เวทคณิต

เวทคณิต
ผู้ประพันธ์ภารตี กฤษณะ ตีรถะ
ประเทศอินเดีย
หัวเรื่องคณิตคิดในใจ
สำนักพิมพ์โมตีลาล พาราณสีทาส
วันที่พิมพ์1965
ISBN978-8120801646
OCLC217058562

เวทคณิต หรือ เวทิกคณิต (เทวนาครี: वैदिक गणित, อังกฤษ: Vedic Mathematics) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยนักบวชชาวอินเดีย ภารตี กฤษณะ ตีรถะ เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1965 เนื้อหาประกอบด้วยรายชื่อเทคนิกทางคณิตศาสตร์ซึ่งผู้เขียนอ้างว่านำมาจากพระเวทและควรจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวอ้างของกฤษณะ ตีรถะ ถูกปฏิเสธในแง่ของความครบถ้วน[1] เขาไม่สามารถยืนยันแหล่งที่มาของข้อมูล และนักวิชาการเห็นพ้องกันว่างานเขียนนี้เป็นเพียงบทสรุปย่อของเคล็ดวิธีที่ใช้ในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาอย่างรวดเร็วโดยไม่มีความเกี่ยวพันใดกับคณิตศาสตร์ยุคพระเวท ถึงกระนั้น การตีพิมพ์เกี่ยวกับเนื้อหาเช่นนี้ยังคงเติบโต รวมมีความพยายามจะรวมเนื้อหานี้เข้าในการศึกษากระแสหลักโดยรัฐบาลชาตินิยมฮินดูฝ่ายขวา

เนื้อหา

เนื้อหาประกอบด้วยคำพังเพยอุปมาอุปไมย (metaphorical aphorisms) ในรูปของ สูตร จำนวน 16 สูตร, สูตรย่อย 13 สูตร ซึ่งกฤษณะ ตีรถะ อ้างว่าเป็นคำที่พูดเป็นนับถึงเครื่องมือสำคัญทางคณิตศาสตร์[2] การประยุกต์เนื้อหาไปใช้นั้นครอบคุลมตั้งแต่สถิติ, วิทยาก๊าซ ไปจนถึงโดเมนทางการเงินและดาราศาสตร์[2][3] ตีรถะระบุว่าในสาขาคณิตศาสตร์ขั้นสูงนั้นไม่มีสิ่งใดที่เกินเลยไปกว่าเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ และเสนอว่าการศึกษาหนังสือเล่มนี้เป็นเวลาสองชั่วโมงทุกวันเป็นเวลาหนึ่งปีมีค่าเท่ากับการศึกษาด้านคณิตศาสตร์อาชีพในระบบการศึกษาแบบมาตรฐานเป็นเวลาสองทศวรรษ[2]

นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอส. จี. ดานี (S. G. Dani) เขียนไว้ใน 'Vedic Mathematics': Myth and Reality (เวทคณิต: เรื่องลวงและเรื่องจริง)[2] ว่าหนังสือของกฤษณะ ตีรถะ เป็นการสรุปเคล็ดวิธีในการคำนวณที่สามารถนำไปใช้ได้ในพีชคณิตและเลขคณิตในระดับประถมถึงมัธยมศึกษาเพื่อให้ได้คำตอบที่เร็วขึ้น ส่วนเนื้อหา "สูตรและสูตรย่อย" เป็นการแสดงออกทางวรรณกรรมเชิงนามธรรม (abstract literary expressions) เช่น "น้อยกว่าเท่ากัน" (as much less) หรือ "น้อยกว่าก่อนหน้าอยู่หนึ่ง" (one less than previous one) ซึ่งง่ายมากที่จะถูกตีความได้ในทางที่สร้างสรรค์ กฤษณะ ตีรถะ ตีความเนื้อหานี้เข้าข้างตนถึงขั้นที่มีการจัดเรียง โศลก เดียวกันใหม่เพื่อให้เกิดความแตกต่างในทางคณิตศาสตร์อย่างมาก ในบริบทที่หลากหลาย[2]

