เอดา เลิฟเลซ

เดอะไรต์ออนะระเบิล
เคาน์เตสแห่งเลิฟเลซ
The Countess of Lovelace
เอดา เลิฟเลซ (พ.ศ. 2358-2395)
เกิด10 ธันวาคม ค.ศ. 1815(1815-12-10)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852(1852-11-27) (36 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
บิดามารดา

ออกัสตา เอดา คิง เคานต์เตสแห่งเลิฟเลซ (อังกฤษ: Augusta Ada King, Countess of Lovelace) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษ ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก[1]

ประวัติ

เอดาเป็นธิดาคนเดียวของของลอร์ดไบรอนที่ 6 กวีผู้มีชื่อเสียงและเลดี้ไบรอน นักคณิตศาสตร์[2] เธอเกิดเมื่อปีค.ศ. 1815 หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ก็แยกทางกัน แม่ของเอดาจึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ เธอได้รับการศึกษาในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผิดแปลกจากสตรีชนชั้นสูงทั่วไป

พออายุสิบเจ็ดปี มีผู้แนะนำให้เอดารู้จักกับอาจารย์ซัมเมอร์วิลล์แห่งเคมบริดจ์ สตรีเก่งแห่งยุคที่เคยแปลงานของปีแยร์-ซีมง ลาปลัส มาเป็นภาษาอังกฤษ เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนีจนได้รู้จักกับชาลส์ แบบบิจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจกล่าวว่า "จะเป็นอย่างไรถ้าเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถคิดผล แต่สามารถประมวลผลนั้นได้ด้วย"[3] แต่ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบบิจเลย มีเพียงเอดาที่รู้สึกสนใจแนวคิดนี้ จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์[4] (analytical engine) ของแบบบิจ

หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่งเลิฟเลซและมีบุตรด้วยกันสามคน ในช่วงสิบปีทั้งเอดาและแบบบิจยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบบิจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา

ต่อมา แผนการทำงานที่แบบบิจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และเธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมดลูก ในปี พ.ศ. 2395 เมื่ออายุได้ 36 ปี ซึ่งเป็นวัยเดียวกับที่บิดาของเธอเสียชีวิต[5]

ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น เซอร์ เดวิด บริวสเตอร์ คนคิดคาไลโดสโคป, ชาลส์ วีตสตัน, ชาลส์ ดิกคินส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์

ในปีค.ศ. 1979 กระทรวงกลาโหมสหรัฐ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านหญิงเอดาว่า ภาษา "ADA"

อ้างอิง

  1. J. Fuegi and J. Francis, "Lovelace & Babbage and the creation of the 1843 'notes'". IEEE Annals of the History of Computing 25 No. 4 (October–December 2003): 16–26. Digital Object Identifier
  2. "Ada Lovelace Biography". biography.com.
  3. what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight
  4. Fuegi J, Francis J (October–December 2003). "Lovelace & Babbage and the creation of the 1843 'notes'". Annals of the History of Computing. 25 (4): 16–26. doi:10.1109/MAHC.2003.1253887. See pages 19, 25
  5. "December 1852 1a * MARYLEBONE – Augusta Ada Lovelace", Register of Deaths, GRO.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!