54เอ ฟีนิกซ์ เอไอเอ็ม-7อี-2 สแปร์โรว์ และเอไอเอ็ม-9เจ ไซด์ไวน์เดอร์มาเป็นฟีนิกซ์แบบบีและซี แบบเอฟ เอ็ม พีสำหรับสแปร์โรว์ และไซด์ไวน์เดอร์ก็เปลี่ยนเป็นแบบแอลและเอ็ม[ 7]
ระบบกระเปาะลาดตระเวนทางอากาศทางยุทธวิธีหรือทาร์ปส์ (Tactical Airborne Reconnaissance Pod System, TARPS ) ถูกสร้างขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2513 สำหรับทอมแคท กระเปาะทาร์ปส์จะติดตั้งอยู่ที่ด้านขวาของลำตัวส่วนท้ายและต้องมีการเชื่อมต่อเพิ่มเติม มีเอฟ-14เอประมาณ 65 ลำ และเอฟ-14ดีทั้งหมดที่ถูกดัดแปลงให้ใช้กระเปาะดังกล่าว[ 8] ระบบนี้จะควบคุมโดยนั่งบินที่นั่งอยู่ด้านหลังเพื่อใช้มันในการลาดตระเวนหาข้อมูล[ 9] ระบบทาร์ปส์ถูกนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2523[ 9] ทาร์ปส์ถูกพัฒนาด้วยกล้องดิจิทัลในปี พ.ศ. 2539 กล้องดิจิทัลทำการพัฒนาต่อในปี พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า"ทาร์ปส์-ซีดี"[ 9]
เอฟ-14เอบางลำเผชิญกับการพัฒนาเครื่องยนต์ให้เป็นจีอี เอฟ110-400 ในปี พ.ศ. 2520 ทอมแคทที่พัฒนาเหล่านี้ถูกตั้งชื่อใหม่ว่าเอฟ-14เอ+ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นเอฟ-14บี ในปี พ.ศ. 2534[ 10] เอฟ-14ดี ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลานี้เอง มันรวมทั้งเครื่องยนต์จีอี เอฟ110-400 พร้อมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศดิจิทัลแบบใหม่และห้องนักบินแบบกระจก เอฟ-14ดี ยังได้รับระบบลิงก์ 16 เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล[ 11] ทอมแคทยังได้เปรียบจากระบบควบคุมการบินที่เป็นดิจิทัลหรือดีเอฟซีเอส (Digital Flight Control System, DFCS ) ระบบนี้พัฒนาการควบคุมให้มีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องบินบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ทั้งในมุมปะทะ ระดับสูง และในการหลบหลีก
การเพิ่มความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน
ในคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อเอ-6 อินทรูเดอร์ ถูกปลดประจำการโครงการอากาศสู่พื้น ของเอฟ-14 ก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง การทดลองครั้งแรกกับระเบิดเกิดขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 อย่างไรก็ดีงานหลักของเอฟ-14 คือให้การป้องกันทางอากาศในปฏิบัติการพายุทะเลทราย ดังนั้นภารกิจโจมตีภาคพื้นดินจึงตกเป็นของเอ-7 และเอฟ/เอ-18 เพื่อให้เอฟ-14 สามารถใช้อาวุธนำวิถีได้จึงมีโครงการพัฒนาสำหรับเอฟ-14เอ และเอฟ-14บี ที่เหลือ การพัฒนารวมทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศแบบดิจิทัลแบบใหม่ จอแสดงภาพในห้องนักบิน การพัฒนาด้านโครงสร้าง และระบบป้องกันภัย เครื่องบินที่พัฒนาแล้วมีอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่เทียบได้กับเอฟ-14ดีและถูกตั้งชื่อใหม่ว่าเอฟ-14เอ (อัพเกรด) และเอฟ-14บี (อัพเกรด) ตามลำกับ[ 8]
ในปี พ.ศ. 2537 กรัมแมนและกองทัพเรือได้รับข้อเสนอสำหรับการพัฒนาทอมแคทเพื่อเติมช่องว่างระหว่างเอ-6 ที่ปลดประจำการกับเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท ที่กำลังเข้าประจำการ แต่สภาคองเกรสก็ขัดขวางเอาไว้ การพัฒนานั้นมีมูลค่าพันล้านและอาจใช้เวลานาน[ 8] สุดท้ายทางออกคือการพัฒนาที่รวดเร็วและไม่แพง ด้วยการเติมระบบการนำร่องที่ความสูงต่ำและอินฟราเรดหาเป้าตอนกลางคืนหรือเรียกสั้น ๆ ว่าแลนเทิร์น (LANTIRN ) ซึ่งทำให้เอฟ-14 มีกล้องอินฟราเรดด้านหน้าสำหรับตอนกลางคืนและเลเซอร์จับเป้าเพื่อชี้เป้าให้กับระเบิดนำวิถี[ 12]
แม้ว่าแลนเทิร์นเป็นระบบที่จะต้องมีสองกระเปาะ คือกระเปาะนำร่องเอเอ็น/เอเอคิว-13 และกระเปาะจับเป้าเอเอ็น/เอเอคิว-14 การตัดสินใจลงเอยด้วยการใช้กระเปาะจับเป้าเพียงอย่างเดียว กระเปาะจับเป้าในระบบแลนเทิร์นของเอฟ-14 มีจุดเด่นที่มีการพัฒนาเหนือแบบทั่วไป โดยเฉพาะระบบจีพีเอส-ไอเอ็นเอส (Global Positioning System / Inertial Navigation System, GPS-INS ) ซึ่งทำให้เอฟ-14 รู้ตำแหน่งของตัวเองเสมอ กระเปาะถูกติดตั้งที่ใต้ปีกขวา[ 12]
กระติดตั้งกระเปาะแลนเทิร์นเข้าไปนั้นไม่ได้ทำให้เอฟ-14 ต้องเปลี่ยนแปลงระบบซอฟต์แวร์ใด ๆ ของมัน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและขยายการพัฒนาออกไปอีก นักบินคนที่สองหรือผู้สกัดกั้นเรดาร์จะได้รับภาพจากกระเปาะบนหน้าจอของเขา และใช้คันบังคับแบบใหม่เพื่อนำทางระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ คันบังคับแบบแรกนั้นแทนที่ระบบทาร์ปส์ แปลว่าเอฟ-14 จะไม่สามารถใช้ระบบแลนเทิร์นคู่กับระบบทาร์ปส์ได้ แต่ในที่สุดการพัฒนาก็ทำให้เอฟ-14 ใช้ได้ทั้งสองอย่าง[ 12] แลนเทิร์นที่ได้รับการพัฒนาถูกเรียกว่า"แลนเทิร์น 40เค"พร้อมด้วยเลเซอร์ 40เคที่ทำให้มันทำงานได้ในระดับ 40,000 ฟุตซึ่งถูกนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2544[ 12]
ทอมแคทยังได้รับความสามารถใหม่ในการใช้ระเบิดจีบียู-38 หรือเจแดมในปีพ.ศ. 2546 ทำให้มันมีระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์และอาวุธนำวิถีด้วยจีพีเอส ที่หลากหลาย[ 13] เอฟ-14ดีบางลำถูกพัฒนาในปี พ.ศ. 2548 ด้วยระบบโรเวอร์ 3 ที่ทำหน้าที่ส่งภาพจริงจากเครื่องบินไปยังแล็ปท็อปของผู้ควบคุมอากาศยานหน้า บนพื้นดิน[ 14]
การออกแบบ
ภาพรวม