ที่มาและความเกี่ยวข้องกับพระเวท

กฤษณะ ตีรถะ อ้างว่าเขาพบสูตรและเนื้อหาประกอบอื่น ๆ หลังการศึกษาพระเวทด้วยตัวคนเดียวในป่า เขาอ้างว่าเนื้อหาเหล่านี้ปรากฏใน ปริศิษฐ คัมภีร์ภาคผนวกของอาถรรพเวท[2] และไม่ได้ให้ข้อมูลอื่นเกี่ยวกับที่มาอีก[2] บรรณาธิการของเหนังสือ วี. เอส. อัคราวาล (V. S. Agrawala) ระบุว่าเนื่องจากพระเวทเป็นการรวบรวมความรู้ทั้งปวงจากยุคโบราณ ความรู้ใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่วามารถถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระเวทได้ทั้งนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏในรูปอยู่ในคัมถีร์ก็ตาม นอกจากนี้เขายังเชื่อว่างานเขียนของกฤษณะ ตีรถะ คือเนื้อหาของคัมภีร์ปริศิษฐเอง[4]

อย่างไรก็ตาม บรรดานักคณิตศาสตร์และนักวิชาการประจำ STS (ดานึ, คิม ปลอฟเกอร์, เค. เอส. ศุกลา; K.S. Shukla, ยัน ฮอเกนดีย์ก และคณะ) ชี้ให้เห็นว่าพระเวทไม่มีพระสูตรหรือพระสูตรย่อยที่ปรากฏในหนังสือนี้เลย[2][5][6][3] ศุกลา ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษร (historiographer) เฉพาะทางด้านคณิตศาสตร์อินเดียโบราณ ได้ท้าทายให้กฤษณะ ตีรถะ บอกตำแหน่งของพระสูตรที่ปรากฏในหนังสือ ว่ามาจากส่วนไหนของปริศิษฐ ในอาถรรพเวทฉบับมาตรฐน กฤษณะ ตีรถะ ตอบกลับว่าพระสูตรนี้ไม่ได้รับการบรรจุในฉบับมาตรฐาน แต่จะมีเฉพาะในฉบับที่จนปัจจุบันก๋ยังไม่มีใครค้นพบจนกระทั่งเขาได้มาค้นพบ เช่นเดียวกับส่วนคำนำเสนอของหนังาือ[2][4] นักวิชาการด้านภาษาสันสกฤตได้ยืนยันเช่นกันว่ารูปแบบทางภาษาศาสตร์ที่พบนั้นไม่สอดคล้องกับภาษาสันสกฤตในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับพระเวท แต่เป็นภาษาสันสกฤตแบบร่วมสมัยมากกว่า[2]

ดานีได้ชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาของหนังสือ "ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย" กับคณิตศาสตร์ในสมัยพระเวท หรือแม้แต่กับคณิตศาสตร์อินเดีย ที่พัฒนาขึ้นมาในภายหลัง[2] ศุกลายังเสนอผลจากการสำรวจเนื้อหาเป็นรายบท[4] เช่น เทคนิกจำนวนมากในเล่มมีการใช้หน่วยทศนิยมที่มีความเฉพาะสูง ระบบเหล่านี้ยังไม่ปรากฏว่าทราบในสมัยพระเวท และพึ่งมาปรากฏในอินเดียนับตั้งแต่ศตวรรษที่สิบหกเท่านั้น[3] ในขณะที่ผลงานของนักคณิตศาสตร์อินเดียโบราณหลายคน เช่น อารยภัต, พรหมคุปตะ และ ภาสกรที่หนึ่ง มีพื้นฐานทั้งหมดมาจากระบบเศษส่วน[2] นอกจากนี้พระสูตรบางส่วนยังมีเนื้อหาที่สอดคล้องตรง ๆ กับกฎเจเนรัลลีบนิซ และ ทฤษฎีบทเทย์เลอร์ (ที่ซึ่งกฤษณะ ตีรถะ อ้างว่าโลกตะวันตกยังไม่เคยศึกษาค้นคว้าเลยในเวลาที่หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้น) แต่สุดท้ายก็ถูกลดทอนเนื้อหาลงเหลือเป็นการคำนวณแจกแจงพหุนามพื้นฐาน (basic differentiation on polynomials จากมุมมองด้านประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษร (historiographic) อินเดียไม่ปรากฏความรู้ขั้นต่ำเกี่ยวกับแนวคิดของการแจกแจงและการคำนวณสมการหรือฟังก์ชั่น (differentiation และ integration)[2] พระสูตรในหนังสือยังอ้างอีกว่าเรขาคณิตวิเคราะห์ และ ภาคตัดกรวย ปรากฏอยู่เป็นส่วนที่สำคัญของคณิตศาสตร์พระเวท ข้อเท็จจริงนี้ตรงกันข้ามกับหลักฐานทั้งหมดที่มีในปัจจุบัน[2][3]

