เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (อังกฤษ: Black baza) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็กพบตามป่าในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรโดยมากเป็นนกอพยพ เช่น ประชากรในประเทศอินเดียจะอพยพหนีหนาวไปตอนใต้ของประเทศและประเทศศรีลังกา ในประเทศไทยพบอพยพเพียงที่เดียว คือ เขาดินสอ ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร[2]
ลักษณะ
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำเป็นเหยี่ยวขนาดเล็ก หัว คาง ใต้คอ ปีก หลัง ตะโพก ขนคลุมบนโคนหางและใต้โคนหาง รวมทั้งขนหางสีดำ หน้าอกตอนบนมีแถบกว้างสีขาวและมีแถบสีดำพาดเป็นแนวขวางต่อลงไปยังอกตอนล่าง จากอกถึงท้องมีลายพาดขวางสีน้ำตาลอมแดงสลับสีขาวเรียงเป็นแถวลงมา ปีกสีดำมีลายจุดสีขาวและน้ำตาลแดงแต้มไว้ห่างๆ และที่หัวมีขนตั้งขึ้นไปเป็นลักษณะหงอน ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
อ้างอิง
- ↑ BirdLife International (2009). Aviceda leuphotes. In: IUCN 2009. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 2 February 2009.
- ↑ หน้า 27 Think Startup, 'เหยี่ยวจีพีเอส' เทคโนฯหนุนท่องเที่ยว. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10427: วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560
- Hussain,SA (1985) Comments on Mr Abdulali's note on Dr. Sugathan's paper on Avifauna of Point Calimere. J. Bombay Nat. Hist. Soc. 82 (1) :210-212.
- Inglis,CM (1948) Plumage of the young of the Indian Black-crested Baza. Jour. Bengal Nat. Hist. Soc. 23 (1) :73-75.
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Aviceda leuphotes ที่วิกิสปีชีส์