เอฟ-14 ทอมแคทถูกออกแบบมาให้เป็นทั้งเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ และเครื่องบินสกัดกั้นทางทะเลพิสัยไกล เอฟ-14 มีสองที่นั่งพร้อมฝาครอบห้องนักบินที่ให้มุมมอง 360 องศา เครื่องบินมีจุดเด่นที่ปีกซึ่งสามารถพับได้อย่างอัตโนมัติเมื่อทำการบิน ในการเข้าสกัดกั้นด้วยความเร็วสูงปีกจะลู่ไปข้างหลัง พวกมันจะกางออกเพื่อทำให้เอฟ-14 เลี้ยวได้แคบขึ้นและได้เปรียบในการต่อสู้ มันถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาการทำงานของเอฟ-4 แฟนทอม 2 ในหลาย ๆ ด้าน ลำตัวและปีกของเอฟ-14 ทำให้มันไต่ระดับได้รวดเร็วกว่าเอฟ-4 ในขณะที่หางคู่นั้นช่วยเพิ่มความเสถียร เอฟ-14 มีปืนแกทลิ่ง เอ็ม61 วัลแคน ขนาด 20 ม.ม.ติดอยู่ที่ด้านซ้าย และสามารถใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ และเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ ได้ กองทัพเรือสหรัฐต้องการให้เอฟ-14 มีอัตราแรงขับต่อน้ำหนักให้เท่ากับหนึ่งหรือมากกว่า แต่นั่นก็ไม่สามารถเป็นจริงได้จนกระทั่งเอฟ-14 เข้าประจำการ เพราะว่าการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ล้าช้า
ลำตัวและปีก
ลำตัวนั้นประกอบด้วยพื้นที่ราบขนาดใหญ่ที่เรียกว่า"แพนเค้ก"อยู่ระหว่างส่วนแยกของเครื่องยนต์ เชื้อเพลิง อิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมการบิน และกลไกของปีกจะอยู่ที่ส่วนนี้ "แพนเค้ก"ยังช่วยสร้างแรงยกอีกด้วย เครื่องยนต์ทั้งสองถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านใต้ของส่วนแยกและเยื้องออกไปทางข้างหลังเล็กน้อย โดยมีลำตัวที่ผสมกลืนเข้าไปในรูปของท่อไอเสีย ส่วนแยกจะมีขนาด 1.3 ฟุต สิ่งนี้ช่วยให้เกิดอุโมงค์ที่กว้างระหว่างส่วนแยกซึ่งสร้างแรงฉุดเล็กน้อย อย่างไรก็ตามมันก็เพิ่มพื้นที่ให้ติดตั้งขีปนาวุธฟีนิกซ์และสแปร์โรว์ ระเบิด หรือกระเปาะทาร์ปส์ และเพิ่มพื้นที่ให้กับเชื้อเพลิงและอุปกรณ์[ 7]
ปีกของเอฟ-14 สามารถทำมุมได้ระหว่าง 20–68 องศา[ 15] และจะควบคุมโดยคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ สิ่งนี้จะคอยดูให้ปีกมีความเหมาะสมในอัตราแรงยกต่อแรงฉุดเมื่อความเร็วมัคเปลี่ยนไป แต่มันก็สามารถบังคับด้วยมือโดยนักบินได้หากจำเป็น เมื่อจอดเครื่องบินปีกจะสามารถพับได้ 75 องศาซึ่งมันจะไปทับส่วนหางเมื่อลดพื้นที่ที่มันใช้จอด หากฉุกเฉินเอฟ-14 สามารถลงจอดพร้อมปีกลู่เต็มที่ 68 องศา[ 7] แม้ว่ามันจะไม่ค่อยเหมาะสมและเสี่ยง เอฟ-14 สามารถบินและลงจอดอย่างปลอดภัยด้วยปีกที่ลู่หากว่าจำเป็น[ 16]
ปีกนั้นมีสองโครงสร้างกับถังเชื้อเพลิง โครงสร้างส่วนใหญ่อย่างกล่องปีก แกนหมุน และผิวบนล่างของปีกทำมาจากไทเทเนียม [ 7] มันเป็นวัสดุที่เบาและแข็งแรง แต่ยากที่จะเชื่อมและมีราคาสูง การบินหมุนควงนั้นจะเกิดจากสปอยเลอร์ที่ความเร็วระดับต่ำ (ซึ่งจะถูกยกเลิกหากปีกทำมุมเกิน 57 องศา) และโดยการเปลี่ยนแพนหางทั้งหมดในความเร็วสูง[ 7] ขอบส่วนหน้าของปีกหรือสแล็ท (Slat ) ที่ยาวตลอดแนวและแฟล็บ (Flap ) ถูกใช้เพื่อเพิ่มแรงยกทั้งในตอนลงจอดและต่อสู้ โดยสแล็ทจะทำมุม 17 องศาสำหรับลงจอดและ 7 องศาสำหรับต่อสู้ ในขณะที่แฟล็บจะทำมุม 35 องศาและ 10 องศาตามลำดับ[ 7] หางทั้งสองจะช่วยในการเคลื่อนไหวที่มุมปะทะระดับสูง ในขณะที่ลดความสูงของเครื่องบินเพื่อให้เก็บเข้าโรงเก็บบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ได้ง่าย เครื่องยนต์ทั้งสองที่ติดตั้งอยู่ข้างใต้นั้นก็เพื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิง
ผิวหน้าที่คืนรูปได้ ถูกเรียกว่ากังหันนวม (อังกฤษ : Glove Vane ) เดิมทีติดตั้งอยู่ที่ส่วนหน้าของปีก และสามารถขยายได้อัตโนมัติด้วยระบบควบคุมการบินที่ความเร็วสูง พวกมันถูกใช้เพื่อสร้างแรงยกเพิ่มที่ส่วนหน้าของเครื่องบิน ดังนั้นมันจึงเป็นการช่วยชดเชยแนวโน้มที่เครื่องจะปักหัวลงเมื่อทำความเร็วเหนือเสียง มันจะถูกใช้งานโดยอัตโนมัติที่ความเร็วประมาณ 1 มัค อย่างไรก็ตามมันก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักและความซับซ้อน[ 7]
เบรกอากาศประกอบด้วยผิวหน้าที่ยืดออกได้ที่ส่วนหลังสุดของลำตัว ระหว่างเครื่องยนต์ทั้งสอง ผิวหน้าด้านใต้จะแยกเป็นครึ่งซ้ายกับขวา รูปแบบจัดการนี้บางครั้งก็เรียกว่า"คาสเตอร์เทล" (castor tail )[ 17] หรือ"บีเวอร์เทล" (beavertail )[ 18] ทอมแคทใช้กลไลควบคุมการบินทั้งหมด[ 7] ยกเว้นเพียงสปอยเลอร์ซึ่งเป็นการใช้ไฮดรอลิก
เครื่องยนต์และอุปกรณ์ลงจอด
เอฟ-14 ที่กลางล้อออกเพื่อลงจอด
เครื่องยนต์จะมีช่องรับลมสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ติดตั้งอยู่ใต้ปีกทั้งสองข้าง แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เจที10เอนั้นให้กำลังมหาศาลในชั่วขณะหนึ่งและเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน พวกมันทำให้เกิดการลดการใช้เชื้อเพลิงในขณะที่บินร่อน ซึ่งจำเป็นในภารกิจลาดตระเวนระยะยาว
ช่องรับลมทั้งสองมีทางลาดที่ขยับได้และประตูที่จะควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้อากาศเข้าไปในเครื่องยนต์ในขณะที่ไม่ทำให้มันสั่นสะเทือน ท่อไอเสียยังมีจุดเด่นที่หัวฉีดกับกลีบที่ขยับได้ซึ่งจะเปิดหรือปิดตามสถานะของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ทีเอฟ30 นั้นขาดทั้งกำลังและความเชื่อถือได้ รัฐมนตรีกองทัพเรือจอห์น เลห์แมนได้บอกกับสภาคองเกรสว่าการผสมผสานของเอฟ-14 กับเครื่องทีเอฟ30 อาจเป็นการจับคู่ของเครื่องยนต์กับโครงสร้างที่แย่ที่สุดในรอบปี และกล่าวว่าเครื่องยนต์ทีเอฟ30 นั้นเป็นเครื่องยนต์ที่แย่มาก[ 15] [ 17] ด้วยการมีอุบัติเหตุของเอฟ-14 28% ที่มีสาเหตุมาจากเครื่องยนต์ รอยแตกของกังหันนั้นอันตรายมากด้วยการที่ส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์จะถูกเสริมกำลังเมื่อใบพัดไม่ทำงาน เพื่อช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดกับเครื่องทั้งเครื่อง เครื่องยนต์ทีเอฟ30 ยังมีแนวโน้มที่จะหยุดทำงานได้ง่ายซึ่งจะทำให้เสียการควบคุมเพราะว่าเครื่องยนต์ที่กว้าง