การตอบรับ

เอส. จี. ดานี อาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีออลอินเดียบอมเบย์ (IIT Bombay) พบว่าหนังสือมีคุณภาพที่น่าสงสัย เขาเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้เป็นภัยต่อทั้งวงการศึกษาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษาโดยการนำเสนอหัวเรื่องของคณิตศาสตร์ในรูปของบรรดาเคล็ดวิธีโดยปราศจากแก่นความคิด และยังเป็นภัยต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STS) ผ่านการใช้มาตรฐานที่ไม่น่าไว้ใจในทางประวัติศาสตร์วรรณกรรม[2][a]

ประวัติศาสตร์การตีพิมพ์

กฤษณะ ตีรถะ เคยนำเสนอเทคนิกเหล่านี้ก่อนหน้าผ่านการเลคเชอร์และการสอนของเขา[2] หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นในปี 1957[7]: 10  หนังสือตีพิมพ์ในปี 1965 หรือห้าปีหลังจากเขาเสียชีวิต ประกอบด้วยสี่สิบบท และ 367 หน้า คำนำเขียนโดยศิษย์ของตีรถะที่ชื่อว่า มนชุลา ตริเวที (Manjula Trivedi) ระบุว่าเขาเขียนเล่มนี้ขึ้นครั้งแรกประกอบด้วย 16 ตอน แต่ละตอนคือหนึ่งสูตร แต่งานเขียนต้นฉบับเหล่านี้สูญหายไปก่อนการตีพิมพ์เผยแภร่[5][2]

มีการพิมพ์ใหม่อีกครั้งในปี 1975 และ 1978 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดทางการพิมพ์[8] รวมถึงมีการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งนับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา[7]: 6 

หมายเหตุ

  1. ความพยายามของดานีที่จะเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับเรื่องลวงเรื่องเวทคณิตนั้น ได้รับการสรรเสริญอย่างมากจากบรรดานักคณิตศาสตร์ด้วยกัน Bhattacharya, Siddhartha; Das, Tarun; Ghosh, Anish; Shah, Riddhi (26 January 2015). Recent Trends in Ergodic Theory and Dynamical Systems. American Mathematical Society. p. 3. ISBN 9781470409319., เอ็ม. เอส. รฆุนาถัน ล้วนชื่นชมความพยายามของเขาในกรณีนี้

อ้างอิง

  1. Cooke, Roger L. (2013). "Overview of Mathematics in India". The history of mathematics : a brief course. Hoboken, N.J.: Wiley. p. 212. ISBN 978-1-118-46029-0. OCLC 865012817.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 S. G. Dani (December 2006). "Myths and reality : On ‘Vedic mathematics’".
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Hogendijk, Jan (March 2004). "De Veda's en de berekeningen van goeroe Tirthaji" (PDF). Nieuwe Wiskrant. 23 (3): 49–52.
  4. 4.0 4.1 4.2 Shukla, K.S. (2019). "Vedic Mathematics: The deceptive title of Swamiji's book". ใน Kolachana, Aditya; Mahesh, K.; Ramasubramanian, K. (บ.ก.). Studies in Indian Mathematics and Astronomy: Selected Articles of Kripa Shankar Shukla. Sources and Studies in the History of Mathematics and Physical Sciences. Singapore: Springer Publishing. doi:10.1007/978-981-13-7326-8. ISBN 9789811373251.
  5. 5.0 5.1 Bal, Hartosh Singh (12 August 2010). "The Fraud of Vedic Maths". The Open. สืบค้นเมื่อ 25 November 2019.
  6. Plofker, Kim (18 January 2009). "Mathematical Thought In Vedic India". Mathematics in India. Princeton University Press. p. 16. ISBN 9780691120676.
  7. 7.0 7.1 W.B. Vasantha Kandasamy; Florentin Smarandache (December 2006). Vedic Mathematics: Vedic Or Mathematics: A Fuzzy and Neutrosophic Analysis (PDF). American Research Press. ISBN 978-1-59973-004-2. สืบค้นเมื่อ 23 May 2013.
  8. Biographical sketch by Manjula Trivedi, 1965 in book Vedic Mathematics, pages x, xi.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!