เลอเปอตีปารีเซียง

เลอเปอตีปารีเซียง
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
รูปแบบหนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่
ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1876
ฉบับสุดท้ายค.ศ. 1944
สำนักงานใหญ่ปารีส
ยอดจำหน่ายมากกว่า 2,000,000 ฉบับ (คริสต์ทศวรรษ 1920)
หน้า 1 ฉบับวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1939 พาดหัวข่าวการประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศส 3 วันหลังเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2

เลอเปอตีปารีเซียง (ฝรั่งเศส: Le Petit Parisien) เป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ตีพิมพ์ระหว่าง ค.ศ. 1876 ถึง ค.ศ. 1944 และมียอดจำหน่ายมากกว่า 2 ล้านฉบับหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

การตีพิมพ์

หนังสือพิมพ์ เลอเปอตีปารีเซียง ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วฝรั่งเศส และมีบันทึกระบุว่ามียอดจำหน่ายมากที่สุดในโลกในเวลานั้น[1] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1927 เลอเปอตีปารีเซียง ตกเป็นเหยื่อการแกล้งสื่อที่ฌ็อง-ปอล ซาทร์ และเพื่อน ๆ ของเขาจัดฉากขึ้น โดยพวกเขาประกาศว่าชาลส์ ลินด์เบิร์ก จะได้รับรางวัลนักศึกษาเกียรตินิยมจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เลอเปอตีปารีเซียง ซึ่งมีโกลด ฌ็องแต เป็นบรรณาธิการใหญ่ ได้กลายเป็นกระบอกเสียงอย่างเป็นทางการของระบอบวีชี และใน ค.ศ. 1944 ก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในเยอรมนีนาซีก่อนปิดตัวลง[3]

ภูมิหลัง

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาการเมือง เช่น ลาแพร็ส ของปารีส เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองเพื่อที่จะทำกำไร อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้นำไปสู่การวางแผนสร้างความสนใจเพื่อเพิ่มยอดขาย การก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เลอมาแต็ง ของโจเซฟ พูลิตเซอร์ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่วงการหนังสือพิมพ์รูปแบบใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของ เลอเปอตีฌูร์นาล และ เลอเปอตีปารีเซียง ซึ่งผลักดันวงการหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสไปสู่สื่อมวลชน หนังสือพิมพ์เหล่านี้นำเสนอข่าวที่น่าตื่นเต้นมากกว่าที่จะอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง หมายความว่าพวกเขายังสามารถเลี่ยงภาษีที่จัดเก็บจากหนังสือพิมพ์การเมืองส่วนใหญ่ ตามรูปแบบใหม่นี้ การรายงานในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเงิน แฟชั่น กำหนดเป้าหมายผู้อ่านไว้ที่ชนชั้นกลางถึงชนชั้นล่าง การดึงดูดประชากรกลุ่มนี้ส่งผลให้ เลอเปอตีปารีเซียง เข้าถึงผู้คนนับล้าน[4]

อ้างอิง

  1. (ในภาษาฝรั่งเศส) Fonds du Petit Parisien, Archives nationales (French national archives) เก็บถาวร 29 กันยายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Hayman, Ronald (1987) Sartre: a life pp.69, 318
  3. Philip Rees, Biographical Dictionary of the Extreme Right Since 1890, 1990, p. 198
  4. Eaman, Ross. Historical Dictionary of Journalism. Scarecrow Press, 2009.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!