ซึ่งส่งผลให้เกิดการหักเหอย่างรุนแรงจนเครื่องบินอาจหมุนควง เมื่อถึงความสูงระดับหนึ่งไอเสียจากขีปนาวุธที่ยิงออไปสามารถทำให้ตัวบีบอัดของเครื่องยนต์หยุดทำงานได้ สิ่งนี้ส่งผลให้มีการพัฒนาระบบไหลเวียนซึ่งจะลดกำลังของเครื่องยนต์ชั่วคราว และปิดช่องรับลมด้านหน้าในขณะทำการยิงขีปนาวุธ อัตราแรงขับต่อน้ำหนักพร้อมอาวุธเต็มที่จะอยู่ที่ 0.59 ซึ่งเทียบไม่ได้กับเอฟ-15เอ ที่มีอัตราอยู่ที่ 0.85[ 19] กระนั้นเครื่องบินเองก็ยังสามารถทำความเร็วได้ถึง 2.4 มัค และความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2.34 มัค เชื้อเพลิงภายในมีขนาด 2,400 แกลลอน ในปีกแต่ละข้างอีก 290 แกลลอน ในถังท้านห้องนักบินอีก 690 แกลลอน และในถังเชื้อเพลิงด้านนอกสองถังอีก 457 แกลลอน เครื่องบินสามารถบรรทุกถังปลดได้ขนาด 267 แกลลอนสองถังที่ใต้ช่องรับลม[ 7] นอกจากนั้นยังมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศซึ่งจะยื่นออกมาจากส่วนจมูก
โครงสร้างส่วนล่างของเครื่องบินนั้นแข็งแรงมาก เพื่อที่จะทนทานจากการบินขึ้นและลงจอดที่รุนแรงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน มันประกอบด้วยล้อคู่ที่ส่วนจมูกและพื้นที่กว้างมากในส่วนของล้อหลัก มันต่างจากส่วนล่างที่แคบและสูงของเอฟ-15 อีเกิล ทั้งสองแบบมีน้ำหนักที่เท่า ๆ กันและปีกที่สูงซึ่งทำให้ส่วนล่างนั้นติดตั้งอะไรเข้าไปได้ ลำตัวของทอมแคทนั้นกว้างกว่าและไม่ต้องใช้ถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่เหมือนกับของเอฟ-15 ที่ติดอยู่ที่ส่วนกลาง ในจุดที่ปีกพับนั้นจะไม่มีตำบลติดอาวุธ ดังนั้นอาวุธทั้งหมดจึงถูกติดตั้งที่ส่วนท้องระหว่างช่องรับลมและตรงปีกนวม
ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศและระบบควบคุมการบิน
ห้องนักบิน นั้นเป็นที่นั่งเรียงกันสองที่นั่ง นักบินและผู้สกัดกั้นเรดาร์จะนั่งบนเก้าอี้ดีดตัว ขับเคลื่อนด้วยจรวดมาร์ติน-เบเกอร์ จีอาร์ยู-7เอ[ 20] พวกเขาจะมีมุมมอง 360 องศาซึ่งเป็นฝาครอบที่มีกระจกสี่แผ่น หนึ่งสำหรับผู้สกัดกั้นเรดาร์และที่เหลือสำหรับนักบิน ฝาครอบยังคงเป็นแบบทั่วไปคือมีสามชิ้นส่วน แต่โครงสร้างโดยรวมนั้นมีขนาดใหญ่และให้การมองเห็นที่ดี ลูกเรือมีการควบคุมที่คลาสสิกและอุปกรณ์แบบเดิมโดยเป็นแบบผสมของอนาล็อกกับดิจิจอล มีเพียงนักบินเท่านั้นที่ควบคุมเครื่องบิน[ 7] เอฟ-14 นั้นไม่เคยมีระบบควบคุมคู่ ดังนั้นนักบินจึงเริ่มฝึกด้วยการบินในเครื่องลำอื่นและเครื่องจำลองการบินก่อน ระบบควบคุมหลักเป็นเฮด-อัพดิสเพลย์ ที่ผลิตโดยไคเซอร์ มีจอวีเอสไอและเอชเอสไอที่แสดงข้อมูลความเร็ว การนำร่อง และข้อมูลอื่น ๆ เอฟ-14เอ และบี ไม่มีหน้าจอที่มีหลายรูปแบบ ไม่เหมือนกับของเอฟ-16 และเอฟ/เอ-18
ส่วนจมูกของเครื่องบินจะมีขนาดใหญ่เพื่อบรรจุระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศจำนวนมาก อีซีเอ็มและการนำร่องจะกินเนื้อที่เยอะและซับซ้อนมาก ส่วนประกอบหลักคือเรดาร์เอดับบลิวจี-9 เอ็กซ์-แบนด์ของฮิวจ์ส ซึ่งในรุ่นแรกนั้นมีทั้งระบบดิจิทัลน้ำหนักเบา 5400บีพร้อมแรม 32 กิโลไบต์ จานดาวเทียมขนาด 36 นิ้วใช้พลังงาน 10 กิโลวัตต์และทำงานร่วมกับเสาอากาศ มันมีรูปแบบค้นหาและติดตามมากมายให้เลือกใช้ เช่น ติดตามขณะสแกน หาระยะขณะค้นหา ติดตามเป้าหมายเดียวด้วยเรดาร์พัลส์ และรบกวนวัดมุมติดตาม มันสามารถจับเป้าหมายได้มากสุด 24 เป้าหมายในเวลาเดียวกัน และสามารถเข้าปะทะได้ 6 เป้าหมายในระยะ 100 กิโลเมตรในโหมดติดตามขณะสแกน ในโหมดติดตามเป้าหมายเดียวจะมีพิสัยสูงสุดที่ประมาณ 150 กิโลเมตร พิสัยค้นหาสูงสุดสามารถทำได้ถึง 190 กิโลเมตร และกระทั่งเครื่องบินขับไล่ก็สามารถถูกล็อกเป้าได้ที่ 120–140 กิโลเมตร ขีปนาวุธร่อน ยังสามารถถูกตรวจพบโดยเรดาร์เอดับบลิวจี-9 เพราะเรดาร์นี้สามารถล็อกเป้าและติดตามวัตถุที่มีขนาดเล็กในความสูงต่ำได้เมื่อใช้เรดาร์พัลส์ จานดาวเทียมของเรดาร์ที่จมูกและระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลังส่วนจมูก ใกล้กับที่นั่งของนักบิน ระบบอื่น ๆ จะอยู่ใกล้กับที่นั่งของผู้สกัดกั้นเรดาร์ และส่วนใหญ่จะแสดงสถานะในหน้าจอระบบของเอดับบลิวจี-9
ทอมแคทยังมีจุดเด่นที่อุปกรณ์ต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบเรดาร์แจ้งเตือน เครื่องปล่อยพลูและเป้าล่อ ระบบแบ่งข้อมูลระหว่างเครื่องบิน และระบบนำร่องที่แม่นยำ ระยะพิกัดในตอนแรกถูกโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์นำร่อง และไจโรสโคปในระบบจะติดตามทุกการเคลื่อนไหวของเครื่องบิน การเคลื่อนไหวเหล่านี้จะถูกส่งไปที่คอมพิวเตอร์นำร่อง ทำให้มันคำนวณระยะและทิศทางของเครื่องบินจากจุดเริ่มต้น ต่อมาระบบจีพีเอสถูกติดตั้งเข้าไปในระบบนี้ ทำให้มันไม่เพียงแค่ให้การนำร่องที่แม่นยำ แต่ยังให้ข้อมูลสำรองในกรณีที่ระบบเกิดล้มเหลว
เครื่องปล่อยพลูและเป้าล่อนั้นจะอยู่ที่ส่วนท้องบริเวณเกือบปลายหางใกล้กับขอเกี่ยว เครื่องปล่อยจะบรรจุไปด้วยกระบอกมากมาย ซึ่งเป้าล่อหรือพลุแต่ละดอกจะถูกผสมกันในแบบใดก็ได้ ระบบอาร์ดับบลิวอาร์ถูกจัดการให้มีเสาอากาศทั้ง 4 อยู่ทั่วเครื่องบิน และสามารถคำนวณทิศทางและระยะในรูปแบบต่าง ๆ ของเรดาร์จากเครื่องบินและขีปนาวุธหลายชนิด ระบบอาร์ดับบลิวอาร์สามารถแสดงสถานะเรดาร์ของเครื่องบินที่ติดตามอยู่ได้ มันสามารถบอกความแตกต่างระหว่างเรดาร์ค้นหากับเรดาร์ของขีปนาวุธได้ ระบบต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์สามารถประเมินเรดาร์ที่สัญญาณเรดาร์ที่เข้ามา และทำการส่งสัญญาณไปรบกวนแหล่งเรดาร์นั้นได้
