เสรีรัฐปรัสเซีย

เสรีรัฐปรัสเซีย
Freistaat Preußen (เยอรมัน)
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์และนาซีเยอรมนี
ค.ศ. 1918–1947

เสรีรัฐปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) ในปี 1925
เมืองหลวงเบอร์ลิน
พื้นที่ 
• 1925[1]
292,695.36 ตารางกิโลเมตร (113,010.31 ตารางไมล์)
ประชากร 
• 1925[1]
38175986
การปกครอง
 • ประเภทสาธารณรัฐ
 • คติพจน์ก็อทท์มิทอุนส์
"พระเจ้าสถิตกับเรา"
ไรชส์ชตัทฮัลเทอร์ 
• 1933–1935
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
• 1935–1945
แฮร์มัน เกอริง
มุขมนตรี 
• 1918
ฟรีดริช เอเบิร์ท (คนแรก)
• 1933–1945
แฮร์มัน เกอริง (สุดท้าย)
ฝ่ายนิติบัญญัติลันท์ทาค (Landtag)
• สภาสูง
คณะมนตรีแห่งรัฐ
• สภาล่าง
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคทางประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
9 พฤศจิกายน 1918
• รัฐธรรมนูญปรัสเซีย
30 พฤศจิกายน 1920
• รัฐประหารในปรัสเซีย
20 กรกฎาคม 1932
30 มกราคม 1933
30 มกราคม 1935
• ยุบปรัสเซีย
25 กุมภาพันธ์ 1947
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร
สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์
สหภาพโซเวียต
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมนี
 โปแลนด์
 รัสเซีย

เสรีรัฐปรัสเซีย (อังกฤษ: Free State of Prussia, เยอรมัน: Freistaat Preußen) เป็นรัฐของประเทศเยอรมนีในอดีต จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1918 โดยอิงตามอาณาเขตเดิมของราชอาณาจักรปรัสเซีย ซึ่งถูกยุบไปหลังจากระบอบจักรพรรดิเยอรมันถูกโค่นล้มหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อไม่มีระบอบกษัตริย์ ทำให้ปรัสเซียซึ่งเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในจักรวรรดิเยอรมันถูกเปลี่ยนไปใช้ระบอบสาธารณรัฐ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีเมืองหลวงของรัฐอยู่ที่เบอร์ลิน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพรรคนาซีได้จัดตั้งเป็นรัฐบาลเยอรมนีในปี 1932 ระบอบประชาธิปไตยในปรัสเซียก็ถูกล้มเลิก ปรัสเซียถูกปกครองโดยตรงผ่านการรัฐประหารเงียบที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และบีบให้มุขมนตรีปรัสเซีย อ็อทโท เบราน์ ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้น ก็ไม่มีตำแหน่งมุขมนตรีอีกต่อไป รัฐบาลปรัสเซียก็ถูกปกครองโดยตำแหน่งข้าหลวง (Reichskommissar)

เมื่อพรรคนาซีได้ครองอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในปี 1933 ก็นำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางในกรุงเบอร์ลินที่เรียกว่า ไกลช์ชัลทุง (Gleichschaltung) ทำให้ปรัสเซียหมดสิ้นอำนาจจัดการตนเอง พรรคนาซีได้แต่งตั้งแฮร์มัน เกอริง เป็นมุขมนตรีปรัสเซียคนใหม่ บรรดารัฐในประเทศเยอรมนีทั้งหลาย ถูกแทนที่ทางพฤตินัยด้วยเขตการปกครองอย่างจังหวัดที่เรียกว่า "เกา" ผู้ปกครองของไรชส์เกาเรียกว่า "เกาไลเทอร์"

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและเยอรมนีตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร อดีตมุขมนตรีปรัสเซีย อ็อทโท เบราน์ ได้พยายามเข้าหาผู้มีอำนาจในฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อหวังฟื้นฟูรัฐบาลท้องถิ่นของปรัสเซียอีกครั้งแต่ก็ถูกปฏิเสธ ท้ายที่สุด กองกำลังฝ่ายพันธมิตรตัดสินใจยุบปรัสเซียเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947

อ้างอิง

  1. Beckmanns Welt-Lexikon und Welt-Atlas. Leipzig / Vienna: Verlagsanstalt Otto Beckmann. 1931.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!