เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

เสามาร์กุส เอาเรลิอุส
ที่ตั้งจัตุรัสโคลอนนา
ประเภทอนุสาวรีย์ชัยโรมัน
ความเป็นมา
ผู้สร้างจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส
สร้างค.ศ. 193
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
จัตุรัสตรายานุส

เสามาร์กุส เอาเรลิอุส (ละติน: Columna Centenaria Divorum Marci et Faustinae, อิตาลี: Colonna di Marco Aurelio, อังกฤษ: Column of Marcus Aurelius) เป็นคอลัมน์ดอริคที่ประกอบด้วยลายสลักภาพนูนเป็นเกลียวรอบลำเสาที่สร้างขึ้นเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสตามแบบเสาตรายานุส เสามาร์กุส เอาเรลิอุสยังคงตั้งอยู่ที่ตั้งดั้งเดิมที่จัตุรัสโคลอนนาก่อนหน้าวังคีกีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี

การก่อสร้าง

เพราะคำจารึกอุทิศเดิมถูกทำลายไปทำให้ไม่อาจจะทราบได้ว่าคอลัมน์สร้างขึ้นเมื่อจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสยังคงดำรงพระชนม์อยู่ในโอกาสที่โรมันได้รับชัยชนะต่อชนมาร์โคมันนี, ควาดี และ ซาร์มาเชียนในปี ค.ศ. 176 หรือหลังจากที่เสด็จสวรรคตไปแล้วในปี ค.ศ. 180 แต่คำจารึกที่พบในบริเวณนั้นกล่าวว่าคอลัมน์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 193

เสามาร์กุส เอาเรลิอุสตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแคมพัสมาร์เชียสตรงกลางจัตุรัส จัตุรัสดังกล่าวอาจจะตั้งอยู่ระหว่างจัตุรัสเทวสถานเฮเดรียน และ เทวสถานมาร์กุส เอาเรลิอุส (อุทิศโดยพระราชโอรสคอมโมดัส ที่ไม่มีเหลืออยู่แล้ว) หรืออาจจะตั้งอยู่ภายในบริเวณศักดิ์สิทธิ์ของเทวสถาน ไม่ไกลออกไปจากที่ตั้งคอลัมน์เป็นที่ที่ทำพระบรมศพของพระองค์

ลำเสาที่สูง 29.60 เมตรตั้งอยู่บนฐานสูง 10 เมตร ที่เดิมตั้งอยู่บนฐานแท่นที่สูง 3 เมตร ความสูงทั้งหมด 41.95 เมตร ฐาน 3 เมตรปัจจุบันตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินมาตั้งแต่การบูรณปฏิสังขรณ์ในปี ค.ศ. 1589

คอลัมน์ประกอบด้วยก้อนหินอ่อนคาร์รารา 27 หรือ 28 ก้อน แต่ละก้อนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 เมตร กลางเสากลวงออกมาตั้งแต่ที่เหมืองหินอ่อนเพื่อทำเป็นบันได 190 ถึง 200 ขั้นขึ้นไปยังแท่นตอนบน บันไดส่องสว่างด้วยช่องแคบเรียวที่เจาะบนภาพนูนเช่นเดียวกับเสาตรายานุส

ภาพแกะสลักนูน

รายละเอียดของภาพแกะสลักนูนบนคอลัมน์

ภาพแกะสลักนูนที่เป็นเกลียวรอบคอลัมน์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับสงครามมาร์โคมันนีของจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 166 จนเสด็จสวรรคต เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพข้ามแม่น้ำดานูบอาจจะที่คาร์นูทัมในออสเตรียปัจจุบัน ภาพกล่าวถึงความสำเร็จในสองยุทธการ แต่ลำดับเหตุการณ์ของเรื่องราวยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ แต่ตามทฤษฎีล่าสุดกล่าวว่ายุทธการทางทหารในการต่อต้านชนมาร์โคมันนีและควาดีในปี ค.ศ. 172 และในปี ค.ศ. 173 เป็นภาพบนที่อยู่ตอนล่างของคอลัมน์ และชัยชนะของพระองค์ที่มีต่อซาร์มาเชียนในปี ค.ศ. 174 และในปี ค.ศ. 175 เป็นภาพบนที่อยู่ตอนบนของคอลัมน์

เรื่องราวตอนหนึ่งเป็นภาพทางประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนการโฆษณาชวนเชื่อของโรมัน – ที่เรียกกันว่า "ปาฏิหาริย์ฝนในดินแดนควาดี" ที่เป็นภาพของเทพเจ้าสนองคำสวดของพระจักรพรรดิที่ช่วยทหารโรมันให้รอดพ้นจากพายุร้าย ปาฏิหาริย์ที่ต่อมาอ้างโดยคริสเตียนว่าเป็นการกระทำของพระเจ้าปาฏิหาริย์คริสเตียน

แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับเสาตรายานุสและลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เสามาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นต้นฉบับของลักษณะอันเป็นนาฏกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 3 และใกล้เคียงเป็นอันมากกับประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัสที่สร้างขึ้นไม่นานหลังจากนั้น หัวของรูปสลักมีขนาดใหญ่อย่างไม่สมส่วนกับร่างกายเพื่อที่ให้ผู้ชมสามารถได้เห็นได้เข้าใจถึงสีหน้าได้ดีขึ้น งานแกะฝีมือด้อยกว่างานแกะบนเสาตรายานุสแต่ลึกกว่าซึ่งทำให้ภาพเด่นขึ้นเพราะแสงเงาที่ตัดกัน เมื่อหมู่บ้านต่างๆ ถูกเผาทั้สตรีและเด็กถูกจับและถูกย้ายจากที่พำนักอาศัย ส่วนบุรุษถูกสังหาร อารมณ์, ความสิ้นหวัง และ ความทรมานของ "อนารยชน" แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในฉากต่างๆ ในขณะที่พระมหาจักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของผู้มีอำนาจในการควบคุมสถานการณ์แวดล้อม

ภาษาสัญลักษณ์ของเสามาร์กุส เอาเรลิอุสโดยทั่วไปเป็นภาษาที่ชัดเจนกว่าและเห็นได้ชัดกว่าเสาตรายานุส แม้ว่าจะเป็นงานสลักดูเทอะทะกว่า แต่ก็เป็นงานที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมที่แตกต่างจากเสาตรายานุสที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 100 และในปี ค.ศ. 150 – งานสลักบนเสาตรายานุสเป็นงานที่ขรึมและมีดุลยภาพ แต่งานสลักบนเสามาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นงานที่เป็นนาฏกรรมและแสดงความเห็นอกเห็นใจ ความหมายของภาพไม่มีความกำกวม ที่การเน้นอานุภาพและความมีอำนาจและการเป็นผู้นำของพระมหาจักรพรรดิถือว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุผล โดยทั่วไปแล้วก็เป็นงานที่เป็นต้นฉบับของงานศิลปะที่ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็นยุคโบราณตอนปลาย และเป็นงานชิ้นศิลปะชิ้นแรกที่สะท้อนถึงวิกฤติการณ์ของจักรวรรดิโรมันที่มาเลวร้ายลงในคริสต์ศตวรรษที่ 3

การบูรณปฏิสังขรณ์

ภาพประกอบในหนังสือ "อิตาลี" ที่เขียนโดยแต่มิได้เขียนภาพประกอบโดยแฟรงค์ ฟ็อกซ์
คำจารึกบรรยายการบูรณปฏิสังขรณ์

ฐานสูง 3 เมตรที่รองรับคอลัมม์อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1589 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 มีพระโองการให้โดเมนนิโค ฟอนทานาทำการบูรณปฏิสังขรณ์คอลัมม์ทั้งคอลัมม์และปรับระดับให้เป็นระดับเดียวกับระดับพื้นผิวดินในเวลานั้น และติดตั้งประติมากรรมสัมริดของอัครสาวกนักบุญพอลบนยอดเสา เพื่อให้สอดคล้องกับประติมากรรมของอัครสาวกนักบุญปีเตอร์บนยอดเสาตรายานุส (27 ตุลาคม ค.ศ. 1588[1]) (เดิมอาจจะเป็นที่ตั้งของประติมากรรมของมาร์กุส เอาเรลิอุส แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็สูญหายไปแล้ว) การปรับเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการเซาะภาพนูนเดิมส่วนที่เสียหายหรือถูกทำลายและแทนที่ด้วยคำจารึกที่คอลัมน์นี้ผิดว่าเป็นคอลัมน์อันโตนินัส ไพอัสที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าสูญหายไปแล้ว:

SIXTVS V PONT MAX (สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 พระผู้ทรงอำนาจสูงสุด,
COLVMNAM HANC ทำการบูรณปฏิสังขรณ์คอลัมน์เกลียวนี้,
COCLIDEM IMP
ANTONINO DICATAM อุทิศแด่จักรพรรดิอันโตนินัส,
MISERE LACERAM ที่อยู่ในสภาพอันเสื่อมโทรมปรักหักพัง,
RVINOSAMQ(UE) PRIMAE ให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิม
FORMAE RESTITVIT
A. MDLXXXIX PONT IV 1589, ปีที่ 4 แห่งการเป็นพระสันตะปาปา)

อ้างอิง

  • Beckmann, Martin (2002). "The 'Columnae Coc(h)lides' of Trajan and Marcus Aurelius". Phoenix. Classical Association of Canada. 56 (3/4): 348–357. doi:10.2307/1192605.
  • Caprino, C. (1955). La Colonna di Marco Aurelio. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Coarelli, F. (2008). La Colonna di Marco Aurelio - The Column of Marcus Aurelius.
  • Ferris, Iain (2009). Hate and War: The Column of Marcus Aurelius.
  • Rendina, Claudio (2000). Enciclopedia di Roma. Rome: Newton & Compton.
  • Scheid, J. (2000). Autour de la colonne Aurélienne. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!