เซ็นเซอร์แบบเดิมนั้นประกอบด้วยอินฟราเรด ที่อยู่ใต้ส่วนจมูก มันคือเอเอ็น/เอแอลอาร์-23 มันมีระบบหล่อเย็นในตัว แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพและถูแทนที่ด้วยระบบใหม่ นี่คือระบบมองเอเอเอ็กซ์-1 ของนอร์ธทรอป หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าทีซีเอสหรือชุดกล้องโทรทัศน์ (TV Camera Set ) และถูกใช้เพื่อช่วยนักบินในการระบุและติดตามเครื่องบิน อย่างน้อยก็ในตอนกลางวัน[ 7] ได้ถึง 60 ไมล์สำหรับเครื่องบินขนาดใหญ่ ชุดกล้องโทรทัศน์สามารถทำงานโดยพึ่งเรดาร์เพื่อติดตามอะไรก็ตามที่เรดาร์กำลังติดตามอยู่ และเรดาร์ก็สามารถทำงานโดยพึ่งชุดกล้องโทรทัศน์เพื่อติดตามอะไรก็ตามที่กล้องมองเห็น ลูกเรือทั้งสองนายสามารถเห็นภาพบนจอของพวกเขา แม้ว่ามันจะใช้งานได้ดีแต่เอฟ-14 ที่ทำงานระยะยาวกลับไม่มีระบบดังกล่าว บิน กันส์ตันได้รายงานว่าแม้กระทั่งในปี พ.ศ. 2526 มีเครื่องบินเพียง 1 ใน 8 ลำเท่านั้นที่มีระบบนี้[ 21]
ระบบอินฟราเรดและกล้องคู่ถูกใช้งานในเอฟ-14ดี โดยมีเสาอากาศต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในตำแหน่งของแบบเก่า นั่นแปลว่าเอฟ-14 สามารถใช้เสาอากาศต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์เพียงอันเดียว หรือเซ็นเซอร์อินฟราเรด หรือชุดกล้องโทรทัศน์ได้ ระบบต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์ของทอมแคทประกอบด้วยระบบรองจำนวนมาก ทั้งอาร์ดับบลิวอาร์ ระบบต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปล่อยพลูและเป้าล่อ จมูก หาง และปีก สิ่งนี้ถูกจัดว่าเป็นความแตกต่างในหมู่เครื่องบินขับไล่ก่อนหน้า
อาวุธ
เดิมทีทอมแคทนั้นถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งเครื่องบินที่คล่องแคล่วและเครื่องบินจัดการกับขีปนาวุธร่อน และเครื่องบินทิ้งระเบิด ของโซเวียต ผลที่ได้คือเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในแทบจะทุกด้าน ในด้านอาวุธทอมแคทถูกออกแบบมาเพื่อใช้เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ โดยเฉพาะ แต่ไม่เหมือนกับเอฟ-111บี ที่มันสามารถจัดการกับเป้าหมายทั้งในระยะกลางและใกล้ได้ ดังนั้นเอฟ-14 จึงเป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ อย่างสมบูรณ์และไม่ได้เป็นแค่เครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลเท่านั้น มันมีปืนเอ็ม61 วัลแคน พร้อมกระสุน 676 นัดและสามารถเลือกการยิงแบบ 4,000 หรือ 6,000 นัดต่อนาทีได้ มันสามารถบรรทุกได้มากกว่า 6,700 กิโลกรัมสำหรับภารกิจต่อสู้ในหลายตำแหน่งทั้งที่ใต้ท้องและใต้ปีก โดยปกติแล้วนั่นแปลว่ามันสามารถมีฟีนิกซ์ หรือสแปร์โรว์สูงสุดได้ 2–4 ลูก ฟีนิกซ์หรือสแปร์โรว์สามารถติดตั้งที่ปีกได้ 2 ลูก และไซด์ไวน์เดอร์ 2 ลูกบนปีก ในบางกรณีเอไอเอ็ม-7 สี่ลูก และเอไอเอ็ม-9 สี่ลูกจะติดตั้งอยู่ที่ใต้ท้องเหมือนกับของเอฟ-4 และเอฟ-15
ฟีนิกซ์สามารถบรรจุเต็มที่ 6 ลูกซึ่งก็ไม่เคยมีใครทำมาตลอดการใช้งาน แม้ว่าการทดสอบแรก ๆ นั้นจะพิสูจน์ว่ามันสามารถทำได้ แต่ก็ไม่เคยมีภัยอะไที่อันตรายจนถึงขั้นต้องใช้ฟีนิกซ์พร้อมกันถึง 6 ลูก และมันก็เยอะเกินไปที่จะทำการจอดลงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ขีปนาวุธฟีนิกซ์ถูกใช้เพียงสองครั้งโดยกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในอิรักเมื่อปี พ.ศ. 2542[ 22] [ 23] [ 24] แต่ทั้งสองนัดก็พลาดเป้า
ในช่วงที่สงครามเย็นดุเดือดในปลายพุทธทศวรรษ 2510 และ 2520 อาวุธโดยทั่วไปของเอฟ-14 บนเรือบรรทุกเครื่องบินนั้นจะเป็นเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ ไม่มากกว่า 1 ลูก แต่จะเป็นเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 2 ลูก เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ 2 ลูก กระสุนขนาด 20 ม.ม.ของปืนเอ็ม61 วัลแคน และถังปลดทิ้งได้สองถัง
ประวัติการใช้งาน
เอฟ-14 ทอมแคทเป็นเครื่องบินขับไล่และสอดแนมหลักของกองทัพเรือสหรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515–2549 เอฟ-14 ยังได้ทำหน้าที่ของมันในกองทัพอากาศอิหร่านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน
กองทัพเรือสหรัฐ
เอฟ-14 เริ่มเข้ามาแทนที่เอฟ-4 แฟนทอม 2 ในกองทัพเรือสหรัฐโดยเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2517 บนเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรซ์และได้มีส่วนร่วมในการถอนกำลังออกจากไซง่อน ของอเมริกา เอฟ-14 ได้ทำแต้มครั้งแรกในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2524 เหนืออ่าวซิดร้า หลังจากที่เอฟ-14 สองลำถูกเข้าปะทะโดยซู-22 ฟิตเตอร์ สองลำของลิเบีย เอฟ-14 ได้หลบพ้นจากขีปนาวุธวิมเปล เค-13 และยิงตอบโต้ที่ส่งผลให้เครื่องบินของลิเบียทั้งสองลำตก เอฟ-14 ของสหรัฐได้เข้าปะทะกับเครื่องบินของลิเบียอีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2532 เมื่อมิก-23 ฟลอกเกอร์ สองลำของลิเบียถูกยิงตกเหนืออ่าวซิดร้าอีกครั้ง
แม้ว่าทอมแคทจะได้รับความสนใจจากเหตุการณ์เหนืออ่าวซิดร้า แต่มันก็เป็นการรบในขณะที่ทำการลาดตระเวนเท่านั้น ทอมแคทได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ลาดตระเวนสอดแนมแทนอาร์เอ-5ซี วิจิลานเต และอาร์เอฟ-8จี ครูเซเดอร์ กระเปาะขนาดใหญ่ที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่าทาร์ปส์ (Tactical Airborne Reconnaissance Pod System, TARPS ) ถูกสร้างขึ้นและติดตั้งกับเครื่องทอมแคทในปีพ.ศ. 2524 เมื่ออาร์เอฟ-8จี ครูเซเดอร์ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ. 2525 ทาร์ปส์ก็กลายมาเป็นระบบลาดตระเวนหลักของกองทัพเรือสหรัฐ[ 25] หนึ่งในสองของฝูงบินทอมแคทจะมีกระเปาะทาร์ปส์ติดอยู่และจะได้รับเครื่องบินที่สามารถติดตั้งทาร์ปส์ได้ 3 ลำ และมีลูกเรือที่ถูกฝึกมาเพื่อใช้มันอีก 4 นาย
ในขณะที่อิหร่านใช้ทอมแคทสำหรับการโจมตีอิรักในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่สหรัฐกลับใช้มันทำภารกิจรบรายวันเหนือเลบานอนเพื่อถ่ายภาพกิจกรรมในหุบเขาเบกา ในตอนนั้นทอมแคทถูกมองว่ามีขนาดใหญ่และบอบบางเกินไปที่จะใช้บินบนบก แต่ความต้องการภาพถ่ายเหล่านั้นก็มากเสียจนลูกเรือทอมแคทได้ทำการพัฒนายุทธวิธีพิเศษเพื่อจัดการกับปืนต่อต้านอากาศยานและขีปนาวุธเอสเอ-7 ในบริเวณหุบเขา การเผชิญหน้ากับเอสเอ-2 ครั้งแรกเกิดขึ้นในโซมาเลียเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 เมื่อฐานปืนไม่ระวังต่อทอมแคทสองลำที่บินตามตารางบินเพื่อทำภารกิจทาร์ปส เอสเอ-2 ยิงใส่ทอมแคทลำที่สองในตอนที่มันบินเหนือขึ้นไป 1 หมื่นฟุต นักบินตรวจพบขีปนาวุธและทำการหลบหลีกได้สำเร็จ ความต้องการที่คาดไม่ถึงของการต่อสู่ขณะปฏิบัติภารกิจทาร์ปสนั้นนำไปสู่เซ็นเซอร์ความสูงสูงอย่างเคเอ-93 เพื่อให้มันทำงานร่วมกับเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ เครื่องตรวจจับเรดาร์แบบ "ฟัซบัสเตอร์" (Fuzz buster ) ก็ถูกนำมาใช้เช่นกัน เพื่อเติมช่องว่างในการตรวจจับเรดาร์ของขีปนาวุธอย่างเอสเอ-6 การแก้ไขปัญหาสุดท้ายคือการพัฒนาเป็นเอแอลอาร์-67 แต่มันก็ยังไม่พร้อมถูกใช้จนกระทั่งมีเอฟ-14เอ ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ในปฏิบัติการอ่าวซิดร้าเมื่อปี พ.ศ. 2529 ทอมแคทถูกใช้ทำภารกิจเหนือผิวน้ำเพราะมันอันตรายเกินไปที่จะใช้เหนือพื้นดิน
การมีส่วนร่วมของเอฟ-14 ในสงครามอ่าว เมื่อปี พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยการลาดตระเวนรบเหนือทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภารกิจเหนือพื้นดินที่ทั้งคุ้มกันการโจมตีและการสอดแนม จนกระทั่งวันสุดท้ายของปฏิบัติการพายุทะเลทรายมาถึง การบินครองอากาศในประเทศก็ถูกทำโดยเอฟ-15 อีเกิล ของกองทัพอากาศสหรัฐ กฎการเข้าปะทะยังเน้นถึงการระบุมิตรหรือศัตรูเมื่อต้องใช้ขีปนาวุธระยะไกลเกินสายตาอย่างเอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์และเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ สิ่งนี้เป็นการขัดขวางทอมแคทจากการใช้อาวุธที่ทรงอานุภาพที่สุดของมัน นอกจากนั้นสัญญาณที่ทรงพลังจากเรดาร์เอดับบลิวจี-9 ถูกตรวจจับได้ง่ายในระยะไกล กองทัพเรือสหรัฐได้รับความเสียหายโดยเสียเอฟ-14 ไปเพียงลำเดียวจากศัตรูเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2534 เมื่อเอฟ-14เอ+ หมายเลขบี/เอ็น 161430 ถูกยิงตกโดยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศเอสเอ-2 ขณะทำภารกิจคุ้มกันใกล้กับฐานบินอัล อซาดในอิรัก ลูกเรือทั้งสองนายดีดตัวออกมาทัน โดยนักบินได้รับการช่วยเหลือจากกองกำลังพิเศษ และผู้ควบคุมเรดาร์ถูกจับเป็นเชลยโดยทหารฝ่ายอิรักในค่ายเชลยศึกจนจบสงคราม[ 26] เอฟ-14 ยังได้ทำแต้มสุดท้ายของมันโดยการยิงเฮลิคอปเตอร์มิล เอ็มไอ-8 ตกด้วยเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์
ในปี พ.ศ. 2538 เอฟ-14 ได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการเดบิเบอร์เรทฟอร์ซ และปฏิบัติการอัลไลด์ฟอร์ซ ในปี พ.ศ. 2542 และในปี พ.ศ. 2541 กองบินสองกองบินที่ใช้เอฟ-14 ก็ได้เข้าร่วมในปฏิบัติการดีเซิร์ทฟอกซ์ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 มีการติดตั้งขีปนาวุธเจแดม ให้กับเอฟ-14 ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เอฟ-14 ได้นำการรุกครั้งแรกในอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นการเริ่มปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอม และได้ทิ้งระเบิดเจแดมเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2545 เอฟ-14ดี ของกองบินที่เหลือได้รับการติดตั้งเจแดมในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546[ 13] ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เอฟ-14ดี จากสองกองบินได้รับการพัฒนาระบบดาวน์ลิงก์ โรเวอร์ 3 เพื่อใช้ในการส่งภาพให้กับผู้ควบคุมการบินส่วนหน้า[ 14] เอฟ-14 จากกองบินทั้งสองได้ทำการรบครั้งสุดท้ายบนเรือยูเอสเอส ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ในปี พ.ศ. 2548
สิ่งที่เข้ามาแทนที่
เอฟ-14 และเอฟ/เอ-18 กำลังเตรียมบินขึ้นจากเรือยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ เมื่อปี พ.ศ. 2528
ในขณะที่เอฟ-14 ได้พัฒนาจนเป็นเอฟ-111บี ขนาด 36,000 กิโลกรัม เอฟ-14 ก็ยังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและแพงที่สุดในช่วงเวลาของมัน มีโครงการใหม่เข้ามาในทศวรรษที่ 2513 เพื่อทางออกราคาถูกสำหรับการทดแทนกองบินเอฟ-4 ของกองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐ โครงการดังกล่าวต้องการให้เกิดเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบารุ่นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซึ่งเป็นเครื่องบินโจมตีและเครื่องบินขับไล่ขนาดกลาง
ในปีพ.ศ. 2537 สภาคองเกรสได้ปฏิเสธข้อเสนอของกรัมแมนที่ต้องการจะพัฒนาทอมแคทของกองทัพเรือให้มากกว่ารุ่นดี (อย่างซูเปอร์ทอมแคท 21 รุ่นควิกสไตรค์ที่ถูกกว่า และรุ่นแอทแท็คทอมแคท 21 ที่ก้าวหน้าอย่างที่สุด)[ 27] แทนที่จะเป็นเช่นนั้นกองทัพเรือกลับเลือกที่จะปลดประจำการเอฟ-14 และนำเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท มาทำหน้าที่แทน
อิหร่าน
เอฟ-14เอ "ท็อปกัน" ของสหรัฐที่ทาสีตามแบบเครื่องบินขับไล่ของอิหร่าน
ผู้ใช้ทอมแคทนอกจากสหรัฐเพียงรายเดียวคือกองทัพอากาศจักรวรรดิอิหร่าน
