บทที่ 1 ของหนังสือเพลงซาโลมอนในคัมภีร์ไบเบิล
เพลงซาโลมอน 1 ภาพประกอบของวรรคเปิดของหนังสือเพลงซาโลมอน, the Rothschild Mahzor, สำเนาต้นฉบับบนแผ่นหนัง. ฟลอเรนซ์, อิตาลี, ค.ศ. 1492.
หนังสือ หนังสือเพลงซาโลมอน ภาคในคัมภีร์ฮีบรู เคทูวีม ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ พันธสัญญาเดิม ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ 22
เพลงซาโลมอน 1 (อังกฤษ : Song of Songs 1 ) เป็นบท แรกของหนังสือเพลงซาโลมอน ในคัมภีร์ฮีบรู หรือพันธสัญญาเดิม ในคัมภีร์ไบเบิล ของศาสนาคริสต์ [ 2] หนังสือเพลงซาโลมอนเป็นหนึ่งในห้าเมกิลล็อต ซึ่งเป็นกลุ่มหนังสือขนาดสั้นร่วมกับหนังสือนางรูธ หนังสือเพลงคร่ำครวญ หนังสือปัญญาจารย์ และหนังสือเอสเธอร์ ภายในเคทูวีม ซึ่งเป็นส่วนที่ 3 และส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ฮีบรู มุมมองชาวยิวดั้งเดิม ถือว่าซาโลมอน เป็นผู้ทรงพระนิพนธ์หนังสือเพลงซาโลมอน (แม้ว่าปัจจุบันจะมีการโต้แย้งอย่างมากก็ตาม) และมุมมองที่ถือว่าเป็นผลงานของซาโลมอนนี้เองทำให้หนังสือเพลงซาโลมอนได้รับการยอมรับให้เป็นหนังสือในสารบบของพระคัมภีร์ เพลงซาโลมอน 1 ประกอบด้วยคำนำของหนังสือ บทเพลงของตัวละครหลักหญิง และบทเพลงเปิดของตัวละครหลักชาย
ต้นฉบับ
ม้วนภาษาฮีบรูเขียนด้วยมือของหนังสือเพลงซาโลมอนโดยอาลักษณ์ Elihu Shannon แห่ง Kibbutz Saad, ประเทศอิสราเอล (ราว ค.ศ. 2005)
บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 17 วรรค (16 วรรคในฉบับวัลเกต ที่แปลเป็นภาษาละติน)
พยานต้นฉบับ
บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรู มีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008) ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 6Q6 (6QCant) ; ค.ศ. 50; วรรคที่หลงเหลือ 1–7).[ 6] [ 7] [ 8]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนี ที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
B ; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S ; BHK :
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
S ; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
A ; ศตวรรษที่ 5)
โครงสร้าง
คัมภีร์ไบเบิลฉบับ Modern English Version (MEV) แบ่งบทนี้ดังต่อไปนี้:
คัมภีร์ไบเบิลฉบับ New Catholic Bible และ Jerusalem Bible ถือว่าวรรค 2-4 เป็น "บทนำ"[ 10] Richard Hess ถือว่าวรรค 1:1-2:7 เป็น "บทนำ"
คำนำ (วรรค 1)
เจ้าสาว: โหยหาคนรัก (วรรค 2–7)
เจ้าบ่าว: ตอบสนองด้วยคำเชิญชวนและคำชมเชย (วรรค 8–11)
เจ้าสาว: คนรักดั่งเครื่องหอม (วรรค 12–14)
เจ้าบ่าว: ชื่นชมความงดงาม (วรรค 15)
เจ้าสาว: รักในสรวงสวรรค์ (1:16-2:1)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
↑ Ulrich, Eugene , บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants . Brill. p. 739. ISBN 9789004181830 . สืบค้นเมื่อ May 15, 2017 .
↑ Dead sea scrolls - Song of Songs .
↑ Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature . Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 107. ISBN 9780802862419 . สืบค้นเมื่อ February 15, 2019 .
↑ *เพลงซาโลมอน 1:1 -4 : New Catholic Bible; Jerusalem Bible (1966), The Song of Songs, Title and Prologue, verses 1:1-4
บรรณานุกรม
Bergant, Dianne (2001). Cotter, David W.; Walsh, Jerome T.; Franke, Chris (บ.ก.). The Songs of Songs . Berit Olam (The Everlasting Covenant): Studies In Hebrew Narrative And Poetry. Liturgical Press. ISBN 9780814650691 .
Brenner, Athalya (2007). "21. The Song of Solomon". ใน Barton, John ; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 429–433. ISBN 978-0199277186 . สืบค้นเมื่อ February 6, 2019 .
Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810 .
Exum, J. Cheryl (2005). Songs of Songs: A Commentary . Old Testament library (reprint ed.). Westminster John Knox Press. ISBN 9780664221904 .
Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4 .
Hess, Richard S. (2005). Songs of Songs . Baker Commentary on the Old Testament Series. Baker Academic. ISBN 9780801027123 .
Longman, Tremper (2001). Songs of Songs . The New International Commentary on the Old Testament. Vol. 26. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 9780802825438 .
Tristram, Henry Baker (1868). The Natural History of the Bible: Being a Review of the Physical Geography, Geology, and Meteorology of the Holy Land, with a Description of Every Animal and Plant Mentioned in Holy Scripture (2nd ed.). Society for Promoting Christian Knowledge.
Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament . แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7 . สืบค้นเมื่อ January 26, 2019 .
แหล่งข้อมูลอื่น