เว็บเซิร์ฟเวอร์

โดยทั่วไปมักใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากในเว็บที่มีการเข้าชม (traffic) สูง ในภาพคือเซิร์ฟเวอร์ของเดลล์ที่ติดตั้งให้กับมูลนิธิวิกิมีเดีย

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (อังกฤษ: web server) คือซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับคำขอผ่านทาง HTTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลเครือข่ายที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่เนื้อหาของเว็บ หรือผ่านทาง HTTPS ซึ่งเป็นรูปแบบที่ปลอดภัยขึ้น ตัวผู้ใช้งาน (user agent) ซึ่งอาจคือเว็บเบราว์เซอร์ หรือ เว็บครอว์เลอร์ จะเริ่มต้นการสื่อสารโดยการส่งคำขอรีซอร์สเฉพาะชุดหนึ่งผ่านทาง HTTP และเว็บเซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับด้วยเนื้อหาของรีซอร์สนั้น หรือด้วยข้อความแอร์เรอร์ นอกจากนี้ เว็บเซิร์ฟเวอร์ยังสามารถรับและเก็บรีซอร์สที่ถูกส่งมาโดยตัวผู้ใช้งานหากมีการติดตั้งให้ทำเช่นนั้น[1] [2]

เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นได้ตั้งแต่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวหรือระบบเอ็มเบ็ด เช่น เราเทอร์, พรินเทอร์, เว็บแคม ที่มีการติดตั้งระบบให้ทำงานเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่เว็บไซต์ที่มีการเข้าชม (traffic) สูง โดยทั่วไปจะรันเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านชุดคอมพิวเตอร์จำนวนมาก (fleets of computers) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

อ้างอิง

  1. Nancy J. Yeager; Robert E. McGrath (1996). Web Server Technology (ภาษาอังกฤษ). ISBN 1-55860-376-X. สืบค้นเมื่อ 2021-01-22.
  2. William Nelson; Arvind Srinivasan; Murthy Chintalapati (2009). Sun Web Server: The Essential Guide (ภาษาอังกฤษ). ISBN 978-0-13-712892-1. สืบค้นเมื่อ 2021-10-14.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!