ในต้นทศวรรษที่ 2513 กองทัพอากาศจักรวรรดิอิหร่านได้มองหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะลำที่สามารถเข้าสกัดกั้นมิก-25 "ฟ็อกซ์แบท" ของโซเวียต ได้ หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐริชาร์ด นิกสัน ได้ไปเยือนอิหร่านในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยื่นเทคโนโลยีทางทหารใหม่ล่าสุดของอเมริกันให้กับอิหร่าน กองทัพอากาศจักรวรรดิอิหร่านมีสองทางเลือกคือเอฟ-14 ทอมแคท หรือเอฟ-15 อีเกิล บริษัทกรัมแมนได้จัดการสาธิตระหว่างทอมแคทกับอีเกิล ต่อหน้ากษัตริย์ซาห์ของอิหร่านในตอนนั้น และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2517 อิหร่านก็ได้สั่งซื้อเอฟ-14 30 ลำพร้อมขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ 424 ลูก โดยมีมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่กี่เดือนต่อมารายการดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นกลายเป็นเครื่องบิน 80 ลำและขีปนาวุธ 714 ลำเพื่อเป็นอะไหล่ให้กองทัพไปอีก 10 ปี
เอฟ-14 ลำแรกมาถึงในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 มันถูกดัดแปลงด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศเท่านั้น แต่ก็ยังคงใช้เครื่องยนต์เดิม ปีต่อมาอีก 12 ลำก็มาถึง ในขณะนั้นเองการฝึกลูกเรืออิหร่านก็เริ่มขึ้นโดยกองทัพเรือสหรัฐโดยทำการฝึกในสหรัฐเอง และในการฝึกครั้งนี้มีการใช้ขีปนาวุธฟีนิกซ์ยิงใส่เป้าหมายที่เป็นโดรนในความสูง 5 หมื่นฟุต
หลังจากการโค่นล้มอำนาจกษัตริย์ซาห์ ในปี พ.ศ. 2522 กองทัพอากาศก็มีชื่อใหม่ว่ากองทัพอากาศสาธารณัฐอิสลามอิหร่าน และรัฐบาลใหม่ก็ทำการยกเลิกรายการสั่งซื้ออาวุธส่วนมากจากฝั่งตะวันตก มีข้อมูลถึงการใช้เอฟ-14 ของอิหร่านน้อยมาก
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 มีการประกาศโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐว่าการขายชิ้นส่วนเอฟ-14 ถูกยกเลิก เพราะว่ากลัวว่าพวกมันจะตกไปอยู่ในมือของอิหร่าน การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นตามสถานการณ์ในขณะนั้นของอิหร่าน[ 28] ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เอฟ-14 ของอเมริกาที่ยังเหลืออยู่ถูกแยกชิ้นส่วน เพื่อทำให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนของพวกมันจะไม่ถูกซื้อไปโดยรัฐบาลที่เป็นศัตรูของสหรัฐ[ 29] อิหร่านนั้นมีเอฟ-14 ประมาณ 44 ลำ[ 30] โดยมี 20 ที่ยังปฏิบัติการอยู่เมื่อถึงปีพ.ศ. 2552[ 31]
รุ่นต่าง ๆ
เอฟ-14 สร้างออกมาทั้งสิ้น 712 ลำ[ 32] ที่โรงงานของกรัมแมนในคาลเวอร์ตันบนลองไอแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512–2534[ 33] ในขณะที่เอฟ-14 ทำการผลิตอยู่ที่เบธเพจในนิวยอร์ก การก่อสร้างและการทดสอบทั้งหมดก็เกิดขึ้นในคาลเวอร์ตัน โรงงานที่เบธเพจได้ผลิตเครื่องบินของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นที่อยู่ของวิศวกรผู้ออกแบบเอฟ-14 อย่างไรก็ตามที่เบธเพจนั้นก็ไม่ได้เป็นโรงงานผลิตเครื่องบินอีกต่อไปแล้ว[ 33] เครื่องบินกว่า 160 ลำของสหรัฐถูกทำลายในอุบัติเหตุครั้งหนึ่ง[ 34]
เอฟ-14เอ
รุ่นเอเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นในทุกสภาพอากาศสองที่นั่งแบบเริ่มแรกของกองทัพเรือสหรัฐ มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เอฟ-14เอ 12 ลำแรกเป็นต้นแบบ[ 35] (บางครั้งก็เรียกวายเอฟ-14เอ) การดัดแปลงเกิดขึ้นในช่วงท้ายของมันเพื่อทำให้มันสามารถใช้อาวุธนำวิถีได้ กองทัพเรือสหรัฐได้รับเอฟ-14เอ ทั้งหมด 478 ลำและส่วนอิหร่านได้รับ 79 ลำ[ 32] เอฟ-14เอ 102 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบพร้อมกับเครื่องยนต์ทีเอฟ30-พี-414เอ[ 36] นอกจากนี้แล้วเอฟ-14เอ ลำที่ 80 ที่ถูกผลิตขึ้นมาให้กับอิหร่าน กลับถูกส่งให้กับกองทัพเรือสหรัฐแทน[ 32]
เอฟ-14บี
เอฟ-14 ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2530 โดยทำให้เกิดเอฟ-14เอ+ (พลัส) เครื่องยนต์พีดับบลิว ทีเอฟ30 ของเอฟ-14เอ ถูกพัฒนาเป็นจีอี เอฟ110-400 แทน เอฟ-14เอ+ ยังมีระบบเตือนภัยเรดาร์เอแอลอาร์-67 ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศส่วนมากยังคงเหมือนเดิม ต่อมาเอฟ-14เอ+ ถูกเรียกว่าเอฟ-14บีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 มีเครื่องบินใหม่ทั้งหมด 38 ลำที่ถูกผลิตขึ้นมาและเอฟ-14เอ 48 ถูกพัฒนาจนกลายเป็นรุ่นบี[ 10]
เครื่องยนต์ทีเอฟ30 นั้นมีข้อด้อยมาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะการที่มันง่ายที่จะเกิดอาการคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานเมื่อบินในระดับสูง เครื่องยนต์เอฟ110 พิสูจน์ให้เห็นว่ามันมีแรงขับที่มากพอถึง 27,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย แรงขับพื้นฐานของเครื่องยนต์โดยไม่ใช้สันดาปท้ายก็ทรงพลังพอแล้วที่จะส่งมันขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งยิ่งเร็วก็ยิ่งปลอดภัย อีกข้อได้เปรียบหนึ่งคือมันทำให้ทอมแคทบินอย่างประหยัดเชื้อเพลิงได้ในระดับ 30,000 ฟุต ซึ่งเพิ่มโอกาสรอดและพิสัยของมัน เอฟ-14บี นั้นเกิดขึ้นทันเวลาของสงครามอ่าวพอดี
ในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เอฟ-14บี 67 ลำถูกพัฒนาให้มีอายุการใช้งานมากขึ้นและมีการพัฒนาระบบป้องกันและโจมตีให้ดียิ่งขึ้น เครื่องบินที่ได้รับการดัดแปลงกลายมาเป็นเอฟ-14บี อัพเกรด (F-14B Upgrade )[ 36]
เอฟ-14ดี
แบบสุดท้ายของเอฟ-14 คือเอฟ-14ดี ซูเปอร์ทอมแคท รุ่นดีทำการส่งมอบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 เครื่องยนต์เดิมแบบทีเอฟ30 ถูกแทนที่ด้วยเครื่องยนต์จีอี เอฟ110-400 เหมือนกับของรุ่นบี เอฟ-14ดี ยังมีระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัลที่ใหม่กว่าในห้องนักบินกระจกและแทนที่เรดาร์เอดับบลิวจี-9 ด้วยเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-71 ระบบอื่น ๆ ยังรวมทั้งเครื่องรบกวนการป้องกันตนเองทางอากาศหรือเอเอสพี (Airborne Self Protection Jammer, ASPJ ) ระบบเกื้อหนุนข้อมูลทางยุทธวิธีร่วมหรือเจทีไอดีเอส (Joint Tactical Information Distribution System, JTIDS ) เก้าอี้ดีดตัวรุ่นเอสเจยู-17(วี) และอินฟราเรดค้นหาและติดตาม
แม้ว่าเอฟ-14ดี จะเป็นรุ่นที่แตกต่างจากทอมแคทธรรมดา แต่ก็ไม่มีกองบินใดที่ได้รับรุ่นดี ในปี พ.ศ. 2532 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมดิก เชนีย์ ได้ปฏิเสธที่จะอนุมัติการซื้อเอฟ-14ดี มูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเอาเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปใช้กับการพัฒนาเอฟ-14 รุ่นเก่าแทน สภาคองเกรสตัดสินใจที่จะไม่หยุดการผลิตและให้ทุนกับเครื่องบิน 55 ลำ มีเครื่องบินใหม่ 37 ลำที่ถูกสร้างขึ้นมาและเอฟ-14เอ 18 ลำได้ถูกพัฒนาเป็นรุ่นดี[ 10] มีการวางแผนพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ของเอฟ-14ดี เพื่อให้มันใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-120 แอมแรมได้ แต่ก็ถูกยกเลิกในเวลาต่อมา[ 8] [ 37]
ขณะที่การพัฒนาทำให้เอฟ-14 เดินหน้าไปพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เชนีย์ก็หยุดเอฟ-14 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากคริสต์ทศวรรษ 1960 แม้ว่าจะมีข้อเสนอที่แข็งขันจากกรัมแมนเพื่อหาเครื่องบินมาทดแทน แต่เชนีย์ก็ได้วางแผนที่จะแทนที่เอฟ-15 ด้วยเครื่องบินแบบอื่นที่ไม่ได้ผลิตโดยกรัมแมน เชนีย์เริ่มตั้งโครงการใหม่เมื่อเอฟ-14 ถูกยกเลิก มีลูกจ้าง บุคลากรสนับสนุน หรือผู้รับเหมาของกรัมแมนประมาณ 8 หมื่นรายที่ได้รับผลกระทบ[ 38]
รุ่นที่เป็นโครงการ
เอฟ-14ซี
เป็นรุ่นโครงการของเอฟ-14บี (ที่มีเครื่องยนต์เอฟ401) โดยมีระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศแบบหลากภารกิจที่ก้าวหน้า[ 39]
ประเทศผู้ใช้งาน
ประเทศผู้ใช้งานเอฟ-14 ทอมแคท (อดีตผู้ใช้งานแสดงในสีแดง)
รายละเอียด เอฟ-14ดี ทอมแคท
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอไอเอ็ม-54 จำนวน 6 นัด
นักบิน 2 นาย (นักบินและผู้สกัดกั้นเรดาร์)
ความยาว 19.1 เมตร
ระยะระหว่างปีกทั้งสอง
เมื่อกลางปีก 19.55 เมตร
เมื่อพับปีก 11.58 เมตร
ความสูง 4.88 เมตร
พื้นที่ปีก 54.5 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 19,838 กิโลกรัม
น้ำหนักพร้อมอาวุธ 27,700 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 33,720 กิโลกรัม
ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110 -จีอี-400 สองเครื่องยนต์พร้อมสันดาปท้าย
ให้แรงขับเครื่องละ 13,810 ปอนด์ เมื่อไม่ใช้สันดาปท้าย
ให้แรงขับเครื่องละ 27,000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย
ความเร็วสูงสุด 2.34 มัค (2,485 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับความสูง
พิสัยทำการรบ 926 กิโลเมตร
พิสัยในการขนส่ง 2,926 กิโลเมตร
เพดานบินทำการ 53,000 ฟุต
อัตราการไต่ระดับ 45,000 ฟุตต่อนาที
น้ำหนักที่ปีกบรรทุกได้ 553.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 1.02
อาวุธ
ปืนแกทลิ่ง เอ็ม61 วัลแคน ขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอก พร้อมกระสุน 675 นัด
ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
รูปแบบการจัดชุดอาวุธ
เอไอเอ็ม-9 สองลูกกับเอไอเอ็ม-54 หกลูก
เอไอเอ็ม-9 สองลูกกับเอไอเอ็ม-54 สองลูกและเอไอเอ็ม-7 สามลูก (มักใช้แบบนี้)
เอไอเอ็ม-9 สองลูกกับเอไอเอ็ม-54 สี่ลูกและเอไอเอ็ม-7 สองลูก
เอไอเอ็ม-9 สองลูกกับเอไอเอ็ม-7 หกลูก
เอไอเอ็ม-9 สี่ลูกกับเอไอเอ็ม-54 สี่ลูก
เอไอเอ็ม-9 สี่ลูกกับเอไอเอ็ม-7 สี่ลูก
เอไอเอ็ม-9 สี่ลูกกับเอไอเอ็ม-120 สี่ลูก
เอไอเอ็ม-9 สองลูกกับเอไอเอ็ม-120 หกลูก
ระเบิด
อื่น
กระเปาะเลเซอร์หาเป้าแบบแลนเทิร์น
ถังเชื้อเพลิงขนาด 267 แกลลอนที่ปลดทิ้งได้ 2 ถัง
อิเล็กทรอนิกส์อากาศ
เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-71 ของฮิวจ์ส
เอเอ็น/เอเอสเอ็น-130
[ 40] [ 19] [ 41] [ 42]
สื่อบันเทิง
เอฟ-14 ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับวัฒนธรรมมากมายทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2523 ภาพยนตร์เดินทางข้ามเวลาเรื่องเดอะ ไฟนอล เคาท์ดาวน์ ที่มีเอฟ-14จากฝูงบินวีเอฟ-41 "แบล็กเอซ"และวีเอฟ-84 "จอลลี่โรเจอร์ส"บนเรือยูเอสเอส นิมิทซ์ เอฟ-14 จาก"จอลลี่โรเจอร์ส"ยังได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเครื่องบินวีเอฟ-1 วัลคีรี ในการ์ตูนแอนนิเมชั่นของญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2525–2526 เรื่องThe Super Dimension Fortress Macross [ 43] [ 44] ในปี พ.ศ. 2529 เอฟ-14 ถูกใช้เป็นเครื่องบินหลักในการสร้างภาพยนตร์เรื่องท็อปกัน ที่เกี่ยงกับกองทัพเรือสหรัฐ[ 45] เช่นเดียวกับท็อปกัน ในซีรีส์โทรทัศน์เรื่องJAG ในปีพ.ศ. 2538–2548 มีนักบินเอฟ-14 ซึ่งเป็นตัวละครนำและมีโครงสร้างของเอฟ-14 ในหลายตอน เอฟ-14 ยังมีบทบาทในวิดีโอเกมอีกมากมาย และอีกเล็กน้อยในภาพยนตร์และซีรีส์โทรทัศน์
ดูเพิ่ม
การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า
อ้างอิง
↑ F-14 Tomcat fighter fact file เก็บถาวร 2006-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , United States Navy, 5 July 2003. Retrieved 20 January 2007.
↑ "Navy's 'Top Gun' Tomcat Fighter Jet Makes Ceremonial Final Flight" . Associated Press , 22 September 2006. Retrieved: 17 July 2008.
↑ Woolridge, Capt. E.T., ed. Into the Jet Age: Conflict and Change in Naval Aviation 1945-1975, an Oral History . Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1995. Note: Admiral Thomas F. Connolly wrote the chapter, "The TFX - One Fighter For All", in Into the Jet Age... .
↑ Spick 2000, p. 112.
↑ Gunston and Spick 1983, p. 112.
↑ 6.0 6.1 Jenkins, Dennis R. F/A-18 Hornet: A Navy Success Story . New York: McGraw-Hill, 2000. ISBN 0-07-134696-1 .
↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 Baugher, Joe. "Grumman F-14A Tomcat." [ลิงก์เสีย ] , 13 February 2000.
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Donald, David. "Northrop Grumman F-14 Tomcat, US Navy today". Warplanes of the Fleet . London: AIRtime Publishing Inc, 2004. ISBN 1-880588-81-1 .
↑ 9.0 9.1 9.2 "F-14A Tomcat Described / F-14 Tarps" , Vectorsite.net, 1 November 2006.
↑ 10.0 10.1 10.2 Anft, Torsent. "F-14 Bureau Numbers." Home of M.A.T.S. Retrieved: 30 September 2006.
↑ Friedman, Norman (2006). "F-14". The Naval Institute Guide to World Naval Weapon Systems (fifth ed.). Naval Institute Press . ISBN 1557502625 .
↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "Bombcat / Tomcat In Service 1992:2005" , Vectorsite.net, 1 November 2006.
↑ 13.0 13.1 "U.S. Navy's F-14D Tomcats Gain JDAM Capability." เก็บถาวร 2007-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Navy Newsstand (United States Navy), 21 March 2003. Retrieved: 20 January 2007.
↑ 14.0 14.1 "ROVER System Revolutionizes F-14's Ground Support Capability." เก็บถาวร 2006-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Navy Newsstand (United States Navy), 14 December 2005. Retrieved: 20 January 2007.
↑ 15.0 15.1 Dorr 1991, p. 50.
↑ "F-14 Association" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-07-26. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07 .
↑ 17.0 17.1 Sgarlato 1988, pp. 40–46.
↑ Beavertail
↑ 19.0 19.1 Spick 2000, p. 81.
↑ Dorr 1991, p. 51.
↑ Gunston and Spick 1983, p. 66.
↑ Vinson/CVW-11 Report - VF-213 Highlights Wings of Gold
↑ Tony Holmes (2005). Chapter One – OSW, p. 16 and 17.
↑ DoD News Briefing January 5, 1999
↑ Baugher, Joe. "TARPS Pod for F-14." เก็บถาวร 2009-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน F-14 Tomcat, February 13, 2000.
↑ Baugher, Joe. US Navy and US Marine Corps BuNos เก็บถาวร 2010-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , 30 September 2006. Retrieved: 7 January 2007.
↑ Donald 2004, pp. 13, 15.
↑ US halts sale of F-14 jet parts
↑ "Pentagon shreds F-14s to keep parts from enemies" เก็บถาวร 2008-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , AP , 2 July 2007.
↑ Cooper, Tom and Liam Devlin. "Iranian Air Power Combat Aircraft". Combat Aircraft , Vol. 9 No. 6, January 2009.
↑ "World Military Aircraft Inventory". 2009 Aerospace Source Book . Aviation Week and Space Technology, 2009.
↑ 32.0 32.1 32.2 F-14 Bureau Numbers
↑ 33.0 33.1 Anft, Torsten. Grumman Memorial Park. Home of M.A.T.S. Retrieved: 28 December 2006.
↑ Anft, Torsent. "F-14 Crashes sorted by Date." Home of M.A.T.S. Retrieved: 1 January 2008.
↑ Spick 2000, pp. 75–79.
↑ 36.0 36.1 "F-14 Tomcat variants" . GlobalSecurity.org . Retrieved: 20 September 2006.
↑ Goebel, Greg. Tomcat Improvements, F-14B / F-14D . Air Vectors, 1 October 2008.
↑ Saul, Stephanie. "Cheney Aims Barrage at F-14D Calls keeping jet a jobs program." Newsday Washington Bureau, 24 August 1989, p. 6.
↑ Spick 2000, p.75.
↑ "U.S. Navy file" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-04-02. สืบค้นเมื่อ 2009-05-01 .
↑ F-14 Specifications , M.A.T.S.
↑ อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
↑ Kawamori, Shoji. Shoji Kawamori Macross Design Works เก็บถาวร 2009-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Tokyo: Movic, 2001. ISBN 4-89601-512-6 .
↑ Editors of Koku Fan. F-14 Tomcat . Tokyo: Bunrindo, 2004.
↑ Down, John. "The Song Machine" , opendemocracy.net. Retrieved: 25 July 2006.
บรรณานุกรม
Crosby, Francis. Fighter Aircraft . London: Lorenz Books, 2002. ISBN 0-7548-0990-0 .
Donald, David. Warplanes of the Fleet . London: AIRtime Publishing Inc., 2004. ISBN 1-880588-81-1 .
Dorr, Robert F. "F-14 Tomcat: Fleet Defender", World Air Power Journal . Volume 7 Autumn/Winter 1991, pp. 42–99. London: Aerospace Publishing. ISSN 0959-7050.
Drendel, Lou. F-14 Tomcat in Action . Carrollton, Texas: Squadron/Signal Publications, 1977. ISBN 0-89747-031-1 .
Eden, Paul. Modern Military Aircraft . Phoenix, Arizona: Amber Books, 2004. ISBN 1-904687-08-3 .
Eshel, D. Grumman F-14 Tomcat (War Data No. 15). Hod Hasharon, Israel: Eshel-Dramit Ltd., 1982.
Gunston, Bill and Mike Spick. Modern Air Combat . New York: Crescent Books, 1983. ISBN 0-517-41265-9 .
Holmes, Tony. US Navy F-14 Tomcat Units of Operation Iraqi Freedom . London: Osprey Publishing Limited, 2005. ISBN 1-84176-801-4 .
Sgarlato, Nico. "F-14 Tomcat" (in Italian). Aereonautica & Difesa magazine Edizioni Monografie SRL., December 1988.
Spick, Mike. F-14 Tomcat, Modern Fighting Aircraft, Volume 8 . New York: Arco Publishing, 1985. ISBN 0-668-06406-4 .
Spick, Mike. "F-14 Tomcat". The Great Book of Modern Warplanes . St. Paul, Minnesota: MBI Publishing Company, 2000. ISBN 0-7603-0893-4 .
Stevenson, J.P. Grumman F-14 , Vol. 25. New York: Tab Books, 1975. ISBN 0-8306-8592-8 .
แหล่งข้อมูลอื่น