เอชไอวี/เอดส์ เป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขและสาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรจำนวนมากในแอฟริกาเสียชีวิต มีการประเมินว่าแอฟริกามีผู้ป่วยเอชไอวีมากถึง 67% ของโลก และผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 72% ทั่วโลกใน พ.ศ. 2552 อยู่ในแอฟริกา[1]
ตารางเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยเอชไอวีแบ่งตามภูมิภาคใน พ.ศ. 2552[1]
ภูมิภาค |
ความชุกของเอชไอวีในผู้ใหญ่ (อายุ 15–49) |
รวมผู้ป่วย เอชไอวีทั้งสิ้น |
จำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ ใน พ.ศ. 2548
|
แอฟริกาซับสะฮารา |
5.0% |
22.5 ล้านคน |
1.3 ล้านคน
|
ทั่วโลก |
0.8% |
33.3 ล้านคน |
1.8 ล้านคน
|
อเมริกาเหนือ |
0.5% |
1.5 ล้านคน |
26,000
|
ยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง |
0.2% |
820,000 |
8,500
|
โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) พยากรณ์ผลของภูมิภาคจนถึง พ.ศ. 2568 ซึ่งมีตั้งแต่การไม่เพิ่มขึ้นและการลดลงของจำนวนผู้เสียชีวิตเริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2555 ไปจนถึงการเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นหายนะ โดยเป็นไปได้ว่าอาจมีผู้ป่วยมากถึง 90 ล้านคน
โดยปราศจากการรักษาพยาบาลและยา (อย่างยาต้านไวรัส) ซึ่งหาได้ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากรจำนวนมากในแอฟริกาจะยิ่งมีการพัฒนาของเอดส์มากยิ่งขึ้น พวกเขาไม่เพียงแต่จะไม่สามารถไปทำงานได้เท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างสำคัญด้วย ซึ่งมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการล่มสลายของเศรษฐกิจและสังคมได้
ในบทความชื่อ "Death Stalks A Continent" (ความตายย่องเข้าทวีป) โจฮันนา แมกเกียรีพยายามอธิบายความรุนแรงของปัญหา "คนที่แข็งแรงที่สุดของสังคม มิใช่คนที่อ่อนแอที่สุด เป็นผู้ที่จะตาย ผู้ใหญ่หายไป ทิ้งคนชราและเด็กไว้เบื้องหลัง คุณไม่สามารถนิยามกลุ่มเสี่ยงได้ ทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ล้วนเสี่ยงหมด เด็กทารกก็เช่นกัน ได้รับเชื้อผ่านมารดาโดยไม่เจตนา น้อยครอบครัวนักที่ไม่มีผู้ป่วยเอดส์เลย ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าพวกเขาติดเชื้ออย่างไรหรือเมื่อไหร่ หลายคนไม่เคยรู้เลยว่าพวกเขาติดเชื้อ หลายคนที่รู้ตัวก็ไม่บอกใครเลยว่าพวกเขากำลังรอความตายอยู่"[2]
อ